เอเชียนเกมส์ 1998

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13
13th asiad.png

Friendship beyond Frontiers
มิตรภาพไร้พรมแดน

เมืองเจ้าภาพ Flag of ไทย กรุงเทพมหานคร,ไทย
จำนวนประเทศ 41
จำนวนนักกีฬา
เจ้าหน้าที่
อาสาสมัคร
สื่อมวลชน
ชนิดกีฬา 36 ชนิด
พิธีเปิด 6 ธันวาคม พ.ศ. 2541
พิธีปิด 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541
ประธานพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กล่าวปฏิญาณตน
นักกีฬา
ผู้ตัดสิน


ผู้จุดคบเพลิง
สนามกีฬาหลัก สนามราชมังคลากีฬาสถาน

เอเชียนเกมส์ 1998 เป็นการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 41 ประเทศ และมีกีฬาแข่งขันทั้งหมด 36 ชนิด โดยสนามแข่งขันที่ใช้เป็นหลัก คือ ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ศูนย์กีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย และ ศูนย์กีฬาเมืองทองธานี

มาสคอตของการแข่งขันครั้งนี้ คือ ช้าง ไชโย และมีคำขวัญว่า Friendship beyond Frontiers หรือ มิตรภาพไร้พรมแดน


เนื้อหา

[แก้] ลำดับความเป็นมา

คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 23 และ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 มีมติอนุมัติในหลักการให้กำหนดเป็นนโยบายบันได 3 ขั้น สู่การพัฒนากีฬาของชาติ โดยให้ประเทศไทยรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา 3 ระดับ ได้แก่ ซีเกมส์ เอชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์ และมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทย เสนอตัวรับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ต่อสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (โอซีเอ)

หลังจากที่ตณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในการที่ประเทศไทยขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 แล้ว คณะทำงานทุกท่านช่วยกันอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันก็ได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประแทศไทยฯ การกีฬาแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้มีการประชุมวางแผนมาเป็นระยะ ๆ และได้จัดทำเอกสารเดผยแพร่ เพื่อนำไปมอบให้ผู้แทนชาติต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมและที่สำคัญคณะทำงานได้จัดทำวีดิทัศน์ที่แสดงถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของประเทศไทย เพื่อประกอบการบรรยายเสนอขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13

คณะกรรมการบริหารสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ได้ประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2533 ณ โรงแรมปักกิ่ง พาเลซทาวเวอร์ และมีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้บรรจุวาระการประชุมเลือกประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ในการประชุมใหญ่สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียในวันรุ่งขึ้น โดยมีประเทศที่เสนอขอสมัครเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งนี้รวม 3 ประเทศ คือ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย, กรุงไทเป ไต้หวัน

การประชุมใหญ่สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 37 ประเทศ ได้ประชุมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2533 ณ โรงแรมปักกิ่ง โดยให้ผู้แทนของประเทศที่เสนอขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันบรรยายเสนอผลงานการเตรียมตัวรับเป็นเจ้าภาพ (Presentation) ตามลำดับพร้อมทั้งตอบข้อซักถามของผู้แทนประเทศสมาชิกต่าง ๆ จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้มีการลงคะแนนลับเพื่อเลือกประเทศเจ้าภาพต่อไป

ผลการลงคะแนนเลือกประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ปรากฏดังนี้ [1]

  • กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ได้ 20 คะแนน
  • กรุงไทเป ไต้หวัน ได้ 10 คะแนน
  • กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ได้ 7 คะแนน

ที่ประชุมจึงมีมติให้ประเทสไทยเป็นเจ้าถาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ต่อจากเมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ได้จัดกีฬาเอเชี่ยนเกมส์มากที่สุดถึง 4 ครั้ง คือ เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ,เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 6 ,เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 และเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13

รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการอำนวยการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 อย่างเป็นทางการเพื่อเตรียมการรองรับการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ขึ้นในปี พ.ศ. 2536 โดยมี นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมกับได้แต่งตั้งคณะกรรมการออกเป็น 6 สาขา เพื่อดำเนินงานเร่งด่วนในการก่อสร้างสนามรวมทั้งหมู่บ้านนักกีฬาเพื่อรองรับการจัดการแข่งขัน ได้แก่

  • คณะกรรมการดำเนินงานแข่งขัน
  • สำนักเลขาธิการ
  • คณะกรรมการจัดเตรียมสถานที่แข่งขัน
  • คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ
  • คณะกรรมการสิทธิประโยชน์
  • คณะกรรมการประชาสัมพันธ์

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของคณะกรรมการดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ขึ้นใหม่ เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมี นายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดการแข่งขันฯ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ เป็น 9 ฝ่าย ภายใต้การดูแลของสำนักเลขาธิการ ได้แก่

  • ฝ่ายเทคนิคกีฬา
  • ฝ่ายสถานที่แข่งขันและที่พัก
  • ฝ่ายอำนวยการ
  • ฝ่ายการเงินและสิทธิประโยชน์
  • ฝ่ายพิธีการและการแสดง
  • ฝ่ายความปลอดภัยและระบบจราจร
  • ฝ่ายประชาสัมพันธ์
  • ฝ่ายเทคโนโลยี
  • ฝ่ายกิจกรรม

[แก้] แนวความคิดหลัก

[แก้] คำขวัญและสัญลักษณ์ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13

[แก้] สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ

ดูบทความหลักที่ สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13

สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ได้มาจากการประกวดที่จัดโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการอำนวยการแข่งขันฯ ซึ่งมีภาพส่งเข้าประกวดจากทั่วประเทศทั้งหมด 181 ภาพ ภาพที่ได้รับคัดเลือกเป็นผลงานของ นางสาวตรึงใจ ตั้งสกุล นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยนำเอาตัวอักษร "A" ในภาษาอังกฤษ ที่หมายถึงทวีปเอเชียมาประยุกต์เป็นรูปองค์พระมหาเจย์ดีสีทองที่ใช้เก็บพระบรมสารีริกธาตุ สิ่งสำคัญสูงสุดของศาสนาพุทธ ซึ่งอักษรตัว "A" อยู่ภายใต้หลังคาทรงไทย มีความบ่งบอกถึงชาวเอเชีย (Asia) และนักกีฬา (Athlete) ที่มาร่วมการแข่งขันทุกชาติ จะได้รับความอบอุ่นด้วยมิตรไมตรีของประเทศไทยในฐานะเจ้าบ้าน สำหรับรูปดวงอาทิตย์สีแดงเปล่งรัศมีเป็นเปลว 16 แฉก ที่อยู่เหนือสัญลักษณ์ฯ นั้น คือ สัญลักษณ์ของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ที่หมายถึง ความรอบรู้ พลังของนักกีฬาที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด

[แก้] สัญลักษณ์ Bangkok 1998

สัญลักษณ์ Bangkok 1998 เป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักทางกราฟิกที่มีบทบาทอย่างสูงต่อการกำหนดเอกลักษณ์ของการแข่งขันที่สาขาศิลปกรรมและการออกแบบเพิ่มเติมขึ้นมาในระบบ เพื่อช่วยให้การสร้างภาพลักษณ์ของการแข่งขัน มีความเด่นชัด เป็นสากล มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและเพิ่มสุนทรียภาพ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประโยชน์ใช้สอยในด้านของการประชาสัมพันธ์ชื่อของเมืองที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันให้เป็นที่ปรากฏ

สัญลักษณ์นี้มีการนำไปใช้ในลักษณะต่างๆ ค่อนข้างมาก เช่น การตกแต่งศูนย์กีฬาและสนามแข่งขัน การจัดทำวัสดุสิ่งพิมพ์เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ เอกสารที่ใช้ในการแข่งขัน เป็นต้น

[แก้] มิตรภาพไร้พรมแดน

"มิตรภาพไร้พรมแดน" หรือ "Friendship Beyond Frontiers" คำขวัญประจำการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 เป็นวลีที่สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ที่สนับสนุนและส่งเสริม "ปรัชญาของการแข่งขันกีฬา" อย่างชัดเจนที่สุด หัวใจของปรัชญากีฬา คือ การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รู้รักสามัคคี มีน้ำใจ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดภาพรวมของมิตรภาพ ซึ่งจเไม่มีอุปสรรคใดๆ มาขวางกั้น ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ต่างกัน ฯลฯ เมื่อทุกคนเข้าสู่เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ทุกคนจะถูกหล่อหลอมให้เข้าสู่แนวร่วมเดียวกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในที่สุด โดยคำขวัญนี้เป็นแนวความคิดของ นายสุขวิช รังสิตพล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ

ช้างไชโย

[แก้] ช้างไชโย

หลังจากประเทศสมาชิกสภาโอลิมปิกแห่งเอเซีย 43 ชาติ มีมติให้เกียรติประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ จึงมีมติเห็นชอบให้ใช้ช้าง เป็นมาสคอต หรือ สัตว์นำโชคของการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 เนื่องจากช้างเป็นสัญลักษณ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทยมาแต่โบราณ ทั้งยังเป็นสัตว์ที่แข็งแรง มีความเฉลียวฉลาด

สำหรับผู้ออกแบบนั้น สำนักเลขาธิการได้มอบหมายให้นายอรรณพ กิตติชัยวรรณ หรือ แอ้ด มติชน นักวาดการ์ตูนชื่อดังของหนังสือพิมพ์มติชน เป็นผู้วาดภาพช้าง และเพื่อให้เกิดภาพสัญลักษณ์ที่สมบูรณ์พร้อมกับประชาสัมพันธ์ให้ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดให้มีการประกวดตั้งชื่อช้างนำโชคดังกล่าว ปรากฏว่ามีผู้สนใจจากทั่วประเทศ 538 คน ตั้งชื่ส่งเข้าประกวด และมีการตัดสินในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดยมี นายปัจจัย บุนนาค เป็นประธานผู้ตัดสิน ผลการตัดสินให้ใช้ชื่อช้างนำโชคว่า "ช้างไชโย" ซึงเมื่อรวมกันแล้วจึงมีความหมายถึงความแข็งแรง ความฉลาด ความสุขและความสนุกสนาน

[แก้] ลายจักสาน

ลายจักสาน เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 โดยกำหนดให้ใช้ประกอบในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ หรือโฆษณาการแข่งขัน โดยสื่อความหมายถึงความเป็นเอกภาพในดินแดนเอเชียและสะท้อนคุณค่าถึงมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ โดยไม่เจาะจงว่าเป็นประเทศใดเพราะลายจักสานเป็นศิลปะทางวัฒนธรรมอันเก่าแกีของประเทศส่วนใหญ่ในทวีปเอเชีย นอกจากนี้ ลายจักสานยังถือเป็นสัญลักษณ์ของงานหัตถศิลป์ของชนชาติตะวันออกที่สืบสานกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานนับแต่อดีตกาล ลวดลายของเส้นสายที่สอดประสานกันนั้น เป็นวิถีที่คุ้นเคยและอบอุ่นของชาวเอเชีย สื่อความหมายถึงคำกล่าวต้อนรับชนทุกชาติ และพลังแห่งเอเชียในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ทั้งยังมีนัยสำคัญ คือ เป็นการสอดประสาน ถักทอหรือรวมเข้าด้วยกัน สื่อความหมายถึงความร่วมมือกัน ความสมัครสมาน ความสามัคคี

[แก้] สัญลักษณ์กีฬา

สัญลักษณ์กีฬา เป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักทางกราฟิกที่มีบทบาทอย่างสูงต่อการกำหนดเอกลักษณ์ของการแข่งขันที่สาขาศิลปกรรมและการออกแบบเพิ่มเติมขึ้นมาในระบบ เพื่อช่วยให้การสร้างภาพลักษณ์ของการแข่งขันมีความเด่นชัด เป็นสากล มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน และเพิ่มสุนทรียภาพแก่การแข่งขัน สัญลักษณ์ที่ออกแบบในครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 42 ชนิดกีฬา โดยแบ่งเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มชนิดกีฬาหลักจำนวน 36 ชนิด
  • กลุ่มประเภทกีฬาในกลุ่มชนิดกีฬาหลักจำนวน 4 ประเภทกีฬา
  • กลุ่มชนิดกีฬาสาธิตจำนวน 2 ชนิดกีฬา

[แก้] พิธีเปิด - ปิดการแข่งขัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดราชมังคลากีฬาสถานและพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13

การจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 คณะกรรมการได้กำหนดกรอบแนวคิดในการดำเนินการจัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขัน โดยต้องแสดงออกถึงการถ่ายทอดปรัชญา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นไทย การดำเนินวิถีชีวิตของชนชาติไทย วิวัฒนาการสู่อนาคตของคนไทย โดยบ่งบอกถึงการแสดงออกซึ่งความเป็นชาวเอเชีย ความเป็นสากลทางการกีฬา โดยให้สอดคล้องกับคำขวัญของการแข่งขันครั้งนี้ คือ "มิตรภาพไร้พรมแดน Friendship Beyond Frontiers" อีกทั้งดำเนินการให้เป็นไปตามธรรมนูญของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) ภายในเวลาที่กำหนดไว้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง

คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้คัดเลือก บริษัท เจเอสแอล จำกัด เป็นผู้ดำเนินการจัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขัน โดยพิจารณาจากการนำเสนอความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่ ความเป็นสากลในรูปแบบการแสดง การใช้เทคนิคพิเศษ แสง สี เสียง ศักยภาพของบริษัท ตลอดจนแม่บทในการดำเนินงาน

จุดประสงค์และประเด็นหลักของการจัดพิธีเปิด-ปิดครั้งนี้ คือ แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของเอเชีย ถ่ายทอดความเป็นไทย ความเป็นสากลทางการกีฬา ศักยภาพและมาตรฐานในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติของประเทศไทย โดยจัดให้มีความยิ่งใหญ่ตระการตา โดยเน้นความประหยัด และประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้สอดคล้องต่อปีแห่งการท่องเที่ยว Amazing Thailand

ต่อมา คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้มีมติให้ บริษัท เจเอสแอล จำกัด ปรับลดเวลาในการจัดแสดงพิธีเปิดและพิธีปิดให้กระชับลงกว่าเดิม พิธีเปิดจากเดิมใช้เวลา 3 ชั่วโมงให้คงเหลือ 2 ชั่วโมงครึ่ง และพิธีปิดจากเดิมใช้เวลา 3 ชัวโมงครึ่ง ให้คงเหลือ 2 ชั่วโมง เพื่อให้มีช่วงเวลาเหมาะสมเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดและทอดพระเนตรการแสดง ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน

ในครั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพได้ประมวลภาพหมู่ประเทศสมาชิกมาเป็นสัญลักษณ์ อันจะเสนอให้โลกรับรู้ได้ถึง "SPIRIT OF ASIA" หรือ "จิตวิญญาณแห่งบูรพา" โดยทำให้ภาพกระจ่างชัด ด้วยการแบ่งออกเป็น 4 ช่วง และมีความหมายโดยนัยอีกหนึ่งระดับ คือ

[แก้] พิธีเปิด

พิธีเปิดราชมังคลากีฬาสถานและพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 จัดขึ้นในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ราชมังคลากีฬาสถาน โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี ในการนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และ หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล โดยเสด็จด้วย

[แก้] กำหนดการ

ชุดการแสดงในพิธีเปิด เวลา
รุ่งอรุโณทัย 7 นาที
สหพันธ์ไมตรี 8 นาที
สวัสดีไชโย 9 นาที
พิธีการ OCA 1 ชั่วโมง 20 นาที
การแสดงเฉลิมพระเกียรติ 5 นาที
ทวยเทพปิติอำนวยชัย 13 นาที
จิตวิญญาณบูรพา 11 นาที
คีตภราดร 12 นาที
พลุและดอกไม้ไฟ 5 นาที
รวมเวลาการแสดง 2 ชั่วโมง 30 นาที

[แก้] การแสดงก่อนพิธีเปิด

[แก้] รุ่งอรุโณทัย-ไมตรี -สวัสดีไชโย

[แก้] พิธีการ

[แก้] ทวยเทพอำนวยชัย-จิตบูรพา-ภราดร

[แก้] พิธีปิด

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เป็นองค์ประธานในพิธีปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13

พิธีปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 จัดขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ราชมังคลากีฬาสถาน โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เป็นองค์ประธานในพิธี ในการนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และ หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล โดยเสด็จด้วย

[แก้] กีฬา

[แก้] ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน

(เจ้าภาพ)


[แก้] สรุปเหรียญการแข่งขัน

อันดับ ประเทศ ภาพเหรียญทอง ภาพเหรียญเงิน ภาพเหรียญทองแดง รวม
1 Flag of the People's Republic of China.svg จีน 129 78 67 274
2 Flag of South Korea.svg เกาหลีใต้ 65 46 53 164
3 Flag of Japan.svg ญี่ปุ่น 52 61 68 181
4 Flag of Thailand.svg ไทย 24 26 40 90
5 Flag of Kazakhstan.svg คาซัคสถาน 24 24 30 79
6 Flag of Chinese Taipei for Olympic games.svg ไต้หวัน 19 17 41 77
7 Flag of Iran.svg อิหร่าน 10 11 13 34
8 Flag of North Korea.svg เกาหลีเหนือ 7 14 12 33
9 Flag of India.svg อินเดีย 7 11 17 35
10 Flag of Uzbekistan.svg อุซเบกิสถาน 6 22 12 40
11 Flag of Indonesia.svg อินโดนีเซีย 6 10 11 27
12 Flag of Malaysia.svg มาเลเซีย 5 10 14 29
13 Flag of Hong Kong.svg ฮ่องกง 5 6 6 17
14 Flag of Kuwait.svg คูเวต 4 6 4 14
15 Flag of Sri Lanka.svg ศรีลังกา 3 0 3 6
16 Flag of Pakistan.svg ปากีสถาน 2 4 9 15
17 Flag of Singapore.svg สิงคโปร์ 2 3 9 14
18 Flag of Qatar.svg กาตาร์ 2 3 3 8
19 Flag of Mongolia.svg มองโกเลีย 2 2 10 14
20 Flag of Myanmar.svg พม่า 1 6 4 11
21 Flag of the Philippines.svg ฟิลิปปินส์ 1 5 12 18
22 Flag of Vietnam.svg เวียดนาม 1 5 11 17
23 Flag of Turkmenistan.svg เติร์กเมนิสถาน 1 0 1 2
24 Flag of Kyrgyzstan.svg คีร์กีซสถาน 0 3 3 6
25 Flag of Jordan.svg จอร์แดน 0 3 2 5
26 Flag of Syria.svg ซีเรีย 0 2 4 6
27 Flag of Nepal.svg เนปาล 0 1 3 4
28 Flag of the United Arab Emirates.svg สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 0 1 1 2
29 Flag of Macau.svg มาเก๊า 0 1 0 1
30 Flag of Bangladesh.svg บังกลาเทศ 0 0 1 1
Flag of Brunei.svg บรูไน 0 0 1 1
Flag of Oman.svg โอมาน 0 0 1 1
Flag of Laos.svg ลาว 0 0 1 1
รวม 379 381 467 1227

[แก้] สรุปเหรียญที่นักกีฬาไทยได้รับในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13

ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ครั้งนี้ นักกีฬาไทยสามารถทำผลงานได้ทั้งหมด 90 เหรียญ แบ่งเป็น

  • เหรียญทอง จำนวน 24 เหรียญ จาก 12 ชนิดกีฬา ได้แก่ โบว์ลิ่ง มวยสากล จักรยาน ขี่ม้า ยิมนาสติก เซปักตะกร้อ ตะกร้อวง ยิงปืน ว่ายน้ำ เทนนิส วอลเลย์บอล และเรือใบ
  • เหรียญเงิน จำนวน 26 เหรียญ จาก 14 ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา แบดมินตัน สนุกเกอร์ บิลเลียด โบว์ลิ่ง จักรยาน ขี่ม้า คาราเต้โด ยิงปืน ว่ายน้ำ เทนนิส เทควันโด วูซู และเรือใบ
  • เหรียญทองแดง จำนวน 40 เหรียญ จาก 20 ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา แบดมินตัน สนุกเกอร์ บิลเลียด มวยสากล จักรยาน กระโดดน้ำ ขี่ม้า ยูโด คาราเต้โด เรือพาย รักบี้ฟุตบอล เซปักตะกร้อ ยิงปืน ยิงเป้าบิน ว่ายน้ำ เทควันโด ยกน้ำหนัก วูซู และเรือใบ

[แก้] เกร็ดการแข่งขัน

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ คณะกรรมการดำเนินการจัดการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13. รายงานการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร:

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

สมัยก่อนหน้า เอเชียนเกมส์ 1998 สมัยถัดไป
เอเชียนเกมส์ 1994
(ฮิโรชิมา, ประเทศญี่ปุ่น)
2leftarrow.png Asian Games logo.svg
การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์
(6 - 20 ธันวาคม ค.ศ. 1998)
2rightarrow.png เอเชียนเกมส์ 2002
(ปูซาน, ประเทศเกาหลีใต้)