คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations Security Council; UNSC) เป็นหน่วยงานหนึ่งใน 6 หน่วยงานหลักของสหประชาชาติ

เนื้อหา

[แก้] สมาชิก

คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ

ระเบียบที่ตั้งไว้กำหนดให้ที่ประชุมสมัชชาเลือกสมาชิกหมุนเวียน 10 ประเทศ เข้าดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี แต่จะเลือกปีละ1 ครั้ง กล่าวคือทุกปีต้องมีการเลือกสมาชิกใหม่เข้ามา 5 ประเทศ และวิธีการเลือกประเทศสมาชิกก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดทางภูมิศาสตร์ โดยบรรดา 10 ประเทศนั้น ต้องมีประเทศที่มาจากทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และตะวันออกกลาง 5 ประเทศ ส่วนอีก 2 ประเทศเป็นชาติตะวันตก 2 ประเทศจากอเมริกาใต้ และอีก 1 ประเทศจากยุโรป

สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติใน พ.ศ. 2552 ได้แก่ บูร์กินาฟาโซ คอสตาริกา โครเอเชีย ยูกันดา ลิเบีย ออสเตรีย ตุรกี เม็กซิโก ญี่ปุ่น และเวียดนาม[1] ในส่วนของประเทศไทยนั้นเคยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2528 - 2529[2]

[แก้] บทบาทและหน้าที่

  1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ
  2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ
  3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน
  4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ
  5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร
  6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน
  7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน
  8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
  9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์
  10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก
  11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2009 (อังกฤษ)
  2. ^ สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ)

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น