อลงกรณ์ พลบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อลงกรณ์ พลบุตร
อลงกรณ์ พลบุตร

อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2499 (อายุ 53 ปี)
กรุงเทพฯ ประเทศไทย
สมรสกับ นางคมคาย พลบุตร
ศาสนา พุทธ

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เกิดวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ที่จังหวัดเพชรบุรี มีชื่อเล่นว่า " จ้อน " เป็นบุตรของ นายเพิ่มพล พลบุตร อดีตนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี

นายอลงกรณ์สมรสกับนางคมคาย พลบุตร (นามสกุลเดิม "เฟื่องประยูร" อดีต ส.ส.จันทบุรี พรรคชาติพัฒนา บุตรีของ “สนิท เฟื่องประยูร” นักการเมืองดังแห่ง จ.จันทบุรี) เมื่อปี พ.ศ. 2538 กล่าวกันว่า นายอลงกรณ์ ได้รับความอิจฉาจาก ส.ส.หนุ่มจำนวนมากในขณะนั้น เนื่องจาก ส.ส.คมคาย เฟื่องประยูร ผู้เป็นเจ้าสาว เป็น ส.ส.หญิงที่อายุน้อยที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการหมายปองจาก ส.ส.หนุ่มโดยทั่วไป

นายอลงกรณ์ มีบุตร-ธิดารวม 3 คน คนโตชื่อ “น้องพลอย” หรือชื่อจริง สภาวรรณ พลบุตร คนรองชื่อ “น้องเพชร” ธัชธรรม พลบุตร และคนเล็ก ชื่อ “น้องเพื่อน” พิมพ์สภา พลบุตร

นายอลงกรณ์ เป็นนักการเมืองที่มีฐานเสียงในจังหวัดเพชรบุรี โดยมีพี่น้องทำงานการเมืองท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี เช่น นายอติพล พลบุตร ผู้เป็นพี่ชาย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรี เพชรบุรี และ นายอิทธิพงษ์ พลบุตร ผู้เป็นน้องชาย ที่เป็นเป็น อดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี สายปกครอง มี นายอดุลย์ พลบุตร พี่ชาย เป็นนายอำเภออยู่ที่จังหวัด ยโสธร และ หลานชาย นายปานบุญ พลบุตร กำลังศึกษาในคณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายอลงกรณ์ พลบุตรได้รับฉายาว่า"มิสเตอร์เอทานอล"จากการเป็นผู้ผลักดันให้โครงการเอทานอลเกิดขึ้นในประเทศไทยโดยผ่านความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรีชวน ๒ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๓ และยังส่งเสริม"เอทานอล"อย่างต่อเนื่องในฐานะประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทดแทนเอทานอล-ไบโอดีเซลแห่งประเทศไทย(www.ethanol-thailand.com)ทำให้เกิดโรงงานเอทานอลจำนวนมากและมีการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอลล์กว่า ๘ ล้านลิตรต่อวันทั่วทั้งประเทศ ถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและนายอลงกรณ์ยังได้รับเชิญไปบรรยายในที่ประชุมนานาชาติทั่วโลก นายอลงกรณ์ ยังเป็นผู้รับผิดชอบ โครงการยุทธศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Strategy Project , TSP) ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลทางวิชาการใน 19 ยุทธศาสตร์หลัก เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล ในการพัฒนานโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ และจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนทรรศนะกับชุมชนวิชาการ และประชาชนที่สนใจทั่วไป ผ่านทางเว็ปไซต์ www.thailandstrategy.com และเอกสารเผยแพร่ของโครงการ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 นายอลงกรณ์ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สส.เพชรบุรี เขต 1 ในนามพรรคประชาธิปัตย์

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้ง ครม.เงา ขึ้นเป็นครั้งแรก นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ให้ทำหน้าที่ รองนายกรัฐมนตรีเงา ดูแลตรวจสอบ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงพลังงาน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติการศึกษา

  • จบ ม.ศ.5 จากโรงเรียนอรุณประดิษฐ จ.เพชรบุรี
  • ปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประกาศนียบัตรผู้นำนักศึกษานานาชาติ กรุงมนิลา ฟิลิปปินส์ / ฮ่องกง
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูงด้านสื่อมวลชน สหรัฐอเมริกา
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูงด้านสื่อมวลชน ญี่ปุ่น
  • ประกาศนียบัตรพัฒนาผู้นำแรงงานของสหพันธ์แรงงานระหว่างประเทศมาเลเซีย
  • ประกาศนียบัตรพัฒนาผู้นำการเมือง โปรตุเกส
  • กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก

[แก้] ประวัติการทำงาน

หลังจากเรียนจบปริญญาตรี นายอลงกรณ์เข้าป่าไปทำงานเหมืองของครอบครัว 1 ปี จึงเข้ากรุงเทพฯ เพราะพ่อแม่ และเพื่อนฝูง ต้องการให้นำวิชาที่เรียนไปใช้ประโยชน์ โดยเมื่อเข้ากรุงเทพฯ นายอลงกรณ์ได้เข้าทำงานที่ หนังสือพิมพ์เสียงปวงชน ซึ่งขณะนั้นมี นายกำแหง ภริตานนท์ เป็นผู้คุมบังเหียน จากนั้นย้ายไปทำที่ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง และหนังสือพิมพ์แนวหน้า ตามลำดับ

เมื่อเข้าทำงานที่แนวหน้า นายอลงกรณ์เป็นคนแรกที่เปิดหน้าเศรษฐกิจภาคภาษาไทย เมื่อปี 2526 ทำหน้าที่หัวหน้าข่าวเศรษฐกิจ และ บก.ข่าวในประเทศ มีบทบาทเป็นตัวตั้งตัวตีในการต่อสู้เพื่อปลดแอกสื่อ 2 เรื่อง คือต่อสู้เพื่อปลดโซ่ตรวนหนังสือพิมพ์ คือ ปร.42 และพยายามปลดแอกอาชีพหนังสือพิมพ์ นายอลงกรณ์เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง สหภาพแรงงานนักหนังสือพิมพ์ เพื่อปกป้องคนหนังสือพิมพ์ และเป็นเลขาธิการสหภาพคนแรก ระหว่างอยู่ที่แนวหน้านายอลงกรณ์รับเป็นอาจารย์พิเศษของหลายมหาวิทยาลัย อาทิ ม.ธรรมศาสตร์ ม.จุฬาลงกรณ์ ม.กรุงเทพ และ ม.หอการค้า เป็นต้น

ต่อมานายอลงกรณ์เดินทางไปอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา 2 ปี โดยทำงานด้าน อิมพอร์ตเอกซ์พอร์ตสิ่งทอ และกลับมาจัดตั้งบริษัท เทเลเพรส เพื่อผลิตรายการข่าวโทรทัศน์ให้กับช่อง 5 ถือเป็นผู้ผลิตข่าวโทรทัศน์รุ่นที่ 2 ต่อจาก บริษัทแปซิฟิค ของ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล และขณะเดียวกันนายอลงกรณ์รับเป็นรองผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ข่าวสด อีกด้วย

[แก้] ประวัติทางการเมือง

การทำรัฐประหารของคณะ รสช. ในปี พ.ศ. 2534 เป็นจุดพลิกผันให้นายอลงกรณ์ตัดสินใจลงเล่นการเมือง โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรครั้งแรกแต่สอบตกได้คะแนน 4 หมื่นคะแนน

ในการลงสมัคร ส.ส. ครั้งที่ 2 นายอลงกรณ์ประสบความสำเร็จได้เป็น ส.ส.สมัยแรก ด้วยคะแนนเสียงกว่า ๗๔,๐๐๐ คะแนน ในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2535/2 และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งปี พ.ศ. 2538 ด้วยคะแนนกว่า ๑ แสนคะแนนเป็นที่หนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี

ต่อมาในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2539 นายอลงกรณ์สอบตกอีกครั้งแบบไม่คาดฝันแม้จะได้คะแนนกว่า ๙ หมื่นคะแนน และในระหว่างนั้นนายชวน หลีกภัย ได้ให้นายอลงกรณ์ ดำรงตำแหน่ง เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และเลขานุการนายกรัฐมนตรี

ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายอลงกรณ์มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบการทุจริตของรัฐบาลหลายอย่าง เช่น การตรวจสอบการทุจริตในโครงการเช่าซอฟต์แวร์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือ การทุจริตในสนามบินหนองงูเห่า เป็นต้นจนได้รับการคัดเลือกจากสื่อมวลชนประจำรัฐสภาให้เป็น"ดาวเด่นแห่งปีของรัฐสภา ประจำปี ๒๕๔๖"พร้อมกับได้รับฉายา"มือปราบรัฐสภา" แต่นายอลงกรณ์ก็ต้องเผชิญกับการถูกฟ้องและถูกแจ้งจับกว่า ๒๐ คดีข้อหาหมิ่นประมาทจากคดีที่เขาเข้าไปตรวจสอบการทุจริตและโดนฟ้องทางแพ่งเกือบหมื่นล้านบาท

ปัจจุบัน เป็น รองนายกรัฐมนตรีเงา พรรคประชาธิปัตย์

[แก้] ลำดับการดำรงตำแหน่งทางการเมือง

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. 2535/2, 2538, 2544 , ๒๕๔๘ , ๒๕๕๐
  • กรรมาธิการงบประมาณ ปี พ.ศ. 2537
  • กรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2538-2539
  • เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. 2540-2541
  • เลขานุการนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2541-2544
  • ประธานคณะกรรมการโครงการผลิตแอลกอฮอล์จากมันสำปะหลังและพืชอื่นๆ (โครงการเอทานอล) ปี พ.ศ. 2543
  • กรรมการในคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ กันยายน ปี พ.ศ. 2543
  • กรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ปี พ.ศ. 2544-2548
  • เลขาธิการสภาพรรคการเมืองเสรีประชาธิปไตยแห่งเอเชีย (CALD) ปี พ.ศ. 2546-2547
  • รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปี พ.ศ. 2548-๒๕๕๑
  • รองนายกรัฐมนตรีเงา
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ถึง ปัจจุบัน

[แก้] การดำรงตำแหน่งอื่นๆ

  • ที่ปรึกษาของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย 2 สมัย พ.ศ. 2540 – 2542, พ.ศ. 2542 – 2544
  • ประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทดแทนเอทานอล – ไบโอดีเซล แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน
  • ที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้] เว็บไซต์ส่วนตัว

[แก้] ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม