พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ

พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ (พ.ศ. ๒๒๘๕ - พ.ศ. ๒๓๕๘) เป็น พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ อาณาจักรล้านนา พระองค์แรกแห่ง "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" ตลอดรัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาแห่งการศึกสงครามและสร้างบ้านแปงเมือง ทรงเป็นกษัตริย์ชาตินักรบได้ทรงร่วมกับพระอนุชาทั้ง ๖ และกองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กอบกู้อิสรภาพแผ่นดินล้านนาออกจากพม่า และนำล้านนาเข้ามาเป็นประเทศราชแห่งสยาม

ด้วยพระปรีชาสามารถและพระเดชานุภาพในการรบ ทรงสามารถขยายขอบขัณฑสีมาแผ่นดินล้านนาออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล กอปรกับความจงรักภักดีที่ทรงถวายต่อพระบรมราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามขึ้นเป็น "พระเจ้าบรมราชานรบดีศรีสุริยวงศ์ องค์อินทรสุรศักดิ์ สมญามหาขัตติยะราช ชาติราไชยมไหสวรรค์ เจ้าขอบขันธเสมาพระนครพิงค์เชียงใหม่" เป็น พระเจ้าประเทศราช ปกครอง ๕๗ หัวเมืองฝ่ายเหนือ

[แก้] พระราชประวัติ

พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ หรือ พระเจ้ากาวิละ มีพระนามเดิมว่า เจ้ากาวิละ ทรงพระราชสมภพเมื่อจุลศักราช ๑๑๐๔ ปีจอ จัตวาศก (พ.ศ. ๒๒๘๕) ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยา พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว เจ้าผู้ครองนครลำปาง กับ แม่เจ้าจันทาราชเทวี และเป็นราชนัดดา (หลานปู่) พระองค์แรกใน พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม กับแม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมวงศ์ "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)"

พระเจ้ากาวิละ มีพระอนุชาและพระขนิษฐารวม ๑๐ พระองค์ (หญิง ๓ ชาย ๗) (เจ้าชายทั้ง ๗ พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้ทรงมีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

พระเจ้ากาวิละ ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. ๒๓๕๘ เดือนยี่เหนือ แรม ๔ ค่ำ วันพุธ ยามแตรบอกเวลาเข้าสู่เที่ยงคืน ทรงปกครองนครเชียงใหม่และอาณาจักรลานนา ๕๗ หัวเมือง เป็นระยะเวลานาน ๓๒ ปี สิริพระชนมายุได้ ๗๔ พรรษา

[แก้] ราชโอรส ราชธิดา

พระเจ้ากาวิละ มีพระราชโอรสและราชธิดา รวม ๕ พระองค์ อยู่ในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

[แก้] อ้างอิง

  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ ๒) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, ๒๕๓๘.
  • สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ) . เชียงใหม่: มิ่งเมือง, ๒๕๔๐.
  • ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง) .
  • เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๙.
  • คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ ๑๐๐ ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช ๒๓๘๗ - ๒๔๕๖. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., ๒๕๔๖
  • นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, ๒๕๓๙.
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1]
รัชสมัยก่อนหน้า พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ รัชสมัยถัดไป
สมเด็จเจ้าฟ้าชายแก้ว 2leftarrow.png เจ้าผู้ครองนครลำปาง
(พ.ศ. 2317 - พ.ศ. 2325)
2rightarrow.png สมเด็จพระเจ้าคำโสม
พระยาหลวงวชิรปราการ
(พระยาจ่าบ้าน (บุญมา))
2leftarrow.png เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
(พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2356)
2rightarrow.png พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา
ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์
ภาษาอื่น