พรรคการเมืองใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พรรคการเมืองใหม่
New politcs party thailand.jpg
บุคลากร
หัวหน้าพรรค กำลังสรรหา
เลขาธิการพรรค นายสุริยะใส กตะศิลา
โฆษกพรรค นายสำราญ รอดเพชร
ประธานที่ปรึกษาพรรค
ผู้อำนวยการพรรค
ทั่วไป
ก่อตั้ง 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สำนักงานใหญ่ 457 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
อื่น ๆ
นโยบายพรรค
คำขวัญพรรค
สีของพรรค สีเหลืองและสีเขียว
เว็บไซต์ www.newpoliticsparty.net

พรรคการเมืองใหม่ (อักษรย่อ: ก.ม.ม. ;อังกฤษ: New Politics Party - NPP) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยมี นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรค นายสุริยะใส กตะศิลา เป็นเลขาธิการพรรค และ พล.ร.ท. ประทีป ชื่นอารมณ์ เป็นโฆษกพรรค

ปัจจุบัน หัวหน้าพรรคอยู่ระหว่างการสรรหา หลังจากที่ นาย สนธิ ลิ้มทองกุล ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และสมาชิกพรรค นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นรองหัวหน้าพรรค นายสุริยะใส กตะศิลา เป็นเลขาธิการพรรค นายศรัณยู วงศ์กระจ่าง เป็นรองเลขาธิการพรรค นายสำราญ รอดเพชร เป็นโฆษกพรรค

สีประจำพรรค คือ สีเหลือง หมายถึงการเชิดชูประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และสีเขียวหมายถึงการเมืองสะอาดปลอดมลพิษ

เนื้อหา

[แก้] ที่มาของการก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่

พรรคการเมืองใหม่ ได้เริ่มต้นเกิดขึ้นจากการประชุมร่วมกันของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปี ของการเริ่มชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (25 พฤษภาคม 2551) และในการชุมนุมครั้งนั้นได้มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนแนวร่วมได้แสดงความเห็นถึงการจัดตั้งพรรคการเมืองของกลุ่มพันธมิตร ซึ่งประชาชนที่เข้าร่วมประชุมมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ ให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น

จากนั้นในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ทางพรรคได้จัดประชุมกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรครวมทั้งหมด 9,000 คน ที่เมืองทองธานี และได้มีการลงคะแนนเสียงเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบัน[1]

[แก้] คณะกรรมการบริหารพรรค

[แก้] ชุดแรก

  1. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค (สิ้นสุดเมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552)
  2. นางภินันทน์ โชติรสเศรณ์ รองหัวหน้าพรรค
  3. นาย สมศักดิ์ อิสมันยี รองหัวหน้าพรรค
  4. นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรค
  5. นายพิชิต ไชยมงคล รองเลขาธิการพรรค
  6. นางภาณุมาศ พรหมสูตร นายทะเบียนสมาชิกพรรค
  7. พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ โฆษกพรรค
  8. นางลักขณา ดิษยะศริน กรรมการและเหรัญญิกพรรค
  9. นายสุทธิ อัชฌาศัย กรรมการบริหารพรรค
  10. นางชญาบุญ เพชรพรหม กรรมการบริหารพรรค
  11. น.ส.นิตายา กุระคาน กรรมการบริหารพรรค
  12. น.ส.อาภารัตน์ ชาติชุติกำจร กรรมการบริหารพรรค
  13. น.ส.ฉัตรกุล คำมีอ่อน กรรมการบริหารพรรค
  14. น.ส.จีรนันท์ อินทร์สุริวงศ์ กรรมการบริหารพรรค
  15. นายบรรจง นะแส กรรมการบริหารพรรค
  16. นางชญาดา ศริญญามาศ กรรมการบริหารพรรค
  17. นายวิลิต เตชะไพบูลย์ กรรมการบริหารพรรค
  18. นายสมศักดิ์ อิสมันยี กรรมการบริหารพรรค
  19. นางเสาวนีย์ รุ่งช่วง กรรมการบริหารพรรค
  20. น.ส.พรชุลี คงขวัญ กรรมการบริหารพรรค
  21. นางเพลินพิศ ทองวล กรรมการบริหารพรรค
  22. นางเสน่ห์ หงส์ทอง กรรมการบริหารพรรค
  23. นางกาญจนา กาญจนเสวี กรรมการบริหารพรรค

[2]

[แก้] ชุดที่สอง

จากการเลือกของหัวหน้าพรรคจำนวนกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด
  1. นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นหัวหน้าพรรค (ลาออกเมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553)
  2. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นรองหัวหน้าพรรค
  3. นายสุริยะใส กตะศิลา เป็นเลขาธิการพรรค
  4. พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ เป็นเหรัญญิกพรรค
  5. นายบรรจง นะแส เป็นกรรมการบริหารพรรค
  6. นายประพันธ์ คูณมี เป็นกรรมการบริหารพรรค
  7. นายสุทธิ อัฌชาศัย เป็นกรรมการบริหารพรรค
  8. นายชาลี ลอยสูง เป็นกรรมการบริหารพรรค
  9. นายชุมพล สังข์ทอง เป็นนายทะเบียนพรรค
  10. นางสาวอาภารัตน์ ชาติชุติกำจร เป็นกรรมการบริหารพรรค
  11. นายสำราญ รอดเพชร เป็นโฆษกพรรค
  12. นายศรัณยู วงศ์กระจ่าง เป็นรองเลขาธิการพรรค
  13. นางกิมอัง พงษ์นารายณ์ เป็นกรรมการบริหารพรรค
จากการเลือกตั้งจากสมาชิก 2,300 คนโดยเรียงจากคะแนนผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากมากที่สุด
  1. นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก แนวร่วมพันธมิตรฯ
  2. พล.ต.ท.สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
  3. นายเทิดภูมิ ใจดี อดีตผู้นำแรงงาน
  4. พลเอกกิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ อดีตผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตนายทหารราชองครักษ์เวร
  5. นางลักขณา ดิษยะศริน ตะเวทิกุล ผู้จัดการโรงเรียนนานาชาติดิอเมริกันสกูลออฟแบงค็อก
  6. นางเสน่ห์ หงษ์ทอง ผู้ประสานงานสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)
  7. นายอมรเทพ อมรรัตนานนท์ อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนนักศึกษาปี 2519
  8. นายพิชิต ไชยมงคล รักษาการรองเลขาธิการพรรค
  9. นายธัญญา ชุนชฎาธาร นักวิชาการ นักเขียน
  10. นางทัศนีย์ บุญประสิทธิ์ แกนนำพันธมิตรฯ อุบลราชธานี
  11. นายสราวุธ นิยมทรัพย์ แกนนำพันธมิตรนครปฐม
  12. นายรังษี ศุภชัยสาคร แกนนำเครือข่ายพันธมิตรอุดรธานี

[3]

[แก้] สัญลักษณ์ของพรรค

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

Scale of justice.svg พรรคการเมืองใหม่ เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ พรรคการเมืองใหม่ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น