วันมูหะมัดนอร์ มะทา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันมูหะมัดนอร์ มะทา
วันมูหะมัดนอร์ มะทา

ดำรงตำแหน่ง
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2543
สมัยก่อนหน้า นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
สมัยถัดไป นายพิชัย รัตตกุล

ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547
สมัยก่อนหน้า นายโภคิน พลกุล
สมัยถัดไป นายพินิจ จารุสมบัติ
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน

ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547
สมัยก่อนหน้า ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
สมัยถัดไป นายโภคิน พลกุล

ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
สมัยก่อนหน้า นายวิชิต สุรพงษ์ชัย
สมัยถัดไป นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ

ดำรงตำแหน่ง
6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
สมัยก่อนหน้า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน
สมัยถัดไป คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 (อายุ 66 ปี)
Flag of ไทย จังหวัดยะลา
ศาสนา อิสลาม

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นักการเมืองมุสลิม แกนนำกลุ่มวาดะห์ อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกในประวัติศาสตร์ที่เป็นชาวไทยมุสลิม อดีตรองนายกรัฐมนตรี มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า "วันนอร์" เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็น อดีต ส.ส. 9 สมัย เคยสังกัดในพรรคการเมืองคือ พรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ และ พรรคไทยรักไทย

ปัจจุบัน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อยู่ระหว่างถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากคำวินิจฉัยใน คดียุบพรรค แต่ยังคงมีบทบาทให้คำแนะนำ ส.ส.กลุ่มวาดะห์ ซึ่งย้ายจาก พรรคไทยรักไทย ไปสังกัด พรรคประชาราช ระยะหนึ่ง ก่อนจะย้ายไปสังกัด พรรคมัชฌิมาธิปไตย เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 และย้ายไปสังกัด พรรคพลังประชาชน เป็นที่แน่นอน


เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

"นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา" เกิดวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ที่จังหวัดยะลา เป็นพี่คนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 10 คน คือ

  • วันมูหะมัดนอร์ มะทา นักการเมือง แกนนำกลุ่มวาดะห์
  • จุฑาทิพย์ (มะทา) อารีอิสเฮาะ ครูจังหวัดยะลา
  • มันโซ มะทา ทำฟาร์มอยู่ที่จังหวัดราชบุรี
  • จุฑารัตน์ (มะทา) ภริยานายสุไลมาน วงศ์พานิช อดีตวุฒิสมาชิก
  • อนันต์ มะทา สมาชิกสภาเทศบาลนครยะลา
  • มุกตาร์ มะทา อดีตวุฒิสมาชิกจังหวัดยะลา ปัจจุบันเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา
  • ซูการ์โน มะทา อดีตสมาชิกสภาจังหวัดยะลา เขตอำเภอรามัน ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา พรรคเพื่อไทย
  • สุการีย๊ะ (มะทา) ดือราแม ธุรกิจส่วนตัว
  • สาการียา มะทา เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
  • มยุรี (มะทา) เอี่ยมทัศนะ ธุรกิจส่วนตัว

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา จบมัธยมต้นจาก โรงเรียนประจำจังหวัด คณะราษฎรบำรุง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และจบมัธยมปลายแผนกวิทยาศาสตร์ จาก โรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สำเร็จการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต(มัธยมศึกษา) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยทุนกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี พ.ศ. 2512

ต่อมาสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบันทิต(บริหารการศึกษา) จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2517

[แก้] ประวัติการทำงาน

[แก้] การเมือง

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เข้าสู่วงการเมืองครั้งแรกในสังกัด พรรคกิจสังคม เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและแกนนำ กลุ่มวาดะห์ ไปเข้าสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ และต่อมาย้ายไปร่วมก่อตั้ง พรรคความหวังใหม่ โดยมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรค และเป็นผู้นำกลุ่มวาดะห์ แทนนายเด่น โต๊ะมีนาที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคในเวลาต่อมา ก่อนจะย้ายไปเข้าสังกัด พรรคไทยรักไทย จากการยุบรวมพรรคความหวังใหม่เข้ากับพรรคไทยรักไทย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 และ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้รับตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย

  • พ.ศ. 2522 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยะลา สมัยแรก ในสังกัดพรรคกิจสังคม
  • พ.ศ. 2523 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2524 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • พ.ศ. 2527
  • พ.ศ. 2531
    • นำกลุ่มวาดะห์ ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับ "กลุ่ม 10 มกรา" ร่วมกันจัดตั้งพรรคประชาชน
    • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 3 ในสังกัดพรรคประชาชน
  • พ.ศ. 2532 นำพรรคประชาชนยุบรวมกับ พรรคก้าวหน้า พรรคกิจประชาคม และพรรครวมไทย เป็นพรรคเอกภาพ
  • พ.ศ. 2533 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ)
  • พ.ศ. 2535
    • นำกลุ่มวาดะห์ เข้าร่วมก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ กับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรค
    • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 4 (จากการเลือกตั้ง 2535/1)
    • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 5 (จากการเลือกตั้ง 2535/2)
    • รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • พ.ศ. 2537 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (กำกับดูแล กรมที่ดิน การเคหะแห่งชาติ การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค )
  • พ.ศ. 2538 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 6
  • พ.ศ. 2538-2539 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • พ.ศ. 2539
    • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 7
    • ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานรัฐสภา (24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543)
  • พ.ศ. 2544
    • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 8
    • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • 10 มีนาคม 2547 รองนายกรัฐมนตรี
  • 6 ตุลาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • พ.ศ. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 9

[แก้] การดำรงตำแหน่งอื่นๆ

  • เป็น อมีรุ้ลฮัจญ์ ผู้นำแสวงบุญ ในพิธีฮัจญ์ เมืองเมกกะ ซาอุดิอาระเบีย
  • ได้รับเลือกเป็น คณะมนตรีของสันนิบาตโลกมุสลิม (รอบิเฏาะฮ์)

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ภาษาอื่น