จังหวัดสมุทรปราการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดสมุทรปราการ
ตราประจำจังหวัดสมุทรปราการ ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดสมุทรปราการ
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม งามล้ำโพทะเล Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย สมุทรปราการ
ชื่ออักษรโรมัน Samut Prakan
ชื่อไทยอื่นๆ ปากน้ำ
ผู้ว่าราชการ นายสุรชัย ขันอาสา
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2 TH-11
สีประจำกลุ่มจังหวัด เหลือง ███
ต้นไม้ประจำจังหวัด โพทะเล
ดอกไม้ประจำจังหวัด ดาวเรือง
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 1,004.092 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 70)
ประชากร 1,164,105 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 15)
ความหนาแน่น 1,159.36 ตร.กม.
(อันดับที่ 3)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ ถนนสุทธิภิรมย์ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270
โทรศัพท์ (+66) 0 2702 5021-4
โทรสาร (+66) 0 2702 5021
เว็บไซต์ จังหวัดสมุทรปราการ
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดสมุทรปราการ

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดสมุทรปราการ หรือที่เรียกกันว่าเมืองปากน้ำ ซึ่งเคยเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่สำคัญในอดีต จังหวัดสมุทรปราการตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยสองฟากฝั่งตอนปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากอ่าวไทย ระหว่างเส้นละติจูดที่ 13-14 องศาเหนือ และเส้นลองจิจูดที่ 100-101 องศาตะวันออก ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 29 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1,004 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 627,557 ไร่ มี

เนื้อหา

[แก้] อาณาเขต

อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

[แก้] หน่วยการปกครอง

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค

จังหวัดสมุทรปราการแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 6 อำเภอ ประกอบไปด้วย

  1. อำเภอเมืองสมุทรปราการ
  2. อำเภอบางบ่อ
  3. อำเภอบางพลี
  4. อำเภอพระประแดง
  5. อำเภอพระสมุทรเจดีย์
  6. อำเภอบางเสาธง*
Amphoe Samut Prakan.png

ใน 6 อำเภอ แบ่งออกเป็น 50 ตำบล 405 หมู่บ้าน

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

จังหวัดสมุทรปราการมีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยมี 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 17 เทศบาล และ 31 องค์การบริหารส่วนตำบล จำแนกได้ดังนี้:

* บางเสาธงเป็นอำเภอใหม่ที่ได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบางเสาธงด้วยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราพระสมุทรเจดีย์ : ตราประจำจังหวัด
  • ต้นโพทะเล (Thespesia populnea) ต้นไม้ประจำจังหวัด
  • ดอกดาวเรือง (Tagetes erecta L.) ดอกไม้ประจำจังหวัด
  • คำขวัญประจำจังหวัด: ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม งามล้ำโพทะเล
  • ตัวอักษรย่อ จังหวัดสมุทรปราการใช้อักษรย่อ สป

[แก้] การท่องเที่ยว

สมุทรปราการมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอยู่หลายแห่ง ได้แก่ ฟาร์มจระเข้และเมืองโบราณ ซึ่งรู้จักกันจากนั่งท่องเที่ยวจากที่ต่างๆ นอกจากนี้ในช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือนพฤศจิกายน จะมีการจัดงานพระสมุทรเจดีย์หรือที่เรียกกันว่า "งานเจดีย์" เป็นเวลา 9 วัน ซึ่งเป็นงานประจำจังหวัดสมุทรปราการ จัดขึ้นบริเวณใจกลางเมืองของตัวอำเภอเมืองฯ โดยจะมีการปิดถนนเริ่มต้นบริเวณศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ มีการจัดตั้งร้านขายของ ร้านอาหาร การละเล่น ชิงช้าสวรรค์ ม้าหมุน และงานโชว์ต่างๆ รวมถึงของหลายหลายมาวางขาย

นอกจากที่กล่าวมา ยังมีสถานท่องเที่ยวที่น่าสนใจต่อไปนี้

[แก้] คมนาคม

ในจังหวัดสมุทรปราการ การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถส่วนบุคคลและรถประจำทาง โดยจุดรถประจำทางที่สำคัญได้แก่ บริเวณ บางนา สำโรง ปากน้ำ บางพลี และพระประแดง สำหรับการโดยสารทางเรือ ผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยา มีเรือโดยสารเลียบแม่น้ำ ขึ้นได้ที่ท่าน้ำปากน้ำ และมีการโดยสารข้ามแม่น้ำหลายจุด รวมทั้งบริเวณท่าน้ำพระประแดงมีท่าแพสำหรับบรรทุกรถข้ามแม่น้ำ การเดินทางทางอากาศผ่านทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

[แก้] การศึกษาและศูนย์วิจัย

การศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการมีการรับรองตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทั้งการศึกษาสำหรับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. และ ปวส.) ได้แก่ โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ, วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ และ วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ นอกจากนี้มีการศึกษาทางทหารที่โรงเรียนนายเรือ และศึกษาการเดินเรือพาณิชย์ที่ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี สำหรับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในจังหวัดสมุทรปราการ มีมหาวิทยาลัยรัฐบาล ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ และมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งได้แก่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ

[แก้] ชาวสมุทรปราการที่มีชื่อเสียง

[แก้] เทศกาลและงานประเพณี

  • งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ จะจัดขึ้นในวันแรม 5 คำเดือน 11 ของทุกปีเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน
  • งานเทศกาลสงกรานต์ปากลัด จัดที่พระประแดงในวันอาทิตย์แรกหลังจากงานงานสงกรานต์ วันที่ 13 เมษายนผ่านไปแล้ว
  • ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.
  3. ^ พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502. <ออนไลน์ >. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°37′N 100°37′E / 13.61°N 100.61°E / 13.61; 100.61