สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 (ปรับออกจากตำแหน่ง)
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (ยุบสภา)
นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร

เกิด 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496
สังกัดพรรค พรรคไทยรักไทย
สมรสกับ อนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์

ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496) อดีตรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลด้านเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหลายสมัย

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบการศึกษา เศรษฐศาสตร์การคลัง และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต่อปริญญาโท MBA สาขาบริหารการเงิน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ เน้นการจัดการด้านการตลาด ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ (สกุลเดิม "ภิงคารวัฒน์")

[แก้] ประวัติการทำงาน

[แก้] ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง

[แก้] เกียรติประวัติ

  • นักวิชาการและนักปฏิบัติทางด้านนโยบายและกลยุทธ์ เจ้าของตำราที่มีชื่อเสียงและขายดีในระดับโลก " The New Competition ", "Exporting Behavior of Firms" และล่าสุด เจ้าของตำรา "The Marketing of Nations"

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้] การเมืองและชีวิตหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้ชื่อว่าเป็นขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นโยบายประชานิยมหรือนโยบายเศรษฐกิจหลายอย่างก็มาจากแนวความคิดของ ดร.สมคิดเอง ในระหว่างการทำงานการเมืองได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีภาพลักษณ์ดี เพราะเก่งกาจ มีความเชี่ยวชาญสามารถคนหนึ่ง และได้ชื่อว่าบางครั้งก็ไม่ทำตามนโยบายหรือแนวทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำหนดไว้เสมอไป

หลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ทำการลาออกจากการเป็น สมาชิกพรรคไทยรักไทย หลังจากนั้นได้เป็นหนึ่งในตัวแทนกลุ่มมัชฌิมา หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้เป็นผู้ทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับต่างชาติโดยเฉพาะไทยกับญี่ปุ่น แต่เป็นได้เพียงไม่กี่วันก็ลาออกไป เนื่องจากแรงกดดันจากหลายฝ่าย ในเหตุการณ์ยุบพรรคไทยรักไทย ดร.สมคิดเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองด้วย จากนั้นจึงร่วมในการก่อตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพรรค

ล่าสุดร่วมก่อตั้งพรรคภูมิใจไทย

[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น