กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ราชอาณาจักรไทย
Logo ict.jpg
ตราพระพุธ
กองบัญชาการ
Flag of ไทย
เลขที่ 120 หมู่ 3 อาคารรวมหน่วยราชการ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
ภาพรวมของหน่วยงาน
วันก่อตั้ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
เขตอำนาจ ทั่วราชอาณาจักร
งบประมาณ 3,677,594,500 บาท (พ.ศ. 2553)
รัฐมนตรีว่าการ ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี, รัฐมนตรี
ผู้บริหาร สือ ล้ออุทัย, ปลัด
ลูกสังกัด ดูในบทความ
เว็บไซต์
MICT.go.th

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Information and Communication Technology of Thailand) เป็นกระทรวงที่ทำหน้าที่ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี

เนื้อหา

[แก้] หน่วยงานในสังกัด

[แก้] ส่วนราชการ

[แก้] รัฐวิสาหกิจ/องค์การมหาชน

[แก้] การปิดกั้นข่าวสาร

ประกาศจากไอซีที สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม

ในช่วงรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยมีการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2547-2549 ทางกระทรวงได้ทำการปิดเว็บไซต์ที่มีเนื้อหา สนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในฝั่งตรงข้ามกับรัฐบาลโดยให้เหตุผลว่า เป็นเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ถูกบล็อก เช่น Thaiinsider , เว็บไซต์สถานีวิทยุคลื่นประชาธิปไตย จากข่าวจากผู้จัดการออนไลน์, อ้างอิงข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ สิทธิการสื่อสารในสังคมไทย สังคมสารสนเทศของใคร (2) โดย พิรงรอง รามสูต รณะนันท์[1]ในกรณีของ FM9225.net มีเจ้าหน้าที่ตำแหน่งสารวัตรอินเทอร์เน็ตทำหนังสือส่งไปทางอินเทอร์เน็ต ถึงบริษัท เอเน็ต ให้ปิดเว็บไซต์ดังกล่าว โดยมีเนื้อหาว่า "เนื่องจากเว็บไซต์ www.fm9225.com มีการยุยงส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกภายในชาติ อันนำมาสู่ภัยต่อความมั่นคงของชาติ จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการยุติการเผยแพร่โดยด่วน"[1]

โครงการไซเบอร์คลีน เป็นโครงการความร่วมมือ ระหว่าง กระทรวงไอซีที ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) (บางแห่ง) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ กสท. โทรคมนาคม) [2] ในการให้บล็อกเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม และร่วมกับเว็บมาสเตอร์ในการรับแจ้ง โดยมุ่งหวังเพื่อช่วยกันยุติสิ่งไม่เหมาะสมบนเว็บไซต์ แต่ทั้งนี้เนื่องจากความร่วมมือในการบล็อกเว็บไซต์นั้นทำได้เฉพาะหากเข้าผ่านผู้ให้บริการเพียงบางรายเท่านั้น ทำให้เป็นการปิดกั้นข่าวสารแก่บางกลุ่ม ซึ่งได้รับการร้องเรียนว่าน่าจะเป็นการละเมิดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และเป็นการปิดกั้นโดยเกิดความไม่เท่าเทียมกัน ขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยและขัดรัฐธรรมนูญ

โครงการเครือข่ายยุติธรรม (ดี เอส ไอ ไซเบอร์ฟอร์ซ - DSI Cyberforce) เป็นโครงการความร่วมมือของ ดี เอส ไอ (DSI) ภายใต้สำนักคดีเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสืบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม เพื่อขยายเครือข่ายสอดส่อง ป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต และสกัดกั้นภัยคุกคาม รวมทั้งอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยให้นักเรียน นักศึกษา, บุคคลทั่วไป และอาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน สอดส่อง แจ้งภัย และเป็นศูนย์กลางในการต่อต้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ภาคประชาชน เว็บไซต์โครงการเครือข่ายยุติธรรม

ตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 เว็บไซต์วิดีโอ ยูทูบ ได้ถูกบล็อกภายหลังจากที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดร. สิทธิชัย โภไคยอุดม กล่าวว่าได้ถูกปฏิเสธการนำภาพตัดต่อที่หมิ่นพระบรมฉายาลักษณ์ออกจากระบบ ที่อัปโหลดไว้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2550 [3]

[แก้] เกร็ด

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ รัฐบาล"ทักษิณ"อ้างความมั่นคงสั่งปิดเว็บไซต์92.25MHZ-เอกยุทธ
  2. ^ การปิดกั้นเนื้อหา
  3. ^ YouTube disappears from Thai Internet ข่าวจากบางกอกโพสต์ (อังกฤษ)
  4. ^ เว็บไอซีทีโดนมือดีแฮ็ก ข่าวจากผู้จัดการ

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°53′09″N 100°34′33″E / 13.88587°N 100.575939°E / 13.88587; 100.575939

ภาษาอื่น