ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547
นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
สมัยก่อนหน้า -
สมัยถัดไป นายสุวิทย์ คุณกิตติ

เกิด 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 (อายุ 55 ปี)
ยะลา ประเทศไทย Flag of ไทย
สังกัดพรรค พรรคชาติไทย ( ? - ? )
พรรคไทยรักไทย ( 2544 - 2549 )
ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ มีชื่อเดิมว่า ประพัฒน์ แซ่ฉั่ว อดีตนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา ต่อมาได้เป็นนักการเมือง เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร[1]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

นายประพัฒน์เกิดที่จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2495 เข้ามาเรียนที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรมในขณะเป็นนักศึกษา และมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516

ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ทำงานรับจ้างปลูกป่า บริษัทลำปางทำไม้ จำกัด เป็นลูกจ้างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และเป็นเกษตรกรอยู่ที่จังหวัดลำปาง[2]

เมื่อ พ.ศ. 2544 เข้าเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคนแรกระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2547

ช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 นายประพัฒน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และสมาชิกพรรคไทยรักไทย[3] ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย[4]

[แก้] เหตุการณ์ 14 ตุลา

ภาพถ่ายจากมุมบน
ขณะยืนถือไม้ประจัญหน้ากับทหาร จึงได้ฉายา "ไอ้ก้านยาว"

ก่อนช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 ประพัฒน์เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองของนักศึกษาหลายครั้ง ทั้งการประท้วงกรณีล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่นเรศวร การประท้วงต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น การเรียกร้องรัฐธรรมนูญ

ประพัฒน์เป็นบุคคลในภาพถ่ายที่มีชื่อเสียง ในช่วงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เวลาประมาณเที่ยงวัน ประพัฒน์ถือไม้หน้าสาม ประจัญหน้ากับทหารที่โอบล้อมเข้ามา และถูกยิงล้มลงบริเวณหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ มีนักข่าวหลายคนจับภาพนี้ได้ และเป็นภาพที่เป็นที่จดจำในเหตุการณ์ 14 ตุลา ภาพถ่ายนี้ทำให้ประพัฒน์ได้รับฉายาว่า "ไอ้ก้านยาว"[5]

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น