เสริม ณ นคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พลเอก เสริม ณ นคร
เสริม ณ นคร

ดำรงตำแหน่ง
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
สมัยก่อนหน้า นายสมภพ โหตระกิตย์
สมัยถัดไป พล.อ.เล็ก แนวมาลี

ดำรงตำแหน่ง
3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526
สมัยก่อนหน้า พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร
สมัยถัดไป พ.อ. (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์

ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 – 30 กันยายน พ.ศ. 2524
สมัยก่อนหน้า พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
สมัยถัดไป พล.อ.สายหยุด เกิดผล

ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 30 กันยายน พ.ศ. 2519
สมัยก่อนหน้า พล.อ.บุญชัย บำรุงพงศ์
สมัยถัดไป พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

เกิด 2 มีนาคม พ.ศ. 2463
จังหวัดพระนคร
ถึงแก่อสัญกรรม 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (89 ปี)
โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
สมรสกับ คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร
ศาสนา ศาสนาพุทธ

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและอดีตรองนายกรัฐมนตรี เจ้าของฉายา "นายพลแก้มแดง"

พล.อ.เสริม ณ นคร เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2463 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันโทชุบ และนางละมุน ณ นคร จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เข้ารับราชการครั้งแรกเป็นผู้บังคับหมวดกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 จากนั้นจึงเลื่อนขั้นและยศตามลำดับ อาทิ เสนาธิการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยได้รับพระราชทานยศ พลเรือเอก และพลอากาศเอก นอกจากนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิกุลโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นองครักษ์เวร และตุลาการศาลทหารสูงสุด ทั้งยังเคยปฏิบัติราชการพิเศษ อาทิ ราชการสนามกรณีพิพาทอินโดจีน, สงครามมหาเอเชียบูรพา, สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม จนได้รับเหรียญเดอะลีเจียนออฟเมอริท จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นระหว่างดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม

พล.อ.เสริม นับได้ว่าเป็นผู้พัฒนากองทัพบกทุกด้านในพื้นฐานนโยบายแห่งชาติ โดยเสริมสร้างกำลังรบให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดจัดตั้งกองกำลังทหารพรานเป็นกำลังสำรองเพื่อนำไปใช้ในการต่อสู้ป้องกันการก่อการร้าย

ในด้านการเมืองเคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ (คณะรัฐบาลชุดที่ 41) และในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (คณะรัฐมนตรีชุดที่ 42) อีกทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520, เหตุการณ์กบฏเมษาฮาวาย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน-3 เมษายน พ.ศ. 2524 และเหตุการณ์กบฏ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยเฉพาะในเหตุการณ์กบฏ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ได้ถูกคณะผู้ก่อการประกาศชื่อให้เป็นหัวหน้าด้วย

ด้านครอบครัว สมรสกับ คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร มีธิดา 2 คน

พล.อ.เสริม ณ นคร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เนื่องจากติดเชื้อในกระแสโลหิตจากโรคมะเร็ง สิริอายุได้ 89 ปี มีการสวดพระอภิธรรมศพที่วัดมกุฏกษัตริยาราม และงานพระราชทานเพลิงศพมีขึ้น ณ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553 โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธี

[แก้] อ้างอิง

  • ข่าวในพระราชสำนัก ประจำวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553