โรมันคาทอลิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก นิกายโรมันคาทอลิก)

ส่วนหนึ่งของ
คริสต์ศาสนา


Gold Christian Cross no Red.svg
ประวัติคริสต์ศาสนา
พระเจ้า
พระยาห์เวห์
ศาสดา
พระเยซู
ความเชื่อและการปฏิบัติ
ปรัชญา · เทวดา · พิธีสำคัญ
คัมภีร์และหนังสือ
ไบเบิล · พันธสัญญาเดิม ·
พันธสัญญาใหม่ · พระวรสาร
นิกาย
โรมันคาทอลิก ·
อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ ·
โอเรียนทัลออร์โธด็อกซ์ ·
อังกลิคัน · โปรเตสแตนต์ ·
คริสต์ศาสนปฏิรูป
สังคมคริสต์ศาสนา
เมือง · คริสตกาล · คริสต์ศักราช ·
สถาปัตยกรรม · ศิลปะ · บุคคล ·
นักบุญ
ดูเพิ่มเติม
กฏบัตร ·
ศัพท์เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ·
หมวดหมู่คริสต์ศาสนา
จัดการ: แม่แบบ  พูดคุย  แก้ไข

นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic) เป็นนิกายเก่าแก่ที่สุดในศาสนาคริสต์ ประมุขสูงสุดคือ พระสันตะปาปา มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ สำนักวาติกัน ใช้ภาษาละตินเป็นภาษาทางศาสนา ในประเทศไทย อาจเรียกคริสตศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกว่า "(ชาว)คริสตัง"

คำว่า "คาทอลิก" แปลว่า "สากล" หมายถึง ปฏิปทาของคนทั่วไป [1] อย่างไรก็ตาม คริสตศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก ไม่ถือว่าตนเองเป็นนิกายหนึ่ง แต่เป็นคริสต์ศาสนาที่สืบเนื่องมาจากต้นกำเนิด และถือว่าพวกตนเป็นผู้อนุรักษ์คำสั่งสอนที่ได้รับมาจากพระเยซูอย่างซื่อสัตย์ อีกทั้งเป็นผู้ปกป้องพระศาสนาให้เจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด

เนื้อหา

[แก้] ความแตกต่างของนิกายโรมันคาทอลิกกับนิกายโปรเตสแตนต์

1. การนับถือพระแม่มารีและนักบุญ

นิกายโรมันคาทอลิกนับถือทั้ง พระเยซู และพระแม่มารี โดยเชื่อว่าพระแม่มารี แม่ของพระเยซู เป็นหญิงพรหมจรรย์ และให้เกียรติพระนางมารีเป็นพิเศษ เรียกว่า "แม่พระ" หมายถึง มารดาของพระเจ้า

และยังมีการยกย่อง นักบุญ (Saint [เซนต์]) คือ วีรบุรุษและวีรสตรีทางศาสนา หรือบุคคลที่ดำเนินชีวิตตามแบบอย่างพระเยซูอย่างดีมากจนมั่นใจว่าได้ไปสวรรค์และเป็นเทพผู้คุ้มครองผู้คน อาจเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายว่า พระเยซูเสมือนกษัตริย์ แม่พระเสมือนพระราชชนนี และเหล่านักบุญเสมือนขุนนางองครักษ์

ต่างจาก นิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งนับถือแต่พระเยซู ส่วนพระแม่มารีและนักบุญนั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญนัก

2. คัมภีร์

พระคริสตธรรม ภาคพันธสัญญาเดิม ของนิกายโรมันคาทอลิก มี 46 เล่ม ขณะที่ พระคริสตธรรม ภาคพันธสัญญาเดิม ของนิกายโปรเตสแตนต์ มี 39 เล่ม (ต่างกัน 7 เล่ม)

3. พิธีกรรม

นิกายโรมันคาทอลิก มีพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ ที่ต้องปฏิบัติ 7 พิธี ได้แก่ 1. ศีลล้างบาป 2. ศีลกำลัง 3. ศีลมหาสนิท 4. ศีลบรรพชา 5. ศีลสมรส 6. ศีลอภัยบาป 7. ศีลเจิมผู้ป่วย

ต่างจากนิกายโปรเตสแตนต์ที่เหลือเพียง 2 พิธีที่ให้ความสำคัญ คือ ศีลล้างบาป (ศีลจุ่ม หรือบัพติสมา) และ ศีลมหาสนิท

4 ประมุขสูงสุด

คริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก มี พระสันตะปาปา (Pope) เป็นพระประมุขสูงสุด มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ สำนักวาติกัน (Vatican) ในนครรัฐวาติกัน ภายในกรุงโรม พระสันตปาปาสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอัครสาวกสิบสององค์ ถือว่า นักบุญปีเตอร์ (นักบุญเปโตร) เป็นพระองค์แรก และสืบทอดเรื่อยมาถึงปัจจุบัน โดยพระสันตะปาปา เบนิดิกต์ที่ 16 องค์ปัจจุบัน ทรงเป็นองค์ที่ 265

5 วันสำคัญ

นิกายโรมันคาทอลิก โดยสำนักวาติกัน มีการกำหนดวันฉลองมากกว่านิกายอื่น (มักเกี่ยวกับพระแม่มารีและนักบุญ) ซึ่งถูกบรรจุไว้ในปฏิทินโรมันคาทอลิก


รายละเอียด วันสำคัญทางคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ดูที่บทความหลัก วันสำคัญทางคริสต์ศาสนา


6 คำเรียก (เฉพาะในไทย)

ในภาษาอังกฤษ เรียกคริสต์ศาสนาทุกนิกายเหมือนกันว่า "คริสเตียน" ซึ่งแปลตรงตัวว่า "คริสตศาสนิกชน" แต่ในประเทศไทย มักเรียกคริสตศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกว่า "คริสตัง" และเรียกนิกายโปรเตสแตนต์ว่า "คริสเตียน"

เนื่องจากนิกายโรมันคาทอลิก เข้ามาเผยแพร่ตั้งแต่ก่อนสมัยพระนารายณ์มหาราช โดยบาทหลวงชาวโปรตุเกส และเรียกตนเองว่า คริสเตียน ในภาษาโปรตุเกสว่า "คริสตัง" ชาวไทยจึงติดปากเรียกผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกว่า "คริสตัง"

ขณะที่ นิกายโปรเตสแตนต์ เข้ามาเผยแพร่ภายหลัง คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยคณะมิชชันนารี สมัยเดียวกับหมอบรัดเลย์ ชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียกตัวเองว่า "คริสเตียน" ตามภาษาอังกฤษ

คำเรียกนี้เช่นเดียวกับพระนาม "เยซู" มาจาก "จีซัส" ในภาษาอังกฤษ รวมถึงคำเรียกต่างๆ ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ แต่ว่าอย่างไรก็ตาม พระนาม "เยซู" และคำเรียกอื่นๆ ยังคงใช้ทับศัพท์ตามภาษาโปรตุเกสเรื่อยมา เพราะคนไทยคุ้นปากเสียแล้ว

[แก้] ประวัติศาสตร์ของนิกายโรมันคาทอลิก

นิกายโรมันคาทอลิกมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ นักบุญเปโตร ได้รับการสถาปนาจากพระเยซูให้เป็นผู้ดูแลพระศาสนจักร อาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็นสันตะปาปาคนแรกที่ทุกคนต้องยอมรับนับถือและมีศรัทธาเชื่อฟังในฐานะ " ผู้ดูแลฝูงแกะ" ของพระเจ้า ความคิดแบบนี้ได้สืบทอดกันต่อมาจนปัจจุบัน พระสันตะปาปาจึงมิได้อยู่ในฐานะนักบวชเท่านั้น แต่เป็นประมุขสูงสุดของศาสนจักรที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามคำสั่ง นิกายโรมันคาทอลิกจึงเป็นนิกายที่มุ่งมั่นให้สัตบุรุษมีศรัทธา และปฏิบัติตามพระศาสนจักร เพราะศาสนจักรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งสวรรค์ และเป็นองค์การที่สามารถนำประชาชนไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามภาระกิจ ที่พระเจ้าได้มอบไว้

เดิมทีศาสนาคริสต์ยังไม่แบ่งแยกเป็นนิกาย ต่อเมื่อเกิดการแยกตัวของนิกายใหม่ ผู้ปฏิบัติในแนวทางเดิม (ที่ผ่านการเติบโตและดัดแปลงจากสมัยนักบุญเปโตร) จึงได้รับการแยกแยะว่าเป็นนิกายดั้งเดิม แตกต่างจากนิกายใหม่ เหตุการณ์แบ่งแยกครั้งแรกเกิดในรัชสมัยของ จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine the Great) เมื่อพระองค์ได้ตั้งราชธานีใหม่ในภาคตะวันออก แถบประเทศตุรกีในปัจจุบัน พระราชทานนามว่า "คอนสแตนติโนเปิล" (Constantinople) หรือ โรมันตะวันออก ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ อาณาจักรไบแซนไทน์ (Byzantine) อาณาจักรนี้มีความอิสระแยกออกจาก โรมันตะวันตก ซึ่งมี กรุงโรม (Rome) เป็นศูนย์กลาง แต่เมื่อนานวันอาณาจักรโรมันตะวันออกมีความเข้มแข็งและเป็นอิสระในทุกด้าน จึงตีตนออกห่าง แยกการปกครองเป็นเอกเทศ รวมถึงการปกครองทางศาสนา มีความเป็นอิสระจากกรุงโรม ไม่ยอมรับในพระราชอำนาจของพระสันตะปาปา จึงทำให้เกิดการแตกแยกออกเป็นนิกาย กล่าวคือ อาณาจักรโรมันตะวันตกได้รับอิทธิพลจากสำนักวาติกัน ซึ่งการศาสนามีบทบาทกลมกลืนกับสังคมและการเมือง นับถือ นิกายโรมันคาทอลิก ส่วนอาณาจักรโรมันตะวันออกได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของเอเชีย นับถือ นิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์

[แก้] การเผยแพร่นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย

รายละเอียด ประวัติการเผยแพร่ คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ในประเทศไทย ดูที่บทความหลัก คริสต์ศาสนาในประเทศไทย


[แก้] อ้างอิง

  1. ^ เสฐียร พันธรังษี. 2527: 347

[แก้] ดูเพิ่ม

ReligionSymbol.svg โรมันคาทอลิก เป็นบทความเกี่ยวกับ ศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ โรมันคาทอลิก ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ศาสนา