ปีนักษัตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช แสดงภาพพระบรมธาตุล้อมด้วยตรา 12 นักษัตร

ปีนักษัตร (ออกเสียง นัก-สัด) เป็นปีตามปฏิทินสุริยคติไทย โดยการนับรอบละ 12 ปี อันเป็นคติการนับปีที่นิยมใช้กันแพร่หลายในภูมิภาคเอเชีย ทั้งชาวไทย จีน และเวียดนาม เป็นต้น ปีนักษัตร 12 ปีนั้น มีดังนี้

ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ และ กุน โดยเริ่มต้นนับที่ปีชวด

[แก้] สัตว์ประจำปีนักษัตร

ปีนักษัตรจะมีสัตว์ประจำปี (อันเป็นความหมายของชื่อปีนั้น ๆ นั่นเอง) สัตว์ประจำปีนักษัตรที่นิยมใช้ในหมู่ชาวไทย มีดังนี้

ปี ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุน
สัตว์ หนู วัว เสือ กระต่าย งูใหญ่ งูเล็ก ม้า แพะ ลิง ไก่ สุนัข สุกร

[แก้] ปีนักษัตรในภาษาต่างๆ

ภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาไทยวน ภาษาไทลื้อ ภาษาไทใหญ่ ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม
ชวด มุสิก ใจ้ ใจ้ เจ้อ-อี Tí ตี๊
ฉลู อุสุภ, อุสภ เป้า เป้า เป้า Sửu สือ-ว
ขาล พยาฆร, พยัฆะ, วยาฆร, พยคฆ ยี ยี ยี Dần เหยิ่น
เถาะ สะสะ, สัศ เม้า เหม้า เหม้า Mạo หม่าว
มะโรง มังกร, นาค, สงกา สี สี สี 龍/龙 Thìn ถิ่น
มะเส็ง สัป, สปปก ใส้ ใส้ เส้อ-อื Tị ติ
มะเมีย ดุรงค, อัสส, อัสดร สง้า สะงะ สีงะ 馬/马 Ngọ หง่อ
มะแม เอฬกะ, อัชฉะ เม็ด เม็ด โมด Mùi หมุ่ย
วอก มกฏะ, กปิ สัน แสน สัน Thân เทิน
ระกา กุกกุฎ, กุกกุฏ เล้า เล้า เฮ้า 雞/鸡 Dậu เหย่า
จอ โสณ, สุนัข เส็ด เส็ด เม็ด Tuất ต๊วด
กุน สุกร, วราห, กุญชร ใก๊ ใก๊ เก้อ-อื 豬/猪 Hợi เห่ย

ชาวไทยนิยมนับปีด้วยปีนักษัตรมาช้านาน แต่เนื่องจากปีนักษัตรมีรอบเพียง 12 ปี ซึ่งสั้นเกินไป จึงมักจะใช้เลขท้ายปีจุลศักราชมาประกอบด้วย (อ่านเพิ่มเติม ที่ ปฏิทินสุริยคติไทย)

การนับปีนักษัตรแบบจีนมักใช้แผนภูมิสวรรค์ภาคปฐพีกำกับ ได้แก่ 子, 丑, 寅, 卯, 辰, 巳, 午, 未, 申, 酉, 戌, 亥 ซึ่งมีรอบ 12 ปีเท่ากัน เขียนเป็น 子鼠, 丑牛, 寅虎 ฯลฯ เพื่อแยกออกจากความหมายของสัตว์ทั่วไป อาทิ 鼠 หมายถึง หนู เป็นต้น

โครง ปีนักษัตร เป็นบทความที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ปีนักษัตร ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ