ประเทศกาตาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

دولة قطر
Dawlat Qatar
เดาลัต กะตาร์
รัฐกาตาร์
ธงชาติกาตาร์ ตราแผ่นดินของกาตาร์
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
เพลงชาติAs Salam al Amiri
ที่ตั้งของกาตาร์
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
โดฮา

25°18′N 51°31′E

ภาษาทางการ ภาษาอาหรับ
รัฐบาล สมบูรณาญาสิทธิราชย์
  เจ้าผู้ครองรัฐ
นายกรัฐมนตรี
เชคฮามัด บิน คอลีฟะห์ อัลตานี
เชคอับดุลลาห์ บิน คอลีฟะห์ อัลตานี
ได้รับเอกราช
  วันที่ จาก สหราชอาณาจักร
3 กันยายน พ.ศ. 2514 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 11,437 กม.² (ลำดับที่ 158)
 -  พื้นน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  ก.ค. 2548 ประมาณ 863,051 (อันดับที่ 154)
 -  ความหนาแน่น 75/กม.² (อันดับที่ 94)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 37.852 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 62)
 -  ต่อประชากร 31,397 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 11)
HDI (2546) 0.849 (สูง) (อันดับที่ 40)
สกุลเงิน ริยัลกาตาร์ (QAR)
เขตเวลา (UTC+3)
 -  ฤดูร้อน (DST)  (UTC+3)
รหัสอินเทอร์เน็ต .qa
รหัสโทรศัพท์ +974

ประเทศกาตาร์ หรือ รัฐกาตาร์ (State of Qatar) (อาหรับ: قطر) เป็นรัฐเจ้าผู้ครองนคร (emirate) ในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนคาบสมุทรขนาดเล็กที่แตกมาจากคาบสมุทรอาหรับ ดังนั้นมันจึงเป็นประเทศมุสลิมในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางเพียงประเทศเดียวที่มีสภาพเป็นเกาะ มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และมีชายฝั่งริมอ่าวเปอร์เซีย

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

กาตาร์เคยอยู่ภายใต้การปกครองของตุรกีจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลโดยได้ทำสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) กับกาตาร์มีผลทำให้กาตาร์อยู่ภายใต้การคุ้มครองของอังกฤษ โดยอังกฤษดูแลกิจการระหว่างประเทศของกาตาร์และต้องป้องกันกาตาร์จากการถูกรุกรานจากภายนอก และต่อมาสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) ได้ขยายการคุ้มครองของอังกฤษออกไปทุก ๆ ด้าน

ในปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) รัฐบาลอังกฤษประกาศจะถอนตัวออกจากภูมิภาค อ่าวเปอร์เซียภายในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) กาตาร์จึงพยายามรวมตัวเป็นสหพันธ์รัฐกับบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ กาตาร์เป็นเอกราชเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) โดยอังกฤษได้ยกเลิกสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) และได้มีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพระหว่างกันแทน

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) Shaikh Khalifa Bin Hamad Al – Thani ได้ทำรัฐประหารสำเร็จโดยปราศจากการนองเลือด และต่อมา เมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) Shaikh Hamad Bin Khalifa Al – Thani พระโอรส ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารของกาตาร์ ก็ได้ยึดอำนาจการปกครองและตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองรัฐองค์ใหม่

[แก้] การเมือง

(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่เขตการปกครองของกาตาร์

ประเทศกาตาร์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เทศบาล (municipalities - baladiyah) ได้แก่

  1. อัดเดาฮะห์ (Ad Dawhah)
  2. อัลกุวะรียะห์ (Al Ghuwariyah)
  3. อัลจุมะลียะห์ (Al Jumaliyah)
  4. อัลเคาร์ (Al Khawr)
  5. อัลวะกระห์ (Al Wakrah)
  6. อาร์รอยยัน (Ar Rayyan)
  7. จะริยะนัลบัตนะห์ (Jariyan al Batnah)
  8. อัชชะมาล (Ash Shamal)
  9. อุมม์ซาลาล (Umm Salal)
  10. มุไซอิด (Mesaieed)

[แก้] ภูมิศาสตร์

กาตาร์ภูมิประเทศแบบแหลมที่ยื่นออกไปในอ่าวเปอร์เซีย เรียกกันว่า ไข่มุขแห่งเปอร์เซีย ด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตก ล้อมรอบด้วยทะเล ด้านทิศใต้ ติดประเทศซาอุดิอาระเบีย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย

[แก้] เศรษฐกิจ

อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 3.64 ริยัล หรือประมาณ 12 บาท GDP ประมาณ 20.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2004) รายได้ต่อหัว 30,410 เหรียญสหรัฐ (2003) สูงสุดในกลุ่มประเทศอาหรับ ผลิตน้ำมันได้วันละ 928,055 บาร์เรลต่อวัน (2003) ปริมาณน้ำมันดิบสำรอง 15.2 พันล้านบาร์เรล (2003) ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรอง 509 ล้านล้านลูกบาศ์กฟุต (2003) ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรประมง สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ปุ๋ย เหล็ก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี สินค้าเข้าที่สำคัญ เชื้อเพลิง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เคมีภัณฑ์ อาหารและเสื้อผ้า ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น อังกฤษ สหรัฐฯ อิตาลี เยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลี

[แก้] ประชากร

[แก้] วัฒนธรรม

[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น