ฝ่ายสัมพันธมิตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

"ฝ่ายสัมพันธมิตร" ในบทความนี้หมายถึง ฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง สำหรับความหมายอื่น ดูที่ พันธมิตร
"สามผู้ยิ่งใหญ่": โจเซฟ สตาลิน แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์และวินสตัน เชอร์ชิลล์ เดินทางมาประชุมที่ การประชุมเตหะราน เพื่อวางแผนการรบในทวีปยุโรป เมื่อปี ค.ศ. 1943

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง (อังกฤษ: Allies of World War II) คือ กลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตและสหราชอาณาจักร ถือได้ว่าเป็น "สามผู้ยิ่งใหญ่" (อังกฤษ: The Big Three) และประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ได้ถือเอาสามผู้ยิ่งใหญ่และประเทศจีน รวมกันเป็น "ตำรวจสี่นาย" (อังกฤษ: Four Policemen)[1]

ช่วงเวลาระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 โรสเวลต์ได้ตกลงใช้ชื่อ "สหประชาชาติ" สำหรับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร และแถลงการณ์ของสหประชาชาติในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 ได้กลายมาเป็นรากฐานของสหประชาชาติในปัจจุบัน[2]

เนื้อหา

[แก้] การเข้าร่วมของประเทศสมาชิก

[แก้] ตามช่วงเวลาการรุกรานโปแลนด์

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ การรุกรานโปแลนด์ (1939)

[แก้] ระหว่างและหลังสงครามลวง

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ สงครามลวง

[แก้] หลังจากการรุกรานสหภาพโซเวียต

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

[แก้] หลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

[แก้] หลังจากประกาศก่อตั้งสหประชาชาติ

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ ปฏิญญาก่อตั้งสหประชาชาติ

[แก้] หลังจากปฏิบัติการบากราติออนและวันดีเดย์

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ ปฏิบัติการบากราติออน และ ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

[แก้] ประวัติ

[แก้] จีน

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 รัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งนำโดยจอมทัพเจียง ไคเช็คซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต และยังได้มีการช่วยเหลือการปรับปรุงภายในพรรคในเป็นไปตามแนวคิดลัทธิเลนิน อันประกอบด้วยการผสมกันอย่างลงตัวระหว่างพรรค รัฐและกองทัพ อย่างไรก็ตาม หลังจากการประกาศรวมชาติเมื่อปี ค.ศ. 1928 เจียง ไคเช็คได้กวาดล้างเอานักการเมืองหัวเอียงซ้ายออกจากพรรคและต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ขุนศึกในอดีตและฝ่ายอื่น ๆ ประเทศจีนในเวลานั้นมีความขัดแย้งกันและเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นกลืนกินดินแดนทีละน้อยโดยไม่สูญเสียกำลังทหารมากนัก จากเหตุการณ์กรณีมุกเดนในปี ค.ศ. 1931 นำไปสู่การจัดตั้งแมนจูกัว แต่รัฐบาลจีนยังคงมุ่งความสนใจไปยังการกำจัดพรรคคอมมิวนิสต์และขุนศึกต่อไป โดยแบ่งกองทัพเพียงส่วนน้อยมาทำการรบเพื่อต้านทานกองทัพญี่ปุ่น

ในช่วงต้นของคริสต์ทศวรรษ 1930 เยอรมนีและจีนได้ให้ความร่วมมือระหว่างกันทางทหารและอุตสาหกรรม โดยนาซีเยอรมนีได้กลายมาเป็นคู่ค้าอาวุธและวิทยาการรายใหญ่ของจีน หลังจากเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 จีนและญี่ปุ่นจึงเข้าสู่การทำสงครามเบ็ดเสร็จ ซึ่งดำเนินต่อไปจนกระทั่งยุติลงในปี ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตต้องการให้จีนต่อสู้กับญี่ปุ่น จึงให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่จีนจนถึงปี ค.ศ. 1941 หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาความเป็นกลางญี่ปุ่น เพื่อเตรียมตัวทำสงครามกับเยอรมนีในแนวรบด้านตะวันออก

ถึงแม้ว่าจีนจะเป็นประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรที่ทำการรบเป็นเวลายาวนานที่สุด แต่จีนได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการภายหลังการโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ โดยจอมทัพเจียง ไคเช็คมีความเชื่อมั่นว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะสามารถชนะสงครามได้หลังจากการเข้าสู่สงครามของสหรัฐอเมริกา

[แก้] ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก

ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 การรุกรานโปแลนด์ของเยอรมนีได้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ในวันเดียวกัน ประเทศเครือจักรภพประกาศสงครามเข้ากับสหราชอาณาจักรด้วยเช่นกัน

ในวันที่ 17 กันยายน สหภาพโซเวียตรุกรานโปแลนด์ทางทิศตะวันออก ต่อมา ในวันที่ 30 กันยายน สหภาพโซเวียตโจมตีฟินแลนด์ ภายในปีต่อมา สหภาพโซเวียตได้ผนวกเอาดินแดนของรัฐบอลติก ซึ่งประกอบด้วยเอสโตเนีย ลัตเวียและลิทัวเนีย สนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี-โซเวียตยุติลงภายหลังจากการรุกรานสหภาพโซเวียต ในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941

ส่วนสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามหลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ต่อมา ปฏิญญาแห่งสหประชาชาติในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกร่วมลงนามจำนวน 26 ประเทศ ถือได้ว่าเป็นประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวน 3 ประเทศ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตถือได้ว่าเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม อย่างไม่เป็นทางการ

[แก้] ประเทศสมาชิกอย่างเป็นทางการ

[แก้] ฝ่ายสัมพันธมิตรดั้งเดิม

ประเทศสัมพันธมิตรดั้งเดิม คือ กลุ่มประเทศที่ประกาศสงครามต่อนาซีเยอรมนี ในช่วงการรุกรานโปแลนด์ในปี 1939 อันประกอบด้วย

ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันจากเครือข่ายสนธิสัญญาป้องกันร่วมกัน และสนธิสัญญาในความร่วมมือพันธมิตรทางการทหารก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนความร่วมมือกันระหว่างสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสสามารถย้อนไปได้ถึง ความเข้าใจระหว่างอังกฤษ-ฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1904 และฝ่ายไตรภาคี ในปี ค.ศ. 1907 และดำเนินการร่วมกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ได้รับการลงนาม ในปีค.ศ. 1921 ซึ่งได้รับการแก้ไขในปี ค.ศ. 1927 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1939 ส่วนบัญญัติป้องกันร่วมกันอังกฤษ-โปแลนด์ ได้รับการลงนามในวันที่ 25 สิงหาคม 1939 ซึ่งประกอบไปด้วยสัญญาในการให้ความร่วมมือทางการทหารร่วมกันระหว่างชาติในกรณีถูกรุกรานโดยนาซีเยอรมนี

[แก้] โปแลนด์

สงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปเริ่มต้นขึ้นเมื่อการรุกรานโปแลนด์ ในขณะนั้น กองทัพโปแลนด์มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สามของบรรดาประเทศในทวีปยุโรป รองจากสหภาพโซเวียตและสหราชอาณาจักร โปแลนด์ไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการต่อนาซีเยอรมนี และทำสงครามต่อภายใต้คณะรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์

กองทัพบ้านเกิดซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปนอกอาณาเขตของสหภาพโซเวียต และมีขบวนการเคลื่อนไหวใต้ดินอื่น ๆ ที่ได้ให้ข้อมูลข่าวกรองซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติการให้สำเร็จในสงครามระยะต่อมา และได้เปิดเผยการก่อาชญากรรมสงครามของนาซีเยอรมนีต่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก นอกจากนี้ กองกำลังโปแลนด์ยังได้มีส่วนช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตรในแนวรบด้านตะวันตก แนวรบทะเลทราย และแนวรบด้านตะวันออกอีกด้วย

[แก้] เครือจักรภพอังกฤษ

สหราชอาณาจักรและดินแดนซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานอาณานิคม และบริติชราช ถูกควบคุมนโยบายทางการเมืองตามสหราชอาณาจักร โดยประเทศเหล่านี้ถูกดึงเข้าสู่สงครามหลังจากการประกาศสงครามของสหราชอาณาจักร ซึ่งประเทศเหล่านี้ประกอบด้วย ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์และแอฟริกาใต้

[แก้] ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสมีส่วนร่วมกับการรบในแนวรบด้านตะวันตก นับตั้งแต่สงครามลวง และยุทธการฝรั่งเศส หลังจากความพ่ายแพ้ต่อกองทัพเยอรมัน ดินแดนฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็น "ฝรั่งเศสเขตยึดครอง" และ "วิชีฝรั่งเศส" ขณะที่รัฐบาลฝรั่งเศสลี้ภัยไปยังอังกฤษ และมีการก่อตั้งฝรั่งเศสเสรี ซึ่งมีส่วนร่วมในการปลดปล่อยฝรั่งเศสจนกระทั่งสงครามยุติ

[แก้] กลุ่มออสโล

กลุ่มออสโลเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศที่เป็นกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในภายหลังได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในฐานะรัฐบาลพลัดถิ่น อันประกอบด้วย นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์ก

ฟินแลนด์ถูกรุกรานโดยสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ในภายหลังฟินแลนด์และเดนมาร์กได้เข้าร่วมกับสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลร่วมกับฝ่ายอักษะ ส่วนสวีเดนยังคงดำรงตนเป็นกลางตลอดช่วงเวลาของสงคราม หลังจากสนธิสัญญาสงบศึกในกรุงมอสโกเมื่อปี ค.ศ. 1944 ฟินแลนด์ได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและหันมาต่อสู้กับเยอรมนีแทน และเกิดเป็นสงครามแลปแลนด์

ส่วนเดนมาร์กซึ่งถูกรุกรานโดยเยอรมนีเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1940 รัฐบาลเดนมาร์กไม่ได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีและยอมจำนนในวันเดียวกัน เนื่องจากว่ารัฐบาลยังคงมีอำนาจในการจัดการกิจการภายในประเทศได้อยู่ เดนมาร์กไม่ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นมา ชาวเดนมาร์กรบโดยอยู่ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ไอซ์แลนด์ หมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ซึ่งถือว่าเป็นอาณานิคมของเดนมาร์ก ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของสงคราม กองทัพอังกฤษรุกรานเกาะไอซ์แลนด์ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 และใช้อำนวยความสะดวกให้กับนโยบายให้กู้-ยืม ส่วนกองกำลังจากสหรัฐอเมริกาได้ยึดครองเกาะกรีนแลนด์เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1941 หลังจากนั้นก็ได้ยึดครองเกาะไอซ์แลนด์ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 แม้ว่าจะคงดำรงตนเป็นกลางในสงครามก็ตาม ต่อมา ไอซ์แลนด์ประกาศตนเป็นเอกราชจากเดนมาร์กในปี ค.ศ. 1944 แต่ไม่ได้ประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายอักษะใด ๆ

[แก้] โปรตุเกส

ถึงแม้ว่าโปรตุเกสจะดำรงความเป็นกลางตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเป็นทางการ และประธานาธิบดีซาลาซาร์จะชื่นชมการปกครองในระบอบฟาสซิสต์ก็ตาม แต่โปรตุเกสถูกผูกมัดโดยพันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปรตุเกสมาตั้งแต่ยุคกลาง (นับเป็นพันธมิตรทางการทหารที่เก่าแก่ที่สุดของโลก คือ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1373) และนำไปสู่การสร้างฐานทัพอังกฤษ-สหรัฐอเมริกาในดินแดนของโปรตุเกสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1943

ทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก โรปตุเกสสูญเสียเกาะติมอร์และมาเก๊าให้แก่ญี่ปุ่น

[แก้] สหภาพรวมอเมริกา

สมาชิกของสหภาพรวมอเมริกายังคงดำรงตนเป็นกลางในช่วงปี ค.ศ. 1939-1941 ได้สร้างสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันในที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กรุงฮาวานา ระหว่างวันที่ 21-30 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 โดยมีตัวแทนประเทศ 21 ประเทศร่วมลงนาม อันประกอบด้วย

[แก้] องค์การคอมมิวนิสต์สากล

[แก้] องค์การสหประชาชาติ

หลังจากได้มีการลงนามในปฏิญญาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 โดยมีตัวแทนจาก 27 ประเทศร่วมลงนาม ประกอบด้วย

โปสเตอร์ช่วงสงครามของสหประชาชาติ ซึ่งได้ตีพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1943
  • Flag of ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
  • Flag of เบลเยียม เบลเยี่ยม
  • Flag of บราซิล บราซิล
  • Flag of the Republic of China สาธารณรัฐจีน
  • Flag of Canada 1921.svg แคนาดา
  • Flag of โคลอมเบีย โคลัมเบีย
  • Flag of คอสตาริกา ตอสตาริกา
  • Flag of คิวบา คิวบา
  • Flag of เชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย
  • Flag of the Dominican Republic สาธารณรัฐโดมินิกัน
  • Flag of เอลซัลวาดอร์ เอลซัลวาดอร์
  • Hellenic Kingdom Flag 1935.svg กรีซ
  • Flag of กัวเตมาลา กัวเตมาลา
  • Flag of เฮติ เฮติ
  • Flag of ฮอนดูรัส ฮอนดูรัส
  • British Raj Red Ensign.svg อินเดีย
  • Flag of ราชรัฐลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก
  • Flag of เม็กซิโก เม็กซิโก
  • Flag of the Netherlands เนเธอร์แลนด์
  • Flag of นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์
  • Flag of นิการากัว นิคารากัว
  • Flag of นอร์เวย์ นอร์เวย์
  • Flag of ปานามา ปานามา
  • Flag of เปรู เปรู
  • Flag of the Philippines ฟิลิปปินส์
  • Flag of โปแลนด์ โปแลนด์
  • Flag of South Africa 1928-1994.svg แอฟริกาใต้
  • Flag of the United Kingdom สหราชอาณาจักร
  • Flag of the Soviet Union 1923.svg สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
  • Flag of the United States สหรัฐอเมริกา
  • Yugoslav Partisans flag 1945.svg ยูโกสลาเวีย

ส่วนประเทศที่ลงนามในภายหลังได้แก่

  • Flag of the Philippines เครือจักรภพฟิลิปปินส์ (ค.ศ. 1942)
  • Flag of Ethiopia (1897).svg เอธิโอเปีย (ค.ศ. 1942)
  • Flag of อิรัก อิรัก (ค.ศ. 1943)
  • Flag of อิหร่าน อิหร่าน (ค.ศ. 1943)
  • Flag of Brazil (1889-1960).svg บราซิล (ค.ศ. 1943)
  • Flag of Bolivia (state).svg โบลิเวีย (ค.ศ. 1943)
  • Flag of Liberia.svg ไลบีเรีย (ค.ศ. 1944)
  • Flag of ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส (ค.ศ. 1944)
  • Flag of Peru (1825 - 1950).svg เปรู (ค.ศ. 1945)
  • Flag of Chile.svg ชิลี (ค.ศ. 1945)
  • Flag of Paraguay.svg ปารากวัย (ค.ศ. 1945)
  • Flag of Venezuela 1930-2006.svg เวเนซุเอลา (ค.ศ. 1945)
  • Flag of Uruguay.svg อูรุกวัย (ค.ศ. 1945)
  • Flag of Turkey.svg ตุรกี (ค.ศ. 1945)
  • Flag of Egypt 1922.svg อียิปต์ (ค.ศ. 1945)
  • Saudi Arabia Flag Variant (1938).svg ซาอุดีอาราเบีย (ค.ศ. 1945)
  • Flag of Lebanon.svg เลบานอน (ค.ศ. 1945)
  • Syria-flag 1932-58 1961-63.svg ซีเรีย (ค.ศ. 1945)

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Hakim, Joy (1995). A History of Us: War, Peace and all that Jazz. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-509514-6. 
  2. ^ Douglas Brinkley, FDR & the Making of the U.N.
  3. ^ ยูโกสลาเวียถูกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน 1943 โดย พลพรรคชาวยูโกสลาฟ ซึ่งได้รับการรับรองจากประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในการประชุมเตหะราน

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


ประวัติศาสตร์ ฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ฝ่ายสัมพันธมิตร ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์