ประเทศสโลวีเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Republika Slovenija
เรปูบลีกา สลอเวนียา
สาธารณรัฐสโลวีเนีย
ธงชาติสโลวีเนีย ตราแผ่นดินของสโลวีเนีย
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติZdravljica
ที่ตั้งของสโลวีเนีย
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ลูบลิยานา

46°03′N 14°30′E

ภาษาทางการ ภาษาอิตาลี1
รัฐบาล สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
  ประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรี
Danilo Türk
Borut Pahor
ได้รับเอกราช
   • ประกาศเอกราช
 • เป็นที่ยอมรับ
จาก ยูโกสลาเวีย
25 มิถุนายน พ.ศ. 2534
พ.ศ. 2535 
เข้าร่วม EU 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 20,273 กม.² (ลำดับที่ 151)
 -  พื้นน้ำ (%) 0.6%
ประชากร
 -  ก.ค. 2548 ประมาณ 2,011,070 (อันดับที่ 142)
 -  2545 สำรวจ 1,964,036 
 -  ความหนาแน่น 99/กม.² (อันดับที่ 77)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 42.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 84)
 -  ต่อประชากร 20,900 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 31)
HDI (2546) 0.904 (สูง) (อันดับที่ 26)
สกุลเงิน ยูโร2 (EUR)
เขตเวลา CET (UTC+1)
 -  ฤดูร้อน (DST) CEST (UTC+2)
รหัสอินเทอร์เน็ต .si
รหัสโทรศัพท์ +386
1ใช้ในเทศบาลที่เป็นชุมชนชาวอิตาลีหรือฮังการี
2ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ใช้หน่วยเงินโทลาร์ (SIT)

สโลวีเนีย (Slovenia) ชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย (Republic of Slovenia) (ภาษาอิตาลี: Republican Slovenija) เป็นประเทศบนชายฝั่ง ทางใต้ของเทือกเขาแอลป์ ในยุโรปกลางตอนใต้ มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดอิตาลี ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลเอเดรียติก ทางใต้และตะวันออกจรดโครเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดฮังการี และทางเหนือจรดออสเตรีย

สโลวีเนียเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรยูโกสลาเวียจนถึง พ.ศ. 2488 และเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียตั้งแต่ พ.ศ. 2488 จนได้รับเอกราชเมื่อพ.ศ. 2534 และได้กลายเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป เมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของคณะมนตรียุโรป (Council of Europe) นาโต (NATO) และเป็นผู้สังเกตการณ์ในองค์กรภาษาฝรั่งเศส (en:La Francophonie)

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

ประเทศสโลเวเนียเคยเป็น 1 ใน 6 รัฐของยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวียเดิมประกอบด้วย 6 สาธารณรัฐ กล่าวคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย โครเอเทีย เซอร์เบีย บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา มอนเตนิโกร และมาซิโดเนีย และมณฑลอิสระโคโซโวและวอยโวดีนา ซึ่งเป็นมณฑลปกครองตนเอง

[แก้] การเมือง

การเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2533 – 2547

สโลวีเนียมีการเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2533 นาย Milan Kucan ได้รับเลือกตั้งให้ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ภายหลังการแยกตัวเป็นเอกราช มีการจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีในเดือนธันวาคม 2535 ซึ่งประธานาธิบดี Kucan ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง

ในปี พ.ศ. 2535 พรรค Liberal Democratic (LDS) ของนาย Janez Drnovsek ได้รับ ชัยชนะในการเลือกตั้ง นาย Drnovsek ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาลผสมโดยการประสานผลประโยชน์ของฝ่ายต่างๆ นาย Drnovsek มีนโยบายที่จะนำสโลวีเนียสู่เวทีระหว่างประเทศ ทำให้พรรค LDS ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างต่อเนื่องและได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2539 ในสมัยที่ 2 นี้ นาย Drnovsek ให้ความสำคัญต่อการเข้าเป็นสมาชิก EU และองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) ในด้านเศรษฐกิจ มีนโยบายส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเสรี โดยเน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี ในเดือนเมษายน 2543 เกิดความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล นาย Drnovsek ได้พยายามปรับคณะรัฐมนตรี แต่ไม่เป็นผล พรรค Slovenian People's Party (SLS) ซึ่งรวมกับพรรค Christian Democrats (SKD) และใช้ชื่อพรรคใหม่ว่าพรรค SLS+SKD สามารถร่วมมือกับพรรค Slovenian Democratic (SDS) จนมีเสียงสนับสนุนในสภาฯ มากพอ ได้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2543 โดยมีนาย Andrej Bajuk รองหัวหน้าพรรค SLS+SKD เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของนาย Bajuk ได้บริหารประเทศจนถึงเดือนกันยายน 2543 เมื่อรัฐสภาสโลวีเนียครบวาระ

ในเดือนตุลาคม 2543 สโลวีเนียได้จัดการเลือกตั้งทั่วไป ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค LDS ของนาย Drnovsek ยังคงได้รับความนิยมจากประชาชน นาย Drnovsek ได้จัดตั้งรัฐบาลผสม 4 พรรค โดยร่วมกับพรรค United List of Social Democrats (ZLSD) พรรค SLS+SKD และพรรค Democratic Party of Retired Persons of Slovenia (DeSUS) โดยนาย Drnovsek ยังคงได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน 2545 นาย Drnovsek ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งประธานาธิบดีและได้รับเลือกตั้ง จึงได้แต่งตั้งนาย Anton Rop เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรัฐสภาได้ให้การรับรองเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2545

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

(รอเพิ่มเติมข้อมูล)

[แก้] ภูมิศาสตร์

(รอเพิ่มเติมข้อมูล)

[แก้] เศรษฐกิจ

(รอเพิ่มเติมข้อมูล)

[แก้] ประชากร

2 ล้านคน (พ.ศ. 2546) ชาวสโลวีน ร้อยละ 92 ชาวโครอัต ร้อยละ 1 ชาวเซิร์บ บอสเนีย ฮังกาเรียน และอื่นๆ

[แก้] วัฒนธรรม

(รอเพิ่มเติมข้อมูล)
ASpacer.gifBlankMap-World6.svg ประเทศสโลวีเนีย เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศสโลวีเนีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น