สัญญา ธรรมศักดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัญญา ธรรมศักดิ์
สัญญา ธรรมศักดิ์

ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
สมัยก่อนหน้า จอมพล ถนอม กิตติขจร
สมัยถัดไป ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช

ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510
สมัยก่อนหน้า ประวัติ ปัตตพงศ์
สมัยถัดไป ประกอบ หุตะสิงห์

ดำรงตำแหน่ง
5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 – 4 กันยายน พ.ศ. 2541
สมัยก่อนหน้า มล.เดช สนิทวงศ์
สมัยถัดไป พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2450
ข้างวัดอรุณราชวราราม บางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี
ถึงแก่อสัญกรรม 6 มกราคม พ.ศ. 2545 (94 ปี)
โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร
สมรสกับ ท่านผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์
ลายมือชื่อ Thai-PM-sanya signature.png

ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ (5 เมษายน พ.ศ. 24506 มกราคม พ.ศ. 2545) เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา, คณบดีคณะนิติศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2545 สิริอายุได้ 94 ปี

เนื้อหา

[แก้] เกิดและครอบครัว

ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2450 ที่จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 3 คนของบิดาชื่อ มหาอำมาตย์ตรี พระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี ศรีสัตยวัตตา พิริยพาหะ (ทองดี ธรรมศักดิ์) มารดาชื่อ คุณหญิงชื้น ธรรมสารเวทย์ฯ สมรสกับ ท่านผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์ (เพ็ญชาติ) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายชาติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ และนายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์

[แก้] การศึกษา

  • เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนทวีธาภิเศก เมื่อ พ.ศ. 2456 จากนั้นจึงย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อ พ.ศ. 2457 และสำเร็จชั้น 6 อังกฤษ (มัธยมบริบูรณ์) พ.ศ. 2468
  • เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมเป็นเวลา 3 ปี และสำเร็จเป็นเนติบัณฑิต เมื่อ พ.ศ. 2471
  • สอบแข่งขันได้คะแนนสูงสุด ได้รับทุนเล่าเรียน "รพีบุญนิธิ" พ.ศ. 2472 ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อในประเทศอังกฤษ ที่สำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล (The Middle Temple) เป็นเวลา 3 ปี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ (Barrister-at-Law) เมื่อ พ.ศ. 2475

[แก้] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เวลา 19.00 น. ในเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากถวายบังคมลาออกของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และองคมนตรีอยู่ หลังจากได้มีประกาศแต่งตั้งไป กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้โห่ร้องด้วยความดีใจ แต่บางส่วนก็ยังไม่ปักใจเชื่อ และการปะทะกันก็ยังต่อเนื่องอยู่ ในเวลา 23.15 น. ท่านได้กล่าวคำปราศรัยจากหอพระสมุด ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน โดยผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า

Cquote1.svg

พี่น้องชาวไทย นิสิต นักศึกษาและประชาชนชาวไทยที่รักทั้งหลาย ด้วยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ในวันนี้ให้ข้าพเจ้าเข้ารับภาระหน้าที่อันหนัก เป็นนายกรัฐมนตรีแม้จะเป็นระยะเวลาที่ยากลำบากอย่างยิ่ง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ดี ข้าพเจ้าก็รับพระบารมีใส่เกล้า ฯ จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและจะทำงานโดยเต็มสติกำลังความสามารถ ในชั้นแรกและที่เป็นการด่วนอย่างยิ่งในวันนี้ก็คือข้าพเจ้าขอร้องให้พี่น้องชาวไทยทั้งหลาย ทั้งที่เป็นทหารตำรวจ นิสิต นักศึกษา และประชาชนขอให้รักษาความสงบเรียบร้อยโดยพลัน ทั้งนี้เพื่อประชาชนและเพื่อชาติศาสนาพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของเรา ข้าพเจ้าขอสัญญาว่าจะให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ และข้าพเจ้าคาดคิดว่าไม่ควรจะเกิน 6 เดือน นับแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะเชื้อเชิญท่านผู้ทรงคุณวุฒิมีคุณธรรมความสามารถความซื่อสัตย์สุจริตประกอบเข้าเป็นคณะรัฐมนตรีในเร็ววันนี้ ขอให้ท่านข้าราชการประจำทุกท่าน ไม่ว่าในตำแหน่งใดได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ท่านมีอยู่ในปัจจุบันต่อไปตามเดิมทุกประการ

Cquote2.svg

จากนั้นในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เวลา 16.00 น. ท่านได้นำคณะรัฐมนตรี เข้าเฝ้าเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่ง ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดนี้ประกอบด้วยบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประกอบ หุตะสิงห์ เป็นรัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรม พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ น.พ.เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้ถูกสื่อมวลชนตั้งฉายาให้ว่า "รัฐบาลท่านพระครู" เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นบุคคลที่ธรรมะธรรมโม และแม้ได้เข้ามาบริหารราชการแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ในประเทศยังคงระอุอยู่ เพราะเหตุความวุ่นวายต่าง ๆ และรัฐบาลเสนอกฎหมายผ่านสภาถึง 3 ฉบับ แต่ไม่ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงได้รับฉายาใหม่ว่า "รัฐบาลมะเขือเผา" จนในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ท่านได้ทำหนังสือลาออกจากตำแหน่ง แต่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานสภานิติบัญญัติ เห็นชอบให้ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีตามเดิมในวันที่ 28 พฤษภาคม จนกระทั่งมีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 และวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปจากการเลือกตั้ง ท่านจึงได้พ้นวาระไปและได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานองคมนตรี

ขณะที่แถลงการณ์ออกโทรทัศน์
นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ถ่ายเมื่ออายุได้ 22 ปี ก่อนจะเดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ

[แก้] ผลงานทางวิชาการ

  1. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วน – บริษัท (ไม่ปรากฏรายการบรรณานุกรมหนังสือ)
  2. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะทรัพย์ (ไม่ปรากฏรายการบรรณานุกรมหนังสือ)
  3. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2526. (ซึ่งศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย ได้เป็น ผู้เรียบเรียงและปรับปรุง เพิ่มเติมจากฉบับ คำบรรยายของนายสัญญา ธรรมศักดิ์)
  4. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, ม.ป.ป.
  5. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตอน 1 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2515.
  6. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตอน 2 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2515.
  7. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1 ถึงภาค 3 มาตรา 1 - 171 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประภาศน์ อวยชัย). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2530.
  8. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 3 ถึงภาค 7 มาตรา 172 - 267 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประภาศน์ อวยชัย). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2530.
  9. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรม-ศาสตร์, 2516. (บันทึกคำอธิบายโดยย่อของ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งบรรยายแก่นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ปี 2 สมัยการศึกษา 2514)
  10. รายงานการร่วมประชุมสัมมนาของสหประชาชาติ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : กระทรวงยุติธรรม, 2503.
  11. ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ กับ 14 ตุลาคม’ 16. กรุงเทพฯ : ส่องศยาม, 2534.
  12. หนทางสู่ความสำเร็จของนักกฎหมาย. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2534.
  13. การอภิปรายเรื่องคุณค่าของวิชากฎหมาย, บทบัณฑิตย์. 26 (1 – 2 ) : 49-84. (พฤษภาคม, 2512)
  14. ความสำเร็จในชีวิต, ดุลพาห. 38 (1) : 49-66. (มกราคม - กุมภาพันธ์, 2534)
  15. คำชี้แจงความเข้าใจในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณา ความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499, ดุลพาห. 38 (1) : 13-39. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534)
  16. คำแถลงการณ์วิธีการออกหนังสือนิตยสารกระทรวงยุติธรรม, ดุลพาห. 38 (1) : 11-12. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534)
  17. คำบรรยายเรื่องลักษณะของเจ้าของศาลตามหลักวิชาการ, ดุลพาห. 38 (1) : 40-48. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534)
  18. คำอำลาของอดีตประมุขตุลาการ, บทบัณฑิตย์. 25 (1) : 7-10. (มกราคม, 2511)
  19. พระมหากรุณาธิคุณของในหลวงต่อวงการกฎหมาย, บทบัณฑิตย์. (ช52 (2) : 78. (มิถุนายน, 2539)
  20. รวมโอวาทสำหรับตุลาการ, ดุลพาห. 38 (2) : 88-100. (มีนาคม – เมษายน, 2534)
  21. ลักษณะของห้องพิจารณาของศาล, ดุลพาห 1 (4) : 2-13. (กรกฎาคม, 2497)
  22. สนทนากับนักกฎหมาย, วารสารกฎหมาย. 3 (2) : 84-90. (พฤษภาคม – สิงหาคม, 2520)
  23. เสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์, บทบัณฑิตย์. 32 (2) : 169-171. (2518)

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตราพระราชทาน


เครื่องราชอิสริยาภรณ์จากต่างประเทศ

  • พ.ศ. 2517 สายสะพาย THE RISING SUN ชั้นที่ 1 จากพระเจ้าจักรพรรดิญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2527 สายสะพาย DAS GROBKREUZ ชั้นที่ 1 พิเศษ จาก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
  • พ.ศ. 2530 สายสะพาย ชั้นที่ 1 LA GRAN CRUI จากพระราชาธิบดีแห่งสเปน

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] อ้างอิง

สมัยก่อนหน้า สัญญา ธรรมศักดิ์ สมัยถัดไป
จอมพลถนอม กิตติขจร 2leftarrow.png นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
(14 ตุลาคม พ.ศ. 251615 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518)
2rightarrow.png หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ประวัติ ปัตตพงศ์ 2leftarrow.png ประธานศาลฎีกา
(พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2510)
2rightarrow.png ประกอบ หุตะสิงห์

}}

เดช สนิทวงศ์ 2leftarrow.png ประธานองคมนตรี
(5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 - 4 กันยายน พ.ศ. 2541)
2rightarrow.png เปรม ติณสูลานนท์
ภาษาอื่น