ศาลจำลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาลจำลอง (Moot Court) เป็นกิจกรรมนอกหลักสูตรของโรงเรียนกฎหมายซึ่งเป็นการจำลองการพิจารณาพิพากษาคดีในศาล

ในการดำเนินกิจกรรมศาลจำลองนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้รับคดีไว้ล่วงหน้าก่อนการพิจารณาพิพากษาคดี พวกเขาต้องทำการวิเคราะห์ วิจัย และเตรียมคดี โดยกระทำทุกกระบวนการเสมือนว่าเป็นทนายความของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (โจทก์หรือจำเลย ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้อง) หรือทั้งสองฝ่าย เพื่อฝึกทักษะการใช้เหตุผลและการว่าความ จากนั้นผู้แข่งขันจะต้องเขียนคำให้การ และเตรียมแถลงการณ์ด้วยวาจา

คดีที่เป็นปมปัญหานั้นมักเป็นคดีที่มีความโดดเด่นทั้งในด้านของกฎหมายที่นำมาปรับใช้ ตลอดจนวิธีพิจารณาความ ผู้เข้าแข่งขันมักได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาของตนหรือองค์กรต่างๆที่สนใจในด้านกฎหมาย

คดีที่ได้รับนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นคดีที่มีความเกี่ยวข้องคล้ายคลึงกันกับคดีความที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นจริงในช่วงเวลานั้นๆ และบางครั้งก็มีการตั้งปมปัญหาขึ้นมาใหม่ให้ยุ่งยากซับซ้อนขึ้นเพื่อท้าทายประเด็นทางกฎหมาย

ด้วยประสบการณ์ที่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันศาลจำลองได้ฝึกฝน สำนักงานกฎหมายที่เกี่ยวข้องในด้านการฟ้องร้องคดี มักจะรับนักเรียนกฎหมายที่เคยเข้าร่วมการแข่งขันนี้เข้าทำงาน

สำหรับประเทศไทย คณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง ได้มีการจัดทำกิจกรรมศาลจำลองนี้ ซึ่งมีทั้งศาลจำลองภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และส่งตัวแทนนิสิตเข้าแข่งขันในระดับระหว่างประเทศมาหลายครั้ง อาทิ ในปี 2005-2006 คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมการแข่งขัน Willem C. Vis International Commercial Arbitration Moot Competition ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย และ ณ เขตการปกครองพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน และเข้าร่วมการแข่งขัน Phillip C. Jessup International Law Competition ณ กรุงวอชิงตัน ดี. ซี. สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

Scale of justice.svg ศาลจำลอง เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ศาลจำลอง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ