ชวลิต ยงใจยุทธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ชวลิต ยงใจยุทธ

ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
สมัยก่อนหน้า บรรหาร ศิลปอาชา
สมัยถัดไป ชวน หลีกภัย

เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 (อายุ 78 ปี)
จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
สังกัดพรรค พรรคเพื่อไทย
พรรคไทยรักไทย
พรรคความหวังใหม่
สมรสกับ คุณหญิงพันธุ์เครือ (ลิมปภมร) ยงใจยุทธ
ศาสนา พุทธ
การรับราชการทหาร
สังกัด กองทัพไทย
เหล่าทัพ กองทัพบก
ยศสูงสุด พลเอก

พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 — ) เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 22 ของไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และอดีตผู้บัญชาการทหารบก

เป็นเจ้าของสมญา "ขงเบ้งแห่งกองทัพบก" เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ขณะดำรงตำแหน่งทางทหาร เป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้า พรรคความหวังใหม่ คนแรก และเป็นอดีต ส.ส.หลายสมัย มีคะแนนเสียงหนาแน่นในจังหวัดนครพนม

สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "บิ๊กจิ๋ว" และในพื้นที่ภาคอีสาน เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "พ่อใหญ่จิ๋ว" นอกจากนี้แล้วยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า "จิ๋วหวานเจี๊ยบ" จากการมีบุคคลิกพูดจาอ่อนนิ่ม นุ่มนวล

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เกิดวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ที่ จังหวัดนนทบุรีเป็นบุตรของ ร้อยเอกชั้น ยงใจยุทธ และนางสุรีย์ศรี (ละมุน) ยงใจยุทธ โดยที่นามสกุลยงใจยุทธนั้น สืบเชื้อสายมาจากเชื้อพระวงศ์ของลาว สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2496 และ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2507

พล.อ.ชวลิต สมรสกับ คุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ (ลิมปภมร) มีบุตร 3 คน คือ นายคฤกพล ยงใจยุทธ นางอรพิณ นพวงศ์ (ถึงแก่กรรม) และ พันตำรวจตรีหญิงศรีสุภางค์ โสมกุล

ประวัติการศึกษา และวุฒิกิตติมศักดิ์

การรับราชการ พล.อ.ชวลิต รับราชการทหารเหล่าสื่อสาร เป็นคนแรกๆ ที่แต่งตำราการซ่อมโทรทัศน์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2490-95 เคยเป็นผู้บัญชาการทหารบก ลำดับที่ 25 (27 พ.ค. 2529 - 28 มี.ค. 2533) และรักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด (พ.ศ. 2530 - 28 มี.ค. 2533)

การดำรงตำแหน่งทางราชการ

  • พ.ศ. 2503 : ผู้บังคับกองร้อยซ่อมบำรุงเครื่องสื่อสารเขตหลัง กรมการทหารสื่อสาร
  • พ.ศ. 2510 : นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กรมการทหารอาสาสมัคร
  • พ.ศ. 2511 : นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกรม กรมยุทธการทหารบก
  • พ.ศ. 2514 : หัวหน้ากอง กรมยุทธการทหารบก
  • พ.ศ. 2522 : นายทหารคนสนิทรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และประจำกองบัญชาการกองทัพบก
  • พ.ศ. 2524 : เจ้ากรมยุทธการทหารบก
  • พ.ศ. 2525 : ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ
  • พ.ศ. 2526 : รองเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2528 : เสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2529 : ผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ศ. 2530 : ผู้บัญชาการทหารบก และ รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด

[แก้] การเมือง

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วเข้าสู่การเมือง ก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 พล.อ.ชวลิต เป็นหนึ่งในผู้ที่ปราศรัยขับไล่ พลเอกสุจินดา คราประยูร ที่สนามหลวง เป็นคนแรกด้วย การเมืองหลังจากนั้น พรรคความหวังใหม่กลายเป็นพรรคที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดในภาคอีสาน ก่อนที่จะย้ายพรรคมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2544 และ พล.อ.ชวลิต ก็รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรสมัยแรกด้วย

หลังเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 พล.อ.ชวลิต พยายามจะเป็นผู้เสนอตัวไกล่เกลี่ยทำความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้ที่ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ "สมานฉันท์" กัน โดยเรียกบทบาทตัวเองว่า "โซ่ข้อกลาง" รวมทั้งมีการข่าวว่าอาจจะเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน แต่แล้วตำแหน่งนี้ในที่สุดก็ตกเป็นของ นายสมัคร สุนทรเวช

ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.อ.ชวลิตได้เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่เจรจากับฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยโดยเฉพาะ แต่หลังจากรับตำแหน่งเพียงไม่กี่วัน ก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่หน้าอาคารรัฐสภา พล.อ.ชวลิตก็ขอลาออกทันที

ในกลางปี พ.ศ. 2552 หลังจากถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดในกรณีเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม แล้วนั้น พล.อ.ชวลิตก็ได้สมัครเข้าสู่พรรคเพื่อไทย โดยให้เหตุผลว่าต้องการเข้ามาเพื่อสมานฉันท์ โดยไม่ต้องการเป็นคู่ขัดแย้งกับใคร[1] และหลังจากนั้นทางพรรคเพื่อไทยก็ได้มีมติให้ พล.อ.ชวลิตดำรงตำแหน่งประธานพรรค

ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง :

  • 23 มีนาคม 2527 : สมาชิกวุฒิสภา
  • 22 เมษายน 2530 : สมาชิกวุฒิสภา
  • 30 มีนาคม 2533 : รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลชาติชาย ครม.คณะที่ 45)
  • 22 มีนาคม 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี
  • 15 พฤษภาคม 2535 : ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • 13 กันยายน 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี
  • 29 กันยายน 2535 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐบาลชวน ครม.คณะที่ 50)
  • 14 กรกฎาคม 2537 : รองนายกรัฐมนตรี (รัฐบาลชวน ครม.คณะที่ 50)
  • 2 กรกฎาคม 2538 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครพนม
  • 18 กรกฎาคม 2538 : รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลบรรหาร ครม.คณะที่ 51)
  • 17 พฤศจิกายน 2539 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจ ังหวัดนครพนม
  • 25 พฤศจิกายน 2539 : นายกรัฐมนตรี
  • 29 พฤศจิกายน 2539 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลชวลิต ครม.คณะที่ 52)
  • 10 เมษายน 2540 : ประธานคณะผู้บริหารความหวังใหม่
  • 26 พฤศจิกายน 2540 : ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • 2 กันยายน 2541 : ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • 12 พฤษภาคม 2542 : ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
  • 17 กุมภาพันธ์ 2544 : รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รัฐบาลทักษิณ ครม.คณะที่ 54)
  • 24 กันยายน 2551 - 7 ตุลาคม 2551 : รองนายกรัฐมนตรี ((รัฐบาลสมชาย ครม.คณะที่ 58)
  • 27 ตุลาคม 2552 - ปัจจุบัน : ประธานพรรคเพื่อไทย[2]

[แก้] วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540

รัฐบาลของ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐบาลที่มีส่วนรับผิดชอบต่อวิกฤตการณ์ทางการเงิน เมื่อปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) ที่ทำให้ประเทศไทยล้มละลาย และ ขยายผลไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยรอบ ด้วยการทำเงินคงคลังทั้งหมดของประเทศเข้าไปอุ้มค่าเงินบาท ซึ่งถูกปล่อยขายในขณะนั้น ธุรกิจของเหล่าแกนหลักของรัฐบาลชุดนี้ ยังถูกตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ได้รับผลกระทบต่อวิกฤตกรณ์แต่อย่างใด ในขณะที่ธุรกิจของบุคคลโดยทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง กับคนในรัฐบาลนั้น ได้รับผลกระทบถึงขั้นล้มละลายเป็นจำนวนมาก ทั่วประเทศ

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญตรา

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

สมัยก่อนหน้า ชวลิต ยงใจยุทธ สมัยถัดไป
บรรหาร ศิลปอาชา 2leftarrow.png นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
(25 พฤศจิกายน พ.ศ. 25399 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
2rightarrow.png ชวน หลีกภัย
ภาษาอื่น