สนธิ บุญยรัตกลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำหรับความหมายอื่นหรือบุคคลอื่นที่ชื่อ สนธิ ดูที่ สนธิ
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
สนธิ บุญยรัตกลิน

ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 28 มกราคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์

ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550
สมัยก่อนหน้า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
สมัยถัดไป พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา

อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สมัยก่อนหน้า วิวัฒน์ ประวีณวรกุล

เกิด 2 ตุลาคม พ.ศ. 2489
สมรสกับ สุกัญญา บุญยรัตกลิน
ปิยะดา บุญยรัตกลิน
วรรณา บุญยรัตกลิน
ศาสนา ศาสนาอิสลาม
การรับราชการทหาร
สังกัด กองทัพไทย
เหล่าทัพ กองทัพบก
ยศสูงสุด พลเอก

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน (2 ตุลาคม พ.ศ. 2489 — ) อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบกของไทยคนแรกที่เกิดภายใต้พระบรมโพธิสมภารในรัชกาลปัจจุบันและก็เป็น ผู้บัญชาการทหารบกของไทยคนแรกที่มาจากชาวไทยมุสลิม และอดีตหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในเหตุการณ์ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ปัจจุบันเป็นหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ

เนื้อหา

ประวัติ

พล.อ.สนธิ เป็นบุตรของ พันเอกสนั่น (นามสกุลเดิม อหะหมัดจุฬา) [1] และนางมณี บุญยรัตกลิน ชาวไทยเชื้อสายมอญ เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 6 คน เติบโตในครอบครัวมุสลิม ที่นับถือนิกายชีอะห์ ในจังหวัดปทุมธานี (บิดานับถือนิกายชีอะห์) แต่ตัวท่านนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ (มารดานับถือนิกายซุนนีย์) [2] ต้นตระกูล เฉกอะหมัด หรือ เจ้าพระยาบวรราชนายก ขุนนางเชื้อสายเปอร์เซีย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี และ สมุหนายกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ลูกหลานบางส่วนของเฉก อาหมัด เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ เช่น ตระกูลบุนนาค ตระกูลจุฬารัตน์ โดยนามสกุล บุญยรัตกลิน (อ่านว่า บุน-ยะ-รัด-กะ-ลิน) จริงๆแล้วคือ บุณยรัตกลิน แต่พิมพ์ผิดเป็น "ญ" นั้น เป็นนามสกุลพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 มีที่มาจากการที่หนึ่งในสาแหรกฝั่งย่าเป็นทหารเรือ สังกัดพรรคกลิน คือหลวงพินิจกลไก (บุญรอด) [3] มีชื่อทางมุสลิมว่า อับดุลเลาะห์ อหะหมัดจุฬา ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "บิ๊กบัง"

พล.อ. สนธิ มีภรรยาทั้งหมด 3 คน ภรรยาคนแรกชื่อ สุกัญญา จดทะเบียบสมรสขณะที่ พล.อ.สนธิยังเป็นพลโท ภรรยาคนที่สองชื่อ ปิยะดา จดทะเบียนสมรสเมื่อเป็นนายพล ภรรยาคนที่สามชื่อ วรรณา ปัจจุบันอาศัยอยู่กับทั้งหมดแม้ว่าการมีภรรยาสามคนจะเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทยก็ตาม อย่างไรก็ตาม นายอารีย์ วงศ์อารยะ [4] [5] วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พล.อ.สนธิกล่าวว่าตนไม่ยื่นแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินของภรรยาคนที่ 3 ต่อ ป.ป.ช. เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องกันทางกฎหมาย [6]

บุตรที่เกิดกับนางปิยะดา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ ร.ต.นิธิ บุญยรัตกลิน (ป๊อป) และ นายนิรินทร์ บุญยรัตกลิน (ไปป์) บุตรที่เกิดกับนางวรรณา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ พ.ต.ต.สุทธิเวท บุญยรัตกลิน และ ร.ท.สุธาวิทย์ บุญยรัตกลิน และบุตรที่เกิดกับนางสุกัญญา บุญยรัตกลิน มี 2 คน คือ นายเอกรินทร์ บุญยรัตกลิน และน.ส.ศศิภา บุญยรัตกลิน (พลอย)

การศึกษา

พล.อ.สนธิศึกษาในระดับประถมและมัธยมที่ โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ และศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมทหาร (รุ่นที่ 6) และศึกษาต่อ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เหล่าทหารราบ (รุ่นที่ 17) และได้ศึกษาในระดับอุดมศึกษา สำหรับปริญญาโท สาขาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (การทหาร) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 42) และปัจจุบนกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก สาขารัฐศาสตร์ (สาขาวิชาการเมือง) มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นแรกของคณะ โดยมีพลเอกสนธิเป็นประธานรุ่น ที่มีอายุมากที่สุดคือ 63 ปี นอกจากนี้ได้มีหลักสูตรพิเศษอื่น ได้แก่

การรับราชการ

  • ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
  • ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กองพลอาสาสมัครเสือดำ
  • รองผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวนระยะไกลที่ 9 กาญจนบุรี นายทหารคนสนิทแม่ทัพภาคที่ 4 (พล.ท.ปิ่น ธรรมศรี ในขณะนั้น) ผู้บังคับกองพันรบพิเศษที่ 2 กรมรบพิเศษที่ 1 รองผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1
  • ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 รองผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1
  • ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
  • ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
  • ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารบก

พล.อ.สนธิ เป็นนายทหารของหน่วยรบพิเศษ ที่ผ่านการรบด้านการปราบปราม ผกค. ด้าน อ.กุยบุรี และ จ.ปราจีนบุรี รวมถึงการออกไปรบที่ประเทศเวียดนามและกัมพูชา

รัฐประหาร 2549

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ขณะอ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปฯ เช้าวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550
ดูเพิ่ม รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.อ.สนธิ เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองของ รัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งอยู่ระหว่างการประชุมสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก

หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว พล.อ.สนธิ ได้เปลี่ยนตำแหน่งจากหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปเป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ

หลังเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2550 พล.อ.สนธิ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงโดยเฉพาะ

การเมือง

ภายหลังเกษียณอายุราชการแล้ว และพ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.สนธิก็มักปรากฏข่าวคราวว่าจะเล่นการเมือง โดยจะเป็นหัวหน้าพรรคเอง ในที่สุด ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 พล.อ.สนธิก็รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งโดยนักการเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นมุสลิม โดยมีเป้าหมายหวังฐานเสียงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [7]

บัญชีทรัพย์สิน

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้เปิดเผยรายการบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินของคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยื่นบัญชีทรัพย์สินเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีมีทรัพย์สิน 38,796,977 บาท ประกอบด้วยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ 10,241,195 บาท เงินฝากในสถาบันการเงินอื่น 13,355,541 บาท หลักทรัพย์รัฐบาล และรัฐบาลค้ำประกัน 142,600 บาท หลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาต 6,393,240 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 4,664,400 บาท สิ่งปลูกสร้าง 1 หลัง มูลค่า 4 ล้านบาท ภรรยาทั้ง 2 คน ที่จดทะเบียนสมรสคือ นางสุกัญญา มีทรัพย์สินกว่า 14 ล้านบาท และ นางปิยะดา 42 ล้านบาท บุตรสาวที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะกว่า 3 แสนบาท ซึ่งรวมทั้งครอบครัวแล้วมีทรัพย์สินกว่า 94 ล้านบาท [8]

ความชื่นชอบส่วนตัว

พล.อ.สนธิเป็นบุคคลที่ชอบเล่นกีฬามาก โดยเฉพาะฟุตบอลและเทนนิส มีทีมฟุตบอลที่ชื่นชอบคือ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • กองบรรณาธิการมติชน. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. “ม้ามืด” ผู้นำรัฐประหาร. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550. ISBN 978-974-323-907-6
  • ชรินทร์ แช่มสาคร. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ขุนศึกกู้แผ่นดิน. กรุงเทพฯ : 2550. ISBN 978-974-88207-0-5
  • ธงชัย แม่คลอง. สนธิ บุญยรัตกลิน อัศวินม้าขาวหรือทรราชย์?. กรุงเทพฯ : 2550. ISBN 978-974-13-3731-6