รูเบิลรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รูเบิลรัสเซีย
российский рубль (รัสเซีย)[1]
ธนบัตร 5000 รูเบิล เหรียญ 1 รูเบิล
ธนบัตร 5000 รูเบิล เหรียญ 1 รูเบิล
รหัส ISO 4217 RUB
ใช้ใน ธงของสหพันธรัฐรัสเซีย รัสเซีย
อัตราเงินเฟ้อ 11.9% (2007)
ข้อมูลจาก Rosstat, 2007
หน่วยย่อย
1/100 โคเปค (копейка[2])
สัญลักษณ์ руб. / Р. / р.
โคเปค (копейка[2]) к. / коп.
พหูพจน์ ภาษาของสกุลเงินนี้เป็นภาษากลุ่มสลาวิก มีการเขียนรูปพหูพจน์ได้หลายวิธี ดูที่บทความ
เหรียญ
เหรียญที่ใช้บ่อย 1, 5, 10, 50 โคเปค, 1, 2, 5 รูเบิล
เหรียญที่ไม่ใช้บ่อย 10 รูเบิล
ธนบัตร
ธนบัตรที่ใช้บ่อย 10, 50, 100, 500, 1000, 5000 รูเบิล
ธนบัตรที่ไม่ใช้บ่อย 5 รูเบิล
ธนาคารกลาง ธนาคารกลางแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
เว็บไซต์ www.cbr.ru
โรงพิมพ์ธนบัตร Goznak
เว็บไซต์ www.goznak.ru
โรงกษาปณ์ โรงกษาปณ์มอสโกและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

รูเบิล เป็นสกุลเงินตราของสหพันธรัฐรัสเซีย อับฮาเซีย และออสเซเตียใต้ รูเบิลเคยเป็นสกุลเงินตราของจักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียตตามลำดับ หน่วยย่อยของรูเบิลคือโคเปค โดยที่หนึ่งรูเบิลมีมูลค่าเท่ากับหนึ่งร้อยโคเปค รหัส ISO 4217 ของสกุลเงินนี้คือ RUB โดยก่อนที่จะมีการปรับค่าเงินในปีค.ศ. 1998 รูเบิลเคยใช้รหัส RUR มาก่อน (หนึ่งรูเบิลใหม่เท่ากับหนึ่งพันรูเบิลเดิม)

รูเบิลไม่มีสัญลักษณ์เหมือนเงินหลาย ๆ สกุล โดยจะนิยมเขียนแสดงตามป้ายราคาด้วยตัวย่อในภาษารัสเซียว่า руб (rub หรือ รุบ) แต่ก็มีการใช้สัญลักษณ์หรือตัวย่อแบบอื่น ๆ อยู่บ้าง เช่น РР (ย่อมาจาก 'รูเบิลรัสเซีย' ที่เขียนด้วยอักษรซีริลลิก) ₱ เป็นต้น

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

[แก้] รูเบิลที่หนึ่ง

รูเบิลเป็นสกุลเงินตราของรัสเซียมากราว ๆ 500 ปีแล้ว ในปีค.ศ. 1704 ปีเตอร์ที่ 1 ได้กำหนดให้เงิน 28 กรัมมีมูลค่าเท่ากับหนึ่งรูเบิล และแม้ว่าเหรียญรูเบิลจะทำจากเงิน แต่ก็มีเหรียญมูลค่าสูงที่ทำจากทองคำและแพลทินัมเช่นกัน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 หนึ่งรูเบิลมีมูลค่าเท่ากับเงิน 4 ซาลัตนิค 21 ดอลยา (ราว ๆ 18 กรัม) หรือทองคำ 27 ดอลยา โดยโลหะทั่งสองประเภทมีมูลค่าในอัตราส่วน 15:1 ในปีค.ศ. 1828 ได้มีการผลิตเหรียญแพลทินัมโดนหนึ่งรูเบิลมีค่าเท่ากับแพลทินัม 77⅔ ดอลยา (3.451 กรัม)

[แก้] รูเบิลที่สอง

ในปีค.ศ. 1922 ได้มีการประกาศใช้ค่าเงินใหม่เป็นครั้งแรก โดยกำหนดให้ 1 รูเบิลใหม่มีมูลค่าเท่ากับ 10,000 รูเบิลเก่า

[แก้] รูเบิลที่สาม

[แก้] รูเบิลที่สี่

[แก้] รูเบิลที่ห้า

[แก้] รูเบิลที่หก

[แก้] รูเบิลที่เจ็ด

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ตาตาร์: сум; บัชคีร์: һум; ชูวัช: тенкĕ; ออสเซติก: сом; อุดมูร์ต: манет; มารี: теҥге; ซาคา: солкуобай
  2. ^ ตาตาร์: тиен; บัชคีร์: тин; ชูวัช: пус; ออสเซติก: капекк; อุดมูร์ต: коны; มารี: ыр; ซาคา: харчы
Money Coin Icon.svg รูเบิลรัสเซีย เป็นบทความเกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ การเงิน ธุรกิจ หรือ การค้า ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ รูเบิลรัสเซีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ