ประภาส จารุเสถียร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จอมพลประภาส จารุเสถียร
ประภาส จารุเสถียร

ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
สมัยก่อนหน้า สุกิจ นิมมานเหมินท์
สมัยถัดไป พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516
สมัยก่อนหน้า จอมพลถนอม กิตติขจร
สมัยถัดไป พลเอกกฤษณ์ สีวะรา

ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516
สมัยก่อนหน้า พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์
สมัยถัดไป พลตำรวจเอกประจวบ สุนทรางกูร

เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2455
ตำบลหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี
ถึงแก่อสัญกรรม 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540 (84 ปี)
สมรสกับ ท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร

จอมพลประภาส จารุเสถียร (5 ธันวาคม พ.ศ. 245518 สิงหาคม พ.ศ. 2540) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมตำรวจและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

จอมพล ประภาส จารุเสถียร (นามเดิม ตุ๊) เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2455 ปีฉลู ณ ตำบลหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรของพระยาพายัพพิริยกิจ (เป้า) และเจ้าบัวตอง (ณ ลำปาง) จารุเสถียร สมรสกับ ท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร(บุตรของเรือตรีวอน และนางฮวย ปานประสิทธิ์)

[แก้] บุตรธิดา

มีบุตรธิดาทั้งสิ้น 6 คนได้แก่

  1. ร้อยโทตวงสิทธิ์ จารุเสถียร
  2. ร้อยเอกหญิงสุมิตรา จารุเสถียร
  3. คุณสุภาพร กิตติขจร (สมรสกับ พันเอกณรงค์ กิตติขจร)
  4. พลโทประยุทธ จารุเสถียร
  5. คุณหญิงอรพรรณ ศศิประภา (สมรสกับ พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา)
  6. คุณหญิงศุภนภา อัตตะนันทน์ (สมรสกับ พลเอกสมทัต อัตตะนันทน์)

[แก้] การรับราชการ

[แก้] ตำแหน่งและหน้าที่ราชการพิเศษ

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้] บทบาททางการเมือง

ภายหลังการอสัญกรรมของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. 2506 แล้ว จอมพลถนอม กิตติขจร จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ บทบาทของจอมพลประภาสเปรียบเสมือนมือขวาคนสำคัญของจอมพลถนอม โดยเป็นรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งบุคคลิกส่วนตัวของจอมพลถนอมแล้ว เป็นคนพูดน้อย มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์ จึงได้รับการยอมรับจากประชาชนในระยะแรกที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายาว่า " นายก ฯ คนซื่อ " แต่จอมพลประภาสกลับไม่ได้รับความไว้วางใจเฉกเช่นจอมพลถนอม อันเนื่องมาจากปัญหาการคอร์รัปชั่นและการใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบหลายประการ โดยที่จอมพลประภาสเสมือนเป็นปากกระบอกเสียงให้แก่จอมพลถนอม ด้วยความเป็นคนพูดเก่ง มีลีลาแพรวพราว และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งคู่ก็แน่บแน่นกัน โดยที่ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ลูกชายของจอมพลถนอม ก็ได้สมรสกับลูกสาวของจอมพลประภาสด้วย

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา แล้ว จอมพลประภาส ได้เดินทางออกนอกประเทศ โดยไปอยู่ที่กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน และหวนกลับคืนมาสู่ประเทศไทยอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2519 แต่ถูกต่อต้านอย่างหนัก จึงเดินทางกลับ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่นาน

[แก้] อ้างอิง


ภาษาอื่น