มรดกโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตราสัญลักษณ์

มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต

เนื้อหา

[แก้] สถิติ

ในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 890 แห่ง ใน 138 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 689 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 176 แห่ง และอีก 25 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน

ตารางจำนวนของมรดกโลกแบ่งตามทวีป

ทวีป มรดกโลกทางธรรมชาติ มรดกโลกทางวัฒนธรรม มรดกโลกผสม มรดกโลกทั้งหมด
แอฟริกา 33 42 3 78
อาหรับ 4 60 1 65
เอเชีย-แปซิฟิก 48 129 9 186
ยุโรป และ อเมริกาเหนือ 56 375 9 440
ละตินอเมริกา และ แคริบเบียน 35 83 3 121
รวม 176 689 25 890

ลำดับของประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุด

ลำดับ ประเทศ ธรรมชาติ วัฒนธรรม ผสม รวม
1 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 2 42 0 44
2 ธงของประเทศสเปน สเปน 3 36 2 41
3 ธงของสาธารณรัฐประชาชนจีน จีน 7 27 4 38
4 ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2 30 1 33
5 ธงของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เยอรมนี 2 31 0 33
6 ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก 4 25 0 29
7 ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 4 23 1 28
8 ธงของสาธารณรัฐอินเดีย อินเดีย 5 22 0 27
9 ธงของสหพันธรัฐรัสเซีย รัสเซีย 8 15 0 23
10 ธงของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา 12 8 0 20

[แก้] ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่

ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้

เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ [1] (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

[แก้] ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก

กระทั่งปี พ.ศ. 2548 มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 ข้อสำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก[2] ดังนี้

[แก้] หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม

  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
  • (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

[แก้] หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ

  • (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
  • (viii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
  • (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
  • (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

[แก้] รายชื่อ

[แก้] การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ

คณะกรรมการมรดกโลกจะมีการประชุมร่วมกันหลายครั้งในแต่ละปี เพื่ออภิปรายถึงแผนการจัดการเกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกที่ยังคงอยู่ และรับรายชื่อสถานที่ที่ประเทศต่างๆเสนอให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจะมีการประชุมครั้งหนึ่งที่เรียกว่า การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่ได้รับการเสนอชื่อแห่งใดที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ

การประชุมสมัยสามัญประจำปีจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันจัดในเมืองสำคัญต่างๆจากทั่วโลก ซึ่งนอกจากครั้งที่จัดขึ้นที่กรุงปารีส อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์การยูเนสโกแล้ว จะมีเพียงประเทศที่สมาชิกของคณะกรรมการมรดกโลกเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิในการจัดการประชุมครั้งต่อไป โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และรับรองได้ว่าสมาชิกภาพของประเทศนั้นๆจะไม่หมดวาระลงเสียก่อนที่จะได้จัดการประชุม

ครั้งที่ ปี (พ.ศ.) วันที่ สถานที่ ประเทศเจ้าภาพ
1 2520 27 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม ปารีส Flag of ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
2 2521 5 กันยายน - 8 กันยายน วอชิงตัน ดี. ซี. Flag of the United States สหรัฐอเมริกา
3 2522 22 ตุลาคม - 26 ตุลาคม ไคโร และ ลักซอร์ Flag of อียิปต์ อียิปต์
4 2523 1 กันยายน - 5 กันยายน ปารีส Flag of ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
5 2524 26 ตุลาคม - 30 ตุลาคม ซิดนีย์ Flag of ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
6 2525 13 ธันวาคม - 17 ธันวาคม ปารีส Flag of ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
7 2526 5 ธันวาคม - 9 ธันวาคม ฟลอเรนซ์ Flag of อิตาลี อิตาลี
8 2527 29 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน บัวโนสไอเรส Flag of อาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
9 2528 2 ธันวาคม - 6 ธันวาคม ปารีส Flag of ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
10 2529 24 พฤศจิกายน - 28 พฤศจิกายน ปารีส Flag of ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
11 2530 7 ธันวาคม - 11 ธันวาคม ปารีส Flag of ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
12 2531 5 ธันวาคม - 9 ธันวาคม บราซิเลีย Flag of บราซิล บราซิล
13 2532 11 ธันวาคม - 15 ธันวาคม ปารีส Flag of ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
14 2533 7 ธันวาคม - 12 ธันวาคม แบนฟ์ Flag of แคนาดา แคนาดา
15 2534 9 ธันวาคม - 13 ธันวาคม คาร์เทจ Flag of ตูนิเซีย ตูนิเซีย
16 2535 7 ธันวาคม - 14 ธันวาคม แซนตาเฟ Flag of the United States สหรัฐอเมริกา
17 2536 6 ธันวาคม - 11 ธันวาคม การ์ตาเฮนา Flag of โคลอมเบีย โคลอมเบีย
18 2537 12 ธันวาคม - 17 ธันวาคม ภูเก็ต Flag of ไทย ไทย
19 2538 4 ธันวาคม - 9 ธันวาคม เบอร์ลิน Flag of เยอรมนี เยอรมนี
20 2539 2 ธันวาคม - 7 ธันวาคม เมรีดา Flag of เม็กซิโก เม็กซิโก
21 2540 1 ธันวาคม - 6 ธันวาคม เนเปิลส์ Flag of อิตาลี อิตาลี
22 2541 30 ธันวาคม - 5 ธันวาคม เกียวโต Flag of ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
23 2542 29 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม มาร์ราเกช Flag of โมร็อกโก โมร็อกโก
24 2543 27 ธันวาคม - 2 ธันวาคม แครนส Flag of ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
25 2544 11 ธันวาคม - 16 ธันวาคม เฮลซิงกิ Flag of ฟินแลนด์ ฟินแลนด์
26 2545 24 มิถุนายน - 29 มิถุนายน บูดาเปสต์ Flag of ฮังการี ฮังการี
27 2546 30 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม ปารีส Flag of ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
28 2547 28 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม ซูโจว Flag of the People's Republic of China จีน
29 2548 10 กรกฎาคม - 17 กรกฎาคม เดอร์บัน Flag of สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
30 2549 8 กรกฎาคม - 16 กรกฎาคม วิลนีอุส Flag of ลิทัวเนีย ลิทัวเนีย
31 2550 23 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม ไครสต์เชิร์ช Flag of นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์
32 2551 2 กรกฎาคม - 10 กรกฎาคม เมืองควิเบก Flag of แคนาดา แคนาดา
33 2552 22 มิถุนายน - 30 มิถุนายน เซบียา Flag of สเปน สเปน
34 2553 16 กรกฎาคม - 30 กรกฎาคม บราซิเลีย Flag of บราซิล บราซิล

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ http://www.dnp.go.th/News/Logo_congress.htm ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่อง การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ของการประชุมใหญ่สมัชชาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก
  2. ^ http://www.geocities.com/thaiherritage/ ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น