พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่.jpg
ข้อมูล
วันประสูติ ๕ เมษายน ๒๓๙๙
วันสิ้นพระชนม์ ๒๕ มกราคม ๒๔๖๗
พระอิสริยยศ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มารดา เจ้าจอมมารดาสังวาลย์
ชายา หม่อมพริ้ง
หม่อมจันทร์
หม่อมนวม
หม่อมเปลี่ยน
หม่อมทองสุก
หม่อมแก้ว
บุตร โอรสในหม่อมพริ้ง
หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าทองอนุวัติ ทองใหญ่
โอรส-ธิดาในหม่อมจันทร์
หม่อมเจ้าหญิงอุไรวรรณ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงสอิ้งมาศ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงมาลากนก ทองใหญ่
หม่อมเจ้าลายฉลุทอง ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงเถาทองตรา ทองใหญ่ โอรส-ธิดาในหม่อมนวม
หม่อมเจ้าหญิงพันธ์สิหิงค์ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงนาฏนพคุณ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าไศลทอง ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงลำทองแร่ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงแพร่ทองทราย ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงสลักทองนูน ทองใหญ่
หม่อมเจ้าทองทูลถวาย ทองใหญ่
หม่อมเจ้าทองประทาศรี ทองใหญ่
หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่
โอรส-ธิดาในหม่อมเปลี่ยน
หม่อมเจ้าทองมุ่นใหญ่ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงมาลกสุวรรณ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงข่ายทองถัก ทองใหญ่
โอรส-ธิดาในหม่อมทองสุก
หม่อมเจ้าก่องกาญจนา ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงกรัณฑ์คำ ทองใหญ่ โอรสในหม่อมแก้ว
หม่อมเจ้าทองแกมแก้ว ทองใหญ่
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี


พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (๕ เมษายน ๒๓๙๙ - ๒๕ มกราคม ๒๔๖๗) พระนามเดิม พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ธิดานายศัลยวิชัย (ทองคำ ณ ราชสีมา) ทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอองค์ที่ ๒๕ ในรัชกาลที่ ๔ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๙ เมื่อสมโภชเดือนแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เพราะในวันประสูติมีผู้นำทองคำก้อนใหญ่ ซึ่งขุดได้ที่ตำบลบางสะพานในเวลานั้นได้เข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงถือว่าเป็นศุภนิมิตมงคลสำหรับพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้

พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงมีพระอนุชา พระขนิษฐาในเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก ๓ พระองค์คือ

  • พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ต้นสกุล ทองแถม )
  • พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี
  • พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร

พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงเริ่มการศึกษาวิชาอักษรไทย และบาลี กับพระองค์เจ้ากฤษณา หม่อมเจ้าหญิงจอ และพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และทรงศึกษาภาษาต่างประเทศกับ นางเลียวโนเว็น และ นายแป็ตเตอสัน จนสามารถตรัส และเขียนภาษาอังกฤษได้ดี

ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ และเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ และประทับที่วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับสมเด็จพระสังฆราช (สา) เมื่อลาสิกขาแล้วทรงศึกษาวิชากฎหมายจากขุนหลวงไกรศรี (หนู) แล้วเข้ารับราชการเป็นนักเรียนศาลฎีกาในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ เป็นอธิบดีศาลฎีกา

ภาพวาดสุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘

เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘ ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ขึ้นในประเทศไทย "ท่านทอง" พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ได้ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะนักดาราศาสตร์อังกฤษได้ตั้งค่ายสังเกตสุริยุปราคาที่แหลมเจ้าลาย จังหวัดเพชรบุรี นักดาราศาสตร์เหล่านี้ไม่สามารถถ่ายภาพสุริยุปราคาไว้ได้ คงมีแต่ภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ และถูกบันทึกอยู่ในตำราดาราศาสตร์ ในนามของ Prince Tong

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการรักษาดินแดนไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ครั้งวิกฤต ร.ศ. ๑๑๒ ทรงเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ปราบปรามกบฏจีนฮ่อในมณฑลลาวพวนจนสงบราบคาบ

ในเวลาต่อมา ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ทรงตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนที่ บ้านหมากแข้ง ทรงสร้างความเจริญ จากหมู่บ้านชนบทจนเป็นเมืองอุดร และต่อมาได้ยกฐานะเป็นจังหวัดอุดรธานี

พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ

ภายหลังเกิดคดีพญาระกาขึ้นในปี พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2453 ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงกระทำปัพพานิยกรรม ขับกรมหลวงประจักษ์ฯและพระโอรส-ธิดาออกจากพระราชสำนัก พระองค์เองทรงถูกห้ามมิให้เข้าเฝ้าในที่รโหฐาน ให้เฝ้าได้แต่ในท้องพระโรงหรือในที่มีผู้เฝ้าอยู่มากเท่านั้น ห้ามหม่อมเจ้าไศลทองโดยเฉพาะมิให้เข้าในเขตพระราชฐาน และห้ามหม่อมเจ้าหญิงชายอื่นๆในกรมหลวงประจักษ์ฯมิให้ขึ้นสู่พระราชมณเฑียร ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2453 เป็นต้นมาจนตลอดรัชกาลก็มิได้พ้นพระราชอาญาจนในหลวงรัชกาลที่ 5 สวรรคต (รายละเอียดอ่านได้ในหนังสือพระราชประวัติรัชกาลที่ 6 จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน หน้า 369 - 374)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สิ้นพระชมน์ ณ วังตรอกสาเก เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ จากโรคอันตะ (ไส้ใหญ่ ) พิการ สิริพระชันษาได้ ๖๘ พรรษา ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองใหญ่

เนื้อหา

[แก้] พระโอรส-ธิดา

[แก้] หม่อมพริ้ง

  • พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๒๙-๒๔๘๕) เษกสมรส หม่อมลุดมิล่า บาร์ซูคอฟ อิวาโนวิตซ์ ชายาชาวรัสเซีย ขณะที่ศึกษาวิชาการทหารม้าที่รัสเซีย ท่านได้รับความอนุเคราะห์จากสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ต้นตระกูลจักรพงษ์รับเป็นลูกบุญธรรม ทรงมีบุตรชาย 2 คนและบุตรหญิงสองคนคือ
    • ม.ร.ว. จักรทอง ทองใหญ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2513-14) สมรสกับ ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา (โนบุโกะ ทาคากิ) ท่านทั้งสองมีบุตร 4 คนคือ
      • ม.ล. ประจักษศิลป ทองใหญ่ (2482-ปัจจุบัน) สมรสกับ ผ.ศ. วันดี ทองใหญ่ ณ อยุธยา อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา มีบุตร 3 คนคือ
        • นายประวาลทอง ทองใหญ่ ณ อยุธยา มหาบัณฑิตบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแบรดลี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
        • นายน้ำทอง ทองใหญ่ ณ อยุธยา ครุศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
        • นางประวีณศรี ทองใหญ่ ไตรประคอง มหาบัณฑิตบริหารธุรกิจ สถาบันศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      • ม.ล. นีลนารา ชิโมมุระ สมรสกับ นายยาซุโอะ ชิโมมุระ นักวิทยาศาสตร์ทางด้านพลังงานนิวเคลียร์ ชื่อดังชาวญี่ปุ่น มีบุตร 3 คนคือ
        • นายฮิโรโนบุ ชิโมมุระ
        • นายบุนจิโร ชิโมมุระ
        • นายมิโนรุ ชิโมมุระ
      • ม.ล. จักรานพคุณ ทองใหญ่ (ถึงแก่กรรม)
      • ม.ล. สุนทรานี ทองใหญ่
    • ม.ร.ว. ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่ สมรสกับ ม.จ. ปิยะ รังสิต มีบุตร 1 คน คือ
      • ม.ล. เยาวลักษณ์ (รังสิต) แอลแลนด์
    • ม.ร.ว. พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ สมรสกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี (2518-19) มีบุตร 2 คน คือ
      • ม.ล. รองฤทธิ์ ปราโมช
      • ม.ล. วิสุมิตรา (ปราโมช) รัสท์
    • ม.ร.ว. สิงคธา ทองใหญ่ อดีตเสรีไทยและสมรสกับ นางวิเวียน ทองใหญ่ ใช้ชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกาจนสิ้นชีวิต มีบุตร 2 คน คือ
      • นายทอมมัส ทองใหญ่
      • นางสาวอเล็กซานดรา ทองใหญ่ (ถึงแก่กรรม)
  • หม่อมเจ้าทองอนุวัติ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๔๙๖) เษกสมรส

[แก้] หม่อมจันทร์

  • หม่อมเจ้าหญิงอุไรวรรณ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๕๒๐)
  • หม่อมเจ้าหญิงสอิ้งมาศ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๕๑๕)
  • หม่อมเจ้าหญิงมาลากนก ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๔๘๒)
  • หม่อมเจ้าลายฉลุทอง ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๕๓๔) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้านงลักษณ์ทัศนีย์ สวัสดิวัฒน์ กับหม่อมอีก ๑ คน
  • หม่อมเจ้าหญิงเถาทองตรา ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๕-๒๔๙๖)

[แก้] หม่อมนวม

  • หม่อมเจ้าหญิงพันธ์สิหิงค์ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๓-๒๔๗๔) เษกสมรสกับหม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม
  • หม่อมเจ้าหญิงนาฏนพคุณ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๕๖) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าพันธุคำนพคุณ ทองแถม
  • หม่อมเจ้าไศลทอง ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๕๑๒) เษกสมรส
  • หม่อมเจ้าหญิงลำทองแร่ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๕๒๗) เษกสมรส
  • หม่อมเจ้าหญิงแพร่ทองทราย ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๑-๒๔๙๓) เษกสมรส
  • หม่อมเจ้าหญิงสลักทองนูน ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๓-๒๕๑๓) เษกสมรส
  • หม่อมเจ้าทองทูลถวาย ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๕-๒๕๓๐) เษกสมรส
  • หม่อมเจ้าทองประทาศรี ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๕๒๖) เษกสมรส .....บิดา พล.อ.อ.หม่อมราชวงศ์ศิริพงษ์ ทองใหญ่ (อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ)
  • หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๕๕-ปัจจุบัน) เษกสมรสกับหม่อมอรพินท์ ทองใหญ่ ณ อยุธยา

มีบุตรธิดา ๓ คน

    • ม.ร.ว.ชาลี ทองใหญ่ สมรสกับ นางอรณี (สายบัว) มีธิดา ๒ คน
      • ม.ล.อรอำไพ พนานุรัตน์ สมรสกับนายประกิต พนานุรัตน์
      • ม.ล.อณิชาล ทองใหญ่ สมรสกับ นายภัทรภูมิ เพ็ญเจริญ
    • ม.ร.ว.กัณหา ทองใหญ่ มีธิดา ๓ คน
    • ม.ร.ว.พิณทอง ทองใหญ่ มีบุตรธิดา ๒ คน

[แก้] หม่อมเปลี่ยน

  • หม่อมเจ้าทองมุ่นใหญ่ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๖-?)
  • หม่อมเจ้าหญิงมาลกสุวรรณ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๙-?)
  • หม่อมเจ้าหญิงข่ายทองถัก ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๔๑-๒๕๓๑) เษกสมรส

[แก้] หม่อมทองสุก

  • หม่อมเจ้าก่องกาญจนา ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๕๐๐) ทองสุก
  • หม่อมเจ้าหญิงกรัณฑ์คำ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๕๒๘)

[แก้] หม่อมแก้ว

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] อ้างอิง

  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
สมัยก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สมัยถัดไป
ภูธเรศธำรงศักดิ์
(กรมหมื่น)
2leftarrow.png พระนามกรมพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔
ประจักษ์ศิลปาคม
(กรมหลวง)

2rightarrow.png พรหมวรานุรักษ์
(กรมหลวง)


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
2leftarrow.png รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
(2 กันยายน พ.ศ. 2442 - 15 มกราคม พ.ศ. 2443)
2rightarrow.png พระยาชลยุทธโยธินทร์
(อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
2leftarrow.png เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
(พ.ศ. 2442 - พ.ศ. 2444)
2rightarrow.png สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้า
กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช