ถนัด คอมันตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์
ถนัด คอมันตร์

ดำรงตำแหน่ง
30 เมษายน พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 (ปรับคณะรัฐมนตรี)
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 (นายกรัฐมนตรีลาออก)
สมัยก่อนหน้า พลอากาศเอก ทวี จุลทรัพย์
พลเอก เสริม ณ นคร
นายสมภพ โหตระกิตย์
พลเอก เล็ก แนวมาลี
สมัยถัดไป พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร
นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์
นายพิชัย รัตตกุล
พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย
พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา

ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2525
สมัยก่อนหน้า หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
สมัยถัดไป พิชัย รัตตกุล

เกิด 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457(อายุ 95 ปี)
ที่ กรุงเทพมหานคร
สังกัดพรรค พรรคประชาธิปัตย์
สมรสกับ คุณหญิงโมลี คอมันตร์
ศาสนา พุทธ
พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ขณะกำลังให้สัมภาษณ์วิทยุบีบีซีภาคภาษาไทย

พันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 — ) อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เดิมชื่อว่า "ถนัดกิจ คอมันตร์" อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในรัฐบาลของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนถึง จอมถนอม กิตติขจร (10 ก.พ. 2502 - 17 พ.ย. 2514)

เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ได้รับการยกย่องในฐานะผู้วางรากฐานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการ ก่อตั้ง "สมาคมอาเซียน" หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2510 และต่อมา พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ยังได้รับเลือกให้เป็น สมาชิกฝ่ายไทย ใน ศาลประจำอนุญาโตตุลาการกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีวาระ 6 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2545

พ.อ. (พิเศษ) ดร. ถนัด เป็นบุตรของพระยาพิพากษาสัตยาธิปตัย (โป๋ คอมันตร์) เนติบัณฑิตไทยรุ่นแรก สมรสกับคุณหญิงโมลี คอมันตร์ ธิดาคนรองของนายเป๋า วีรางกูร หลานตาของพระยาอนุกูลสยามกิจ (ชุน อนุกูลสยามกิจ) [1]

พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ จบปริญญาตรีด้านกฎหมายจาก มหาวิทยาลัยแห่งเมืองบอร์โดซ์ ปริญญาโทและปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีหลานชายคนหนึ่งเป็นนักธุรกิจที่เคลื่อนไหวทางการเมือง คือ นายอัมรินทร์ คอมันตร์

ในทางการเมือง เคยเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2525 หลังการลาออกจากตำแหน่ง หัวหน้าพรรค ของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคคนที่ 2 ที่ประกาศ วางมือทางการเมือง ซึ่งนับเป็นช่วงวิกฤตที่สุดของ พรรคประชาธิปัตย์ ที่กระแสความนิยมตกต่ำอย่างรุนแรง และสมาชิกในพรรคเกิดความแตกแยกกัน โดยผลการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2522 ในกรุงเทพฯ ได้ ส.ส. เพียงคนเดียว คือตัว พ.อ. (พิเศษ) ดร.ถนัด เองที่เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 2 ( เขตพญาไท และ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ) โดย พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ต้องรับภาระในตำแหน่ง หัวหน้าพรรค เพื่อประคองพรรคให้อยู่รอดต่อไปได้

ในทางวิชาการ เคยดำรงตำแหน่ง อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2511 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2512 และเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง

[แก้] ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม

กล่าวกันว่าโดยส่วนตัว พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ไม่ลงรอยกับ นายพิชัย รัตตกุล ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนถัดมา ซึ่งในขณะนั้นเป็นกรรมการบริหารพรรค เนื่องจากมีความเห็นขัดแย้งกัน ในการทำงานระหว่างดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ที่ดูแลงานทางด้านต่างประเทศด้วยกัน โดยถ้ามีผู้ใดถามถึง นายพิชัย กล่าวกันว่า พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ จะตอบเสมอๆ ว่า "ไม่รู้จักคน ๆ นี้"

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ เอมิล โรเชร์, ชูศรี สาธร แปล. ประชุมพงศาวดารภาคที่ 77 ประวัติศาสตร์ยูนนานและทางไมตรีกับจีน. กรุงเทพฯ : อนุสรณ์ในงานฌาปณกิจศพ นายเป๋า วีรางกูร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 21 ธันวาคม 2504, 2504.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

สมัยก่อนหน้า ถนัด คอมันตร์ สมัยถัดไป
พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์
พลเอก เสริม ณ นคร
สมภพ โหตระกิตย์
พลเอก เล็ก แนวมาลี
2leftarrow.png Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 42)
(3 มีนาคม พ.ศ. 2523 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524
11 มีนาคม พ.ศ. 2524 - 19 มีนาคม พ.ศ. 2526)
2rightarrow.png พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
พิชัย รัตตกุล
พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย
พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร
กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
2leftarrow.png กระทรวงการต่างประเทศ.gif
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514)
2rightarrow.png จรูญพันธุ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 2leftarrow.png Democrat Party logo.png
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2525)
2rightarrow.png พิชัย รัตตกุล
ภาษาอื่น