อาทิตย์ อุไรรัตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์
อาทิตย์ อุไรรัตน์

ดำรงตำแหน่ง
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย
สมัยก่อนหน้า นายสุวิทย์ คุณกิตติ
สมัยถัดไป นายสนธยา คุณปลื้ม

ดำรงตำแหน่ง
14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
สมัยก่อนหน้า นายสุบิน ปิ่นขยัน
สมัยถัดไป นายอาสา สารสิน

ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2536 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
สมัยก่อนหน้า นายสุบิน ปิ่นขยัน
สมัยถัดไป นายอาสา สารสิน

เกิด 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 (อายุ 72 ปี)
Flag of ไทย ประเทศไทย
สังกัดพรรค ประชาธิปัตย์ (??? - ปัจจุบัน)
พรรคเสรีธรรม
พรรคสามัคคีธรรม
พรรคเอกภาพ
พรรคกิจประชาคม
พรรคชาติประชาธิปไตย
สมรสกับ นางบุญนำ อุไรรัตน์ (ฉายะบุตร)
ศาสนา พุทธ

ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เกิดวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 เป็น บุตร ของ นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ อดีต ผู้ว่าราชการหลายจังหวัด ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ คุณหญิง พัฒนา อุไรรัตน์ ขณะนี้ดำรงตำแหน่ง กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และรัฐมนตรีหลายสมัย โดยก่อนเข้าสู่วงการเมือง รับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการการประปานครหลวง

ดร.อาทิตย์ ผ่านการทำงานการเมืองมาอย่างยาวนาน เคยทำงานในฐานะผู้บริหารพรรคการเมืองมาถึง 6 พรรค ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในหลายกระทรวงคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม

ดร.อาทิตย์ ได้รับฉายา "วีรบุรุษประชาธิปไตย" ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ขณะดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม และรักษาการตำแหน่ง ประธานรัฐสภา โดยนำรายชื่อ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี รักษาการ ขึ้นทูลเกล้าฯ เป็น นายกรัฐมนตรี อีกสมัย แทนชื่อ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่ถือกันขณะนั้นว่าเป็นตัวแทนของฝ่ายทหาร และหากขึ้นดำรงตำแหน่ง อาจก่อให้เกิดความวุ่นวาย ต่อเนื่องจาก เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ดร. อาทิตย์ สมรสกับ นางบุญนำ (ฉายะบุตร) ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2509 มีบุตรธิดา 3 คน คือ 1. นายอภิวัฒิ อุไรรัตน์ 2. ดร. อรรถวิท อุไรรัตน์ 3. นาง อภิรมณ อุไรรัตน์ โชตินฤมล

ปัจจุบัน ดร.อาทิตย์ ประกาศวางมือทางการเมืองแล้ว แต่ยังคงมืชื่อเป็น กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ดร.อาทิตย์ ได้รับการยกย่อง ในฐานะนักการเมืองมือสะอาด ที่มีธุรกิจส่วนตัว เช่น โรงพยาบาลพญาไท และมหาวิทยาลัยรังสิต แต่ไม่เคยร่ำรวยขึ้น ระหว่างการทำงานการเมือง ผลประกอบการของกิจการส่วนตัว มีลักษณะกำไร-ขาดทุน ไม่แตกต่างจากกิจการทั่วไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความโปร่งใส ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติการศึกษา

สำเร็จการศึกษา รัฐศาสตร์บัณฑิต สาขาการทูตและการต่างประเทศ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท มหาบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จาก Fletcher School of Law and Diplomacy, มหาวิทยาลัยทัฟส์ มลรัฐ Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกา และ มหาบัณฑิต สาขาการบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตต เมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ดุษฎีบัณฑิตทางรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ มลรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา

[แก้] ประวัติการทำงานราชการ

  • ปลัดอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
  • หัวหน้าฝ่ายอัตรากำลังและฝึกอบรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการและพลเรือน
  • หัวหน้ากองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
  • หัวหน้ากองบริหารทั่วไป การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • รองเลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  • ที่ปรึกษาระเบียบบริหารของนายกรัฐมนตรี (พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์)
  • ประธานคณะอนุกรรมการปรับปรุงระเบียบข้าราชการการพลเรือน
  • กรรมการการประปานครหลวง ปี พ.ศ. 2526
  • ประธานอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงกิจการ การประปานครหลวง
  • ผู้ว่าการการประปานครหลวง ปี พ.ศ. 2527

[แก้] ประวัติทางการเมือง

[แก้] การดำรงตำแหน่งอื่นๆ

  • ประธานกรรมการมูลนิธิ จอห์น อี.พิวรีฟอย
  • กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  • ผู้ก่อตั้ง-ผู้รับใบอนุญาต-อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต
  • ผู้ก่อตั้ง-ผู้รับใบอนุญาต-ประธานกรรมการ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต
  • ประธานกรรมการ บริษัท อาร์ เอส ยู เฮลท์แคร์ จำกัด
  • ประธานกรรมการ บริษัท บริติช อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น