ฟุตบอลทีมชาติไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้านี้สำหรับทีมฟุตบอลชาย สำหรับทีมหญิงดูได้ที่ ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย
ฟุตบอลทีมชาติไทย
Shirt badge/Association crest
ฉายา ช้างศึก
สมาคม สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาพันธ์ เอเอฟซี (ทวีปเอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอน Flag of อังกฤษ ไบรอัน ร็อบสัน
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน อรรถพล บุษปาคม
กัปตัน ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์
ติดทีมชาติสูงสุด เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (130) by fifa
ทำประตูสูงสุด เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (69) by fifa
สนามเหย้า ราชมังคลากีฬาสถาน
รหัสฟีฟ่า THA
อันดับฟีฟ่า 98
อันดับฟีฟ่าสูงสุด 43 (กันยายน พ.ศ. 2541)
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด 137 (ธันวาคม พ.ศ. 2549)
อันดับอีแอลโอ 92
อันดับอีแอลโอสูงสุด 62 (มกราคม พ.ศ. 2544)
อันดับอีแอลโอต่ำสุด 137 (เมษายน พ.ศ. 2528)
ทีมเหย้า สี
ทีมเยือน สี
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
Flag of ประเทศเวียดนามใต้ เวียดนามใต้ 3 - 1 ไทย Flag of ไทย
(เวียดนามใต้; พ.ศ. 2499)
ชนะสูงสุด
Flag of ไทย ไทย 10 - 0 บรูไน Flag of บรูไน
(กรุงเทพ, ไทย; 24 พฤษภาคม, พ.ศ. 2514)
แพ้สูงสุด
Flag of อังกฤษ อังกฤษสมัครเล่น 9 - 0 ไทย Flag of ไทย
(เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย; 26 พฤศจิกายน, พ.ศ. 2499)
เอเอฟซี เอเชียนคัพ
เข้าร่วม 6 (ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2515)
ผลงานดีที่สุด อันดับ 3, พ.ศ. 2515

ฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศไทยของทีมชาย ในการแข่งขันระดับนานาชาติ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 บริหารทีมโดย สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยในปัจจุบัน ทีมชาติไทย ยังไม่มีผลงานที่โดดเด่นในระดับโลก ซึ่งทีมไทยยังไม่เคยได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก แต่ได้เข้าร่วมแข่งในกีฬาโอลิมปิก 2 ครั้ง ส่วนในระดับทวีปเอเชียนั้น ทีมชาติไทย เคยได้อันดับสูงสุดคืออันดับที่ 3 ในเอเชียนคัพ 1972 ในปี พ.ศ. 2515 ที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพ และในเอเชียนเกมส์ ทีมไทยได้เข้าร่วม 4 ครั้ง โดยได้อันดับสูงสุดคือได้เข้าร่วมในรอบสี่ทีมสุดท้ายพ.ศ. 2541 โดยที่เอาชนะเกาหลีใต้2-1ได้จากเกียรติศักดิ์ เสนาเมืองและในน่อเวลาได้จากธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูลในนาทีที่95 ส่งผลให้เกาหลีใต้ตกรอบ ส่วนการแข่งขันในระดับภูมิภาคอาเซียนนั้น ทีมไทยเป็นแชมป์ซีเกมส์ 13 ครั้ง อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 3 ครั้ง และคิงส์คัพที่จัดขึ้นในประเทศไทย 12 ครั้ง

ล่าสุดทีมชาติไทยได้เหรียญทองในซีเกมส์ 2007 หลังจากชนะทีมชาติพม่า 2 ประตูต่อ 0 ส่วนในด้าน ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก ทีมไทยผ่านเข้าสู่รอบที่ 3 โดยจับฉลากแข่งสายเดียวกับ ญี่ปุ่น โอมาน และ บาห์เรน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติทีมชาติไทย

[แก้] เริ่มต้นทีมชาติไทย

ฟุตบอลทีมชาติไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ซึ่งในขณะนั้นทีมชาติถูกเรียกว่า คณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม โดยได้ทำการลงแข่งเป็นครั้งแรกกับทีมฝ่ายยุโรปในประเทศไทย เมื่อวันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2458 ที่ สนามราชกรีฑาสโมสร หลังจากนั้นหนึ่งปีต่อมา ปี 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยขึ้นในชื่อ "สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม" ในปี 2473 ทีมชาติไทยได้ถูกเชิญไปเล่นที่อินโดจีนต้อนรับการเสด็จประพาสอินโดจีนของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นการแข่งขันครั้งแรกของทีมชาติไทยในต่างประเทศ โดยได้แข่งขันทั้งหมด 4 นัด ระหว่างวันที่ 14-20 เมษายน โดยแข่งกับทีมที่ทางชาติอินโดจีนซึ่งเป็นทีมที่มีผู้เล่นผสมผสานระหว่างชาวเวียดนามกับชาวฝรั่งเศส

[แก้] เข้าสู่ระดับโลก

ปี สมาคม
2459 ก่อตั้ง
2468 ฟีฟ่า
2500 เอเอฟซี
2537 เอเอฟเอฟ

ในปี พ.ศ. 2499 พล.ต. เผชิญ นิมิบุตร ซึ่งเป็นนายกสมาคม ได้มีการหาผู้เล่นจากหลายสโมสรเพื่อจัดตั้งทีมที่จะลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 16 ซึ่งถูกจัดขึ้นที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นครั้งแรกของทางทีมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมใน กีฬาโอลิมปิก ในการแข่งขันนั้นเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ทีมไทยจับฉลากได้แข่งกับ ทีมชาติสหราชอาณาจักร (ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นทีมชาติอังกฤษ) ใน วันที่ 26 พฤศจิกายน โดยทีมไทยพ่ายแพ้ไป 9 ประตูต่อ 0 ซึ่งเป็นสถิติแพ้สูงสุดของทีมไทยจวบจนปัจจุบันนี้ โดยในรอบที่สอง ทีมสหราชอาณาจักรก็พ่ายแพ้ให้กับทีมชาติบัลแกเรีย 6 ประตูต่อ 1 โดยทีมชาติบัลแกเรียได้เหรียญทองแดง ทีมชาติยูโกสลาเวีย ได้เหรียญเงิน และทีมชาติโซเวียตได้เหรียญทองไปครอง[1] ภายหลังจากการแข่งขัน หนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน ได้พาดหัวข่าวหน้ากีฬาว่า "ทีมชาติอังกฤษเฆี่ยนทีมชาติไทย 9 - 0" ซึ่งภายหลังจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ส่ง พล.ต.ดร.สำเริง ไชยยงค์ นักฟุตบอลในชุดโอลิมปิกนั้น ไปศึกษาพื้นฐานการเล่นฟุตบอลจากประเทศเยอรมนีเพื่อให้กลับมาสอนการเล่นฟุตบอลให้แก่ทีมไทย

นักฟุตบอลไทยและผู้ฝึกสอน ในปี 2549 ที่ลงแข่งขันใน เอเชียนเกมส์ 2006 ที่กาตาร์

ในปี 2508 ทีมชาติไทยได้เหรียญทองในการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาแหลมทอง (หรือซีเกมส์ในปัจจุบัน) เป็นครั้งแรก โดยการแข่งขันครั้งนั้นถูกจัดขึ้นที่ เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และต่อมาไทยยังคงได้แชมป์ซีเกมส์อีกหลายครั้ง โดยรวมทังสิ้น 12 ครั้ง และอีกสามปีต่อมา ในปี 2511 ทีมไทยได้เข้าร่วมโอลิมปิกอีกครั้ง โดยเป็นโอลิมปิกครั้งที่ 19 ซึ่งจัดขึ้นที่ เมืองเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก ในคราวนี้เป็นการแข่งขันแบบจับกลุ่มกลุ่มละสี่ทีม ทีมไทยแพ้สามครั้งติดต่อกัน โดยแพ้ให้กับ ทีมชาติบัลแกเรีย 7 ประตูต่อ 0, ทีมชาติกัวเตมาลา 4 ประตูต่อ 1 และ ทีมชาติเช็กโกสโลวาเกีย 8 ประตูต่อ 0 ทำให้ทีมไทยตกรอบแรกในการแข่งขัน ซึ่งผู้ชนะในคราวนี้ คือทีมชาติฮังการี ได้เหรียญทองไปครอง

ในปี 2515 ประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอล เอเชียนคัพ 1972 ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันเอเชียนคัพครั้งที่ 5 โดยในการแข่งขันนี้ ทีมชาติไทยได้อันดับที่ 3 โดยยิงลูกโทษชนะทีมชาติกัมพูชา 5 ประตูต่อ 3 ภายหลังจากเสมอกัน 2 ต่อ 2 ซึ่งในการแข่งขันนี้ ทีมชาติอิหร่าน ชนะเลิศ และทีมชาติเกาหลีใต้ ได้รางวัลรองชนะเลิศตามลำดับ

ในปี 2519 ประเทศไทยได้แชมป์คิงส์คัพครั้งแรก โดยเป็นแชมป์ร่วมกับ ทีมชาติมาเลเซีย ภายหลังจากที่มีการเริ่มมีการจัดคิงส์คัพในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2511 โดยต่อมาทีมชาติไทยได้เป็นแชมป์คิงส์คัพอีกหลายครั้งรวมทั้งสิ้น 10 ครั้งด้วยกัน

สำหรับการแข่งขันในเอเชียนเกมส์ ทีมชาติไทยยังไม่สามารถที่จะชนะเลิศได้ โดยความสำเร็จสูงสุดคือเข้ารอบสี่ทีมสุดท้าย ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่จัดขึ้นที่ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2533 เช่นเดียวกับ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2541 และ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่จัดขึ้นที่ ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในปี พ.ศ. 2545และครั้งล่าสุดเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่จัดขึ้นที่ โดฮา ในปี พ.ศ. 2549 ทีมชาติไทยก็เป็นทีมเดียวในย่านอาเซียนที่ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศ(8 ทีมสุดท้าย) ทำผลงานได้ยอดเยี่ยมเข้ารอบโดยเป็นที่ 1 ของกลุ่มซี

ในปี 2537 ไทยได้ร่วมก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน กับอีก 9 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน และนอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการเชิญสโมสรชั้นนำจากทั่วโลก มาแข่งขันกับในประเทศไทยหลายครั้ง ได้แก่ เอฟซีปอร์โต (2540) อินเตอร์มิลาน (2540) โบคาจูเนียร์ (2540) ลิเวอร์พูล (2544) นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (2547) เอฟเวอร์ตัน (2548) โบลตันวันเดอร์เรอร์ (2548) แมนเชสเตอร์ซิตี (2548 ที่ไทย และ 2550 ที่อังกฤษ[2]) และสโมสรชั้นนำอื่น ๆ และในปี 2551 ไทยตกรอบฟุตบอลรอบคัดเลือก รอบ 20ทีมสุดท้าย โดยได้อยู่สายเดียวกับทีมอย่าง ญี่ปุ่น โอมาน บาห์เรน โดยไทยแข่ง6นัด ไม่ชนะใครเลย แพ้5เสมอ1 ทำให้ชาญวิทย์ ผลชีวิน ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นไม่นาน ปีเตอร์ รีด อดีตนักเตะเอฟเวอร์ตันและทีมชาติอังกฤษ ก็เข้ามารับตำแหน่งแทนแต่ไทย ก็พลาดแชมป์ อาเซียน คัพ โดยการแพ้เวียดนามรวมผลสองนัด 3-2 และยังพลาดคิงส์ คัพ อีกรายการหนึ่งโดยดวลจุดโทษแพ้ เดนมาร์ก จนถึงช่วงเดือนกันยายน ปี 2552 ปีเตอร์ รีด ถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากอนาคตที่ไม่แน่นอนในการคุมทีมชาติเพราะรีด มีข่าวว่าจะไปทำงานที่สโมสร สโต๊ค ซิตี้ โดยเป็นผู้ช่วยของ โทนี่ พูลิส ผู้จัดการทีมสโต๊ค ซิตี้

[แก้] การวิพากษ์วิจารณ์

ทีมชาติไทยเคยสร้างความอัปยศโดยพยายามแข่งกันแพ้กับทีมอินโดนีเซียในการแข่งขันไทเกอร์คัพ 1998 ที่โฮจิมินห์ซิตี ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2541 เนื่องจากทั้งสองทีมเข้ารอบรองชนะเลิศแน่นอนแล้ว แต่ผู้ชนะซึ่งจะเป็นที่หนึ่งของกลุ่ม A จะต้องเดินทางไปแข่งในรอบรองชนะเลิศกับทีมชาติเวียดนามที่ฮานอยในวันชาติเวียดนาม ครึ่งแรกต่างฝ่ายต่างพยายามไม่ยิงประตู แต่หลังจากมีการพูดคุยกันระหว่างกรรมการและโค้ช ครึ่งหลังจึงทำประตูได้ทีมละสองประตู จนกระทั่งใกล้หมดเวลา นักเตะของอินโดนีเซียยิงเข้าประตูตัวเอง ทีมชาติไทยจึงชนะไป 3 : 2 ประตู การแข่งขันนัดนี้ทำให้ทั้งสองทีมถูกปรับเป็นเงิน 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ [3][4][5]

[แก้] สนามเหย้า

ดูบทความหลักที่ ราชมังคลากีฬาสถาน
สนามราชมังคลากีฬาสถาน

ราชมังคลากีฬาสถานเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันมีความจุทั้งสิ้น 65,000 ตั้งอยู่ที่บางกะปิ กรุงเทพ สนามสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 1998 และ ใช้เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทยจนถึงปัจจุบัน

สนามอื่นๆ ที่สามารถใช้งานได้

ชุดเหย้าดั้งเดิมของทีมชาติไทย

[แก้] ชุดที่ใช้สำหรับการแข่งขัน

ชุดฟุตบอลทีมชาติไทยเดิมประกอบด้วย เสื้อสีแดง, กางเกงสีแดง และ ถุงเท้าสีแดง โดยชุดอันดับสองประกอบด้วย เสื้อสีน้ำเงิน, กางเกงสีน้ำเงิน และ ถุงเท้าสีน้ำเงิน

จนกระทั่ง ตุลาคม พ.ศ. 2550 ทีมชาติไทยได้ใช้เสื้อสีเหลือง สื่อถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ ใช้กางเกงและถุงเท้าสีเหลือง เป็นชุดอันดับแรก เพื่อเฉลิมพระเกียรติ มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐

ชุดเหย้าฟุตบอลทีมชาติไทยในปี พ.ศ. 2552-2553

[แก้] กำหนดการแข่งขัน และ ผลการแข่งขัน

[แก้] ประวัติในการแข่งขันฟุตบอลโลก

[แก้] ฟุตบอลโลก 2010

จากการจับฉลากสำหรับรอบที่ 1 และ รอบที่ 2 ในการแข่งขันรอบคัดเลือกโซนเอเชีย เพื่อหาตัวแทนไปแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยในรอบที่ 1 ทีมชาติไทยสามารถเอาชนะมาเก๊า ด้วยผลประตูรวม 13-2 และต้องพบกับเยเมนในรอบที่ 2 โดยทีมชาติไทยสามารถเอาชนะด้วยผลประตูรวม 2-1 โดยทีมชาติไทยถูกจับสลากให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับญี่ปุ่น, บาห์เรน, และ โอมาน ในรอบแบ่งกลุ่มรอบแรก

[แก้] เอเอฟซีรอบที่ 3 : กลุ่ม 2

ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย รวม แต้ม
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 6 4 1 1 12 3 +9 13
ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน 6 3 2 1 7 5 +2 11
ธงชาติโอมาน โอมาน 6 2 2 2 5 7 −2 8
ธงชาติไทย ไทย 6 0 1 5 5 14 −9 1
  Flag of บาห์เรน Flag of ญี่ปุ่น Flag of โอมาน Flag of ไทย
บาห์เรน ธงชาติบาห์เรน 1 – 0 1 – 1 1 – 1
ญี่ปุ่น ธงชาติญี่ปุ่น 1 – 0 3 – 0 4 – 1
โอมาน ธงชาติโอมาน 0 – 1 1 – 1 2 – 1
ไทย ธงชาติไทย 2 – 3 0 – 3 0 – 1

[แก้] สถิติฟุตบอลโลก

ดูบทความหลักที่ ทีมชาติไทยในฟุตบอลโลก
ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
ปี ผล อันดับ ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
Flag of อุรุกวัย 1930 to
Flag of เม็กซิโก 1970
ไม่ได้เข้าร่วม - - - - - - - - - - - - -
Flag of เยอรมนีตะวันตก 1974 ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - - 4 0 0 4 0 13
Flag of อาร์เจนตินา 1978 ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - - 4 1 0 3 8 12
Flag of สเปน 1982 ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - - 3 0 1 2 3 13
Flag of เม็กซิโก 1986 ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - - 6 1 2 3 4 4
Flag of อิตาลี 1990 ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - - 6 1 0 5 2 14
Flag of the United States 1994 ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - - 8 4 0 4 13 7
Flag of ฝรั่งเศส 1998 ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - - 4 1 1 2 5 6
Flag of เกาหลีใต้Flag of ญี่ปุ่น 2002 ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - - 14 5 5 4 25 20
Flag of เยอรมนี 2006 ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - - 6 2 1 3 9 10
Flag of สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 2010 ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - - 10 3 2 5 20 17
Flag of บราซิล 2014 รอทำการแข่งขัน - - - - - - -
รวม - - - - - - - 65 18 12 35 89 116

[แก้] ประวัติในการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิค

(ใช้ทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2535)

สถิติในกีฬาโอลิมปิค
ปี รอบ อันดับ ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
Flag of ฝรั่งเศส 1900 to
Flag of ฟินแลนด์ 1952
ไม่เข้าร่วม - - - - - - -
Flag of ออสเตรเลีย 1956 รอบที่ 1 11/11 1 0 0 1 0 9
Flag of อิตาลี 1960 ไม่เข้าร่วม - - - - - - -
Flag of ญี่ปุ่น 1964 ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - -
Flag of เม็กซิโก 1968 รอบที่ 1 16/16 3 0 0 3 1 19
Flag of เยอรมนี 1972 to
Flag of เกาหลีใต้ 1988
ไม่ผ่านเข้ารอบ - - - - - - -
รวม 2/19 - 4 0 0 4 1 28
ประวัติในการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิค
ปี รอบ คะแนน ผลการแข่งขัน
1956 รอบที่ 1 ธงชาติไทย ไทย 0 - 9 Flag of the United Kingdom สหราชอาณาจักร แพ้
1968 รอบที่ 1 ธงชาติไทย ไทย 0 - 7 ธงชาติบัลแกเรีย บัลแกเรีย แพ้
รอบที่ 1 ธงชาติไทย ไทย 1 - 4 ธงชาติกัวเตมาลา กัวเตมาลา แพ้
รอบที่ 1 ธงชาติไทย ไทย 0 - 8 ธงชาติเชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย แพ้

[แก้] สถิติเอเอฟซี เอเชียนคัพ

เอเชียนคัพ นัดแข่งขันกับโอมาน ในปี 2007
เอเชียนคัพรอบสุดท้าย เอเชียนคัพรอบคัดเลือก
ปี ผลการแข่งขัน อันดับ ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
Flag of ฮ่องกง 1956 to Flag of อิสราเอล 1964 ไม่ได้เข้าร่วม - - - - - - - - - - - - -
ประเทศอิหร่าน 1968 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - - 4 2 0 2 5 4
Flag of ไทย 1972 อันดับ 3 5 0 3 2 6 9
ประเทศอิหร่าน 1976 ถอนทีมหลังจากผ่านการคัดเลือก - - - - - - - 4 3 0 1 8 2
Flag of คูเวต 1980 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - - 5 3 0 2 11 3
Flag of สิงคโปร์ 1984 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - - 5 3 0 2 9 10
Flag of กาตาร์ 1988 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - - 5 1 2 2 5 12
Flag of ญี่ปุ่น 1992 รอบที่ 1 3 0 2 1 1 5 2 2 0 0 3 1
Flag of the United Arab Emirates 1996 รอบที่ 1 3 0 0 3 2 13 6 4 2 0 31 5
Flag of เลบานอน 2000 รอบที่ 1 3 0 2 1 2 4 6 4 1 1 13 8
Flag of the People's Republic of China 2004 รอบที่ 1 3 0 0 3 1 9 6 3 0 3 10 7
Flag of อินโดนีเซียFlag of มาเลเซียFlag of ไทยFlag of เวียดนาม 2007 รอบที่ 1 3 1 1 1 3 5
Flag of กาตาร์ 2011 ไม่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก - - - - - -
รวม ดีที่สุด: อันดับ 3 20 1 8 11 15 45 43 25 5 13 95 52

[แก้] สถิติเอเชียนเกมส์

(ใช้ทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2545)

เอเชียนเกมส์
ปี รอบ ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
Flag of อินเดีย 1951 ถึง
Flag of อินโดนีเซีย 1962
ไม่ได้เข้าร่วม
-
-
-
-
-
-
Flag of ไทย 1966
รอบก่อนรองชนะเลิศ
4
1
1
2
5
8
Flag of ไทย 1970
รอบก่อนรองชนะเลิศ
4
1
2
1
6
6
Flag of อิหร่าน 1974
รอบที่ 1
2
0
0
2
2
4
Flag of ไทย 1978
รอบที่ 2
5
2
0
3
6
12
Flag of อินเดีย 1982
รอบที่ 1
3
1
0
2
3
5
Flag of เกาหลีใต้ 1986
รอบที่ 1
4
1
1
2
8
4
Flag of the People's Republic of China 1990
รอบรองชนะเลิศ
6
3
1
2
5
3
Flag of ญี่ปุ่น 1994
รอบที่ 1
4
0
1
3
8
12
Flag of ไทย 1998
รอบรองชนะเลิศ
8
4
1
3
12
10
รวม
ดีที่สุด: รอบรองชนะเลิศ
40
13
7
20
55
64

[แก้] ประวัติการแข่งขันในอาเซียน

[แก้] สถิติอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ

การแข่งขันนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อไทเกอร์คัพ

อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
ปี รอบ ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
Flag of สิงคโปร์ 1996
ชนะเลิศ
6
5
1
0
18
3
Flag of เวียดนาม 1998
อันดับ 4
5
2
2
1
10
10
Flag of ไทย 2000
ชนะเลิศ
5
5
0
0
15
3
Flag of อินโดนีเซีย Flag of สิงคโปร์ 2002
ชนะเลิศ
5
2
2
1
13
7
Flag of มาเลเซีย Flag of เวียดนาม 2004
รอบที่ 1
4
2
1
1
13
4
Flag of สิงคโปร์ Flag of ไทย 2007
รองชนะเลิศ
7
3
3
1
10
4
Flag of อินโดนีเซีย Flag of ไทย 2008
รองชนะเลิศ
7
5
1
1
16
4
รวม
ดีที่สุด: ชนะเลิศ
39
24
10
5
95
35

[แก้] สถิติซีเกมส์

(ใช้ทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2544)

ซีเกมส์
ปี รอบ ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
Flag of ไทย 1959
รองชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
Flag of สหภาพพม่า 1961
อันดับ 3
-
-
-
-
-
-
Flag of มาเลเซีย 1965
ชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
Flag of ไทย 1967
อันดับ 3
-
-
-
-
-
-
Flag of สหภาพพม่า 1969
รองชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
Flag of มาเลเซีย 1971
อันดับ 3
-
-
-
-
-
-
Flag of สิงคโปร์ 1973
รอบที่ 1
-
-
-
-
-
-
Flag of ไทย 1975
ชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
Flag of มาเลเซีย 1977
รองชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
Flag of อินโดนีเซีย 1979
อันดับ 3
-
-
-
-
-
-
Flag of the Philippines 1981
ชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
Flag of สิงคโปร์ 1983
ชนะเลิศ
-
-
-
-
-
-
Flag of ไทย 1985
ชนะเลิศ
4
3
1
0
17
1
Flag of อินโดนีเซีย 1987
อันดับ 3
4
2
1
1
7
3
Flag of มาเลเซีย 1989
รอบรองชนะเลิศ
4
1
2
1
5
3
Flag of the Philippines 1991
รองชนะเลิศ
4
2
1
1
10
2
Flag of สิงคโปร์ 1993
ชนะเลิศ
6
6
0
0
18
6
Flag of ไทย 1995
ชนะเลิศ
6
5
1
0
19
2
Flag of อินโดนีเซีย 1997
ชนะเลิศ
6
4
2
0
15
3
Flag of บรูไน 1999
ชนะเลิศ
6
5
1
0
24
1
รวม
ดีที่สุด: ชนะเลิศ
40
28
9
3
115
21

[แก้] เกียรติยศอื่นๆ

[แก้] ผลงานทีมชาติชุดเยาวชน

[แก้] รายชื่อผู้ฝึกสอนทีมชาติ

ตั้งแต่ (พ.ศ. 2503–ปัจจุบัน)

ชื่อ สัญชาติ คุมทีมระหว่าง สถิติ ผลงาน
ประตู ชนะ เสมอ แพ้ ชนะ %
ประเทียบ เทศวิศาล Flag of ไทย 2508-25??  ?  ?  ?  ?  ?
Peter Schnittger Flag of เยอรมนี 2519-2521  ?  ?  ?  ?  ?
Werner Bickelhaupt Flag of เยอรมนี 2522  ?  ?  ?  ?  ?
ประวิทย์ ไชยสาม Flag of ไทย 2524-25??  ?  ?  ?  ?  ?
ยรรยง ณ หนองคาย Flag of ไทย 2526-25??  ?  ?  ?  ?  ?
Burkhard Ziese Flag of เยอรมนี 2528-2529  ?  ?  ?  ?  ?
คาร์ลอส โรแบร์โต คาร์วัลโญ Flag of บราซิล 2532-2534  ?  ?  ?  ?  ? คิงส์คัพ 1989
4th Place at the เอเชียนเกมส์ 1990
ปีเตอร์ สตัปป์ Flag of เยอรมนี 2535-2537  ? 6 2 1  ?
Worawit Sumpachanyasathit Flag of ไทย 2537  ? 2 3  ?  ?
ชัชชัย พหลแพทย์ Flag of ไทย 2537  ?  ?  ?  ?  ? 1994 Asian Games
อาจหาญ ทรงงามทรัพย์ Flag of ไทย 2539 15 9 3 3 60.0
ธวัชชัย สัจจกุล Flag of ไทย 2539  ?  ?  ?  ?  ? อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 1996
วิทยา เลาหกุล Flag of ไทย 2540-2541 24 10 9 5 41.7
ปีเตอร์ วิธ Flag of อังกฤษ 2541-2545 101 46 25 30 45.5 4th Place at the เอเชียนเกมส์ 1998
อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 2000
คิงส์คัพ 2000
อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 2002
4th Place at the เอเชียนเกมส์ 2002
คาร์ลอส โรแบร์โต คาร์วัลโญ Flag of บราซิล 2546-2547 13 6 2 5 46.1
ชัชชัย พหลแพทย์ Flag of ไทย มิถุนายน - สิงหาคม 2547 8 2 1 5 25.0
ซิกกี เฮลด์ Flag of เยอรมนี สิงหาคม 2547-2548 11 4 4 3 36.4
ชาญวิทย์ ผลชีวิน Flag of ไทย 2548-มิถุนายน 2551 39 18 11 10 46.1 คิงส์คัพ 2006
T&T Cup 2006
คิงส์คัพ 2007
ปีเตอร์ รีด Flag of อังกฤษ กันยายน 2551-กันยายน 2552 15 8 4 3 53.3 T&T Cup 2008
เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2008
ไบรอัน ร็อบสัน Flag of อังกฤษ กันยายน 2552- 8 3 2 3 35

[แก้] กัปตัน

เบอร์เสื้อ ผู้เล่นPlayer ดำรงตำแหน่ง
6 ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน
7 ดัสกร ทองเหลา พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2552
10 ตะวัน ศรีปาน พ.ศ. 2550-พ.ศ. 2551
12

17

นิรุจน์ สุระเสียง

สุธี สุขสมกิจ

พ.ศ. 2549
1

5

กิตติศักดิ์ ระวังป่า

นิเวศ ศิริวงศ์

พ.ศ. 2549, พ.ศ. 2551
6 รุ่งโรจน์ สว่างศรี พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2548
8 เทิดศักดิ์ ใจมั่น พ.ศ. 2546
16 สุรชัย จิระศิริโชติ พ.ศ. 2545
13 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง พ.ศ. 2544-พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2547, พ.ศ. 2550
5 โชคทวี พรมรัตน์ พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2543, พ.ศ. 2546
7 นที ทองสุขแก้ว พ.ศ. 2539-พ.ศ. 2541
14 วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ พ.ศ. 2538

[แก้] ผู้ทำประตูสูงสุด

สถิติ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2552 [6]

อันดับ ผู้เล่น ประตู ช่วงเวลา
1 ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน 119 2524-2540 (FIFA 15)
2 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง 100 2536-2550 (FIFA 65)
3 นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ 55 2510-2522
4 เจษฎาภรณ์ ณ พัทลุง 42 2514-2524
5 วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ 32 2528-2538
6 วรวุฒิ ศรีมะฆะ 29 2539-2542
7 ดาวยศ ดารา 28 2518-2529
8 ศรายุทธ ชัยคำดี 26 2546-2551
9 สุทธา สุดสะอาด 25 2521-??
9 ชลอ หงษ์ขจร 2522-2530
9 เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ 2538-2540
9 เทิดศักดิ์ ใจมั่น 2540-2550
10 ประพนธ์ ตันตริยานนท์ 23 2514-??

[แก้] ผู้เล่นฟุตบอลทีมชาติไทย

ดูบทความหลักที่ รายชื่อนักฟุตบอลทีมชาติไทย

รายชื่อผู้เล่นทีมฟุตบอลชาย 19 คน ที่ถูกเรียกตัวเพื่อเข้าแข่งขันเอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก กลุ่ม อี พบกับ อิหร่าน ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553[7]
จำนวนนัด และ ประตู ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552

หมายเลข ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
18 GK สินทวีชัย หทัยรัตนกุล 23 มีนาคม พ.ศ. 2525 (อายุ 28 ปี) 52 0 Flag of อินโดนีเซีย Persib Bandung
40 GK กวิน ธรรมสัจจานันท์ 26 มกราคม พ.ศ. 2533 (อายุ 20 ปี) 3 0 เมืองทองยูไนเต็ด.jpg เมืองทอง ยูไนเต็ด
6 DF ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ Captain sports.svg 11 มกราคม พ.ศ. 2525 (อายุ 28 ปี) 54 3 เมืองทองยูไนเต็ด.jpg เมืองทอง ยูไนเต็ด
2 DF สุรีย์ สุขะ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 (อายุ 27 ปี) 54 2 Chonburi FC.jpg ชลบุรี
4 DF ชลทิตย์ จันทคาม 2 มิถุนายน พ.ศ. 2528 (อายุ 24 ปี) 14 0 Chonburi FC.jpg ชลบุรี
20 DF ภาณุพงศ์ วงศ์ษา 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (อายุ 26 ปี) 13 0 เมืองทองยูไนเต็ด.jpg เมืองทอง ยูไนเต็ด
52 DF สุทธินันท์ พุกหอม 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 (อายุ 22 ปี) 6 2 Chonburi FC.jpg ชลบุรี
41 DF ปิยะชาติ ถามะพันธ์ 4 เมษายน พ.ศ. 2529 (อายุ 24 ปี) 1 0 เมืองทองยูไนเต็ด.jpg เมืองทอง ยูไนเต็ด
42 MF เทิดศักดิ์ ใจมั่น 29 กันยายน พ.ศ. 2516 (อายุ 36 ปี) 69 22 Chonburi FC.jpg ชลบุรี
7 MF ดัสกร ทองเหลา 30 ธันวาคม พ.ศ. 2526 (อายุ 26 ปี) 69 8 เมืองทองยูไนเต็ด.jpg เมืองทอง ยูไนเต็ด
17 MF สุธี สุขสมกิจ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2521 (อายุ 31 ปี) 66 19 Bangkokglassfc.JPG บางกอกกล๊าส
19 MF พิชิตพงษ์ เฉยฉิว 28 สิงหาคม พ.ศ. 2525 (อายุ 27 ปี) 48 2 เมืองทองยูไนเต็ด.jpg เมืองทอง ยูไนเต็ด
8 MF สุเชาว์ นุชนุ่ม 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 (อายุ 27 ปี) 44 6 Buriram PEA F.C..png บุรีรัมย์-การไฟฟ้า
44 MF ณรงค์ชัย วชิรบาล 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 (อายุ 29 ปี) 32 3 โลโก้สโมสรอินทรีเพื่อนตำรวจ.jpg อินทรีเพื่อนตำรวจ
22 DF รังสรรค์ วิวัฒชัยโชติ 22 มกราคม พ.ศ. 2522 (อายุ 31 ปี) 21 0 Buriram PEA F.C..png บุรีรัมย์-การไฟฟ้า
15 DF สุรัตน์ สุขะ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 (อายุ 27 ปี) 15 0 Flag of ออสเตรเลีย เมลเบิร์นวิกตอรี
14 FW ธีรเทพ วิโนทัย 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 (อายุ 25 ปี) 40 13 เมืองทองยูไนเต็ด.jpg เมืองทอง ยูไนเต็ด
21 FW พิพัฒน์ ต้นกันยา 4 มกราคม พ.ศ. 2522 (อายุ 31 ปี) 33 17 Flag of อินโดนีเซีย Persisam Putra Samarinda
37 FW กีรติ เขียวสมบัติ 12 มกราคม พ.ศ. 2530 (อายุ 23 ปี) 7 1 Buriram PEA F.C..png บุรีรัมย์-การไฟฟ้า

[แก้] ผู้เล่นที่เคยถูกเรียกติดทีมชาติ

รายชื่อผู้เล่นที่เคยถูกเรียกติดทีมชาติในรอบ 12 เดือน:

ชื่อ วันเกิด สโมสร ลงเล่น (ประตู) ติดทีมครั้งล่าสุด
ผู้รักษาประตู
กิตติศักดิ์ ระวังป่า 3 มกราคม พ.ศ. 2518 (อายุ 35 ปี) Flag of ไทย บางกอกกล๊าส 44 (0) ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2010
กองหลัง
ณัฐพงษ์ สมณะ Cruz Roja.svg 29 มิถุนายน พ.ศ. 2527 (อายุ 25 ปี) Flag of ไทย ชลบุรี 33 (1) เอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก กลุ่ม อี v จอร์แดน, 6 มกราคม พ.ศ. 2553
เกียรติประวุฒิ สายแวว 24 มกราคม พ.ศ. 2529 (อายุ 24 ปี) Flag of ไทย ชลบุรี 17 (0) นัดกระชับมิตร v ซีเรีย, 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ปีเตอร์ แลง 16 เมษายน พ.ศ. 2529 (อายุ 24 ปี) Flag of สวิตเซอร์แลนด์ Schaffhausen 3 (0) เอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก กลุ่ม อี v สิงคโปร์, 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
กองกลาง
นิรุจน์ สุระเสียง 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 (อายุ 31 ปี) Flag of เวียดนาม ฮอง อันห์ ยาลาย 47 (5) เอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก กลุ่ม อี v สิงคโปร์, 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
อนาวิน จูจีน 13 มีนาคม พ.ศ. 2530 (อายุ 23 ปี) Flag of ไทย บางกอกกล๊าส 4 (0) ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2010
อดุลย์ หละโสะ 19 กันยายน พ.ศ. 2529 (อายุ 23 ปี) Flag of ไทย ชลบุรี 1 (0) ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2010
Strikers
ธีรศิลป์ แดงดา Cruz Roja.svg 6 มิถุนายน พ.ศ. 2531 (อายุ 21 ปี) Flag of ไทย เมืองทองฯ ยูไนเต็ด 30 (14) เอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก กลุ่ม อี v สิงคโปร์, 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
อานนท์ สังสระน้อย 1 มีนาคม พ.ศ. 2527 (อายุ 26 ปี) Flag of ไทย บีอีซี เทโรศาสน 13 (2) ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2010
สมปอง สอเหลบ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 (อายุ 23 ปี) Flag of ไทย การท่าเรือไทย 3 (0) ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2010

Cruz Roja.svg ถอนตัวเนื่องจากมีอาการบาดเจ็บ
I ถอนตัวเนื่องจากเจ็บป่วย
Red X.svg ถอนออกจากทีมเนื่องจากมีความผิด
S เลือกไว้เป็นตัวสำรอง

[แก้] ผู้เล่นที่โดดเด่นในอดีต

[แก้] ผู้จัดการทีม และ ผู้ฝึกสอน

ผู้จัดการทั่วไป Flag of ไทย ธารา พฤกษ์ชะอุ่ม
ผู้จัดการทีม Flag of ไทย อนุชา นาคาศัย (ประธานสโมสร สโมสรฟุตบอลจังหวัดชัยนาท)
หัวหน้าผู้ฝึกสอน Flag of อังกฤษ ไบรอัน ร็อบสัน
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน Flag of ไทย อรรถพล บุษปาคม
ผู้ฝึกสอน Flag of ไทย ชัยยง ขำเปี่ยม (หัวหน้าผู้ฝึกสอน สโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจ)
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู Flag of ไทย นิพนธ์ มาลานนท์
โค้ชฟิตเนส Flag of บราซิล มาร๋กอส โรดวิเกวซ
นักกายภาพบำบัด Flag of บราซิล ฟาบิโอ เดอคาวัลโญ่ (นักกายภาพบำบัด สโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด)
ผู้จัดการทีม เยาวชนอายุ 23 Flag of ไทย สามารถ มะลูลีม
หัวหน้าโค้ช เยาวชนอายุ 23 Flag of ไทย ตะวัน ศรีปาน (หัวหน้าผู้ฝึกสอน สโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน)
ผู้ฝึกสอน เยาวชนอายุ 23 และ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน เยาวชนอายุ 17 Flag of ไทย สุรชัย จตุรภัทรพงศ์ (หัวหน้าผู้ฝึกสอน สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส)
ผู้จัดการทีม เยาวชนอายุ 19-21 Flag of ไทย วิสิฐ กอวรกุล
หัวหน้าผู้ฝึกสอน เยาวชนอายุ 19-21 Flag of ไทย เฉลิมวุฒิ สง่าพล
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน เยาวชนอายุ 19-21 Flag of ไทย พิชัย คงศรี
ผู้ฝึกสอน เยาวชนอายุ 19-21 Flag of ไทย มานพ นวลสุวรรณ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน เยาวชนอายุ 18 Flag of ไทย กวิน คเชนเดชา
ผู้ฝึกสอน เยาวชนอายุ 18 Flag of ไทย ครองพล ดาวเรือง
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู เยาวชนอายุ 18 Flag of ไทย สมเกียรติ ปัสสาจันทร์ (ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู สโมสรฟุตบอลชลบุรี)
ผู้จัดการทั่วไป เยาวชนอายุ 15-16 Flag of ไทย ชัยโชค พุ่มพวง
ผู้จัดการทีม เยาวชนอายุ 15-16 Flag of ไทย ปวิณ ภิรมย์ภักดี (ประธานสโมสร สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส)
หัวหน้าผู้ฝึกสอน เยาวชนอายุ 15-17 Flag of บราซิล คาร์ลอส โรแบร์โต คาร์วัลโญ (Director of Football สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส)
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน เยาวชนอายุ 15-17 Flag of ไทย ธนิศร์ อารีสง่ากุล (ผู้ฝึกสอน สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส)
ผู้ฝึกสอน เยาวชนอายุ 15-17 Flag of ไทย คารมย์ สินนอก
ผู้ฝึกสอน เยาวชนอายุ 15-17 Flag of ไทย สาโรช เจริญสุข (ผู้ฝึกสอน สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส)
ผู้ฝึกสอน เยาวชนอายุ 15-17 Flag of ไทย อนุกูล กันยายน (ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส)
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู เยาวชนอายุ 15-17 Flag of ไทย ไพศาล จันทร์ประเสริฐ (ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู สโมสรฟุตบอลจังหวัดเชียงราย)

[แก้] ทีมชาติไทยในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม ทีมชาติไทยได้มีการถูกอ้างถึงในหลายสื่อ เช่น ภาพยนตร์หมากเตะรีเทิร์นส, ในการ์ตูนญี่ปุ่นกัปตันซึบาสะ และการ์ตูนไทย มหาสนุก รวมไปถึงยังมีการดัดแปลงเป็นตัวละครในวีดีโอเกมชื่อดังหลาย ๆ เกม เช่น เกมชุดแชมเปียนชิพเมเนเจอร์ เกมชุดฟุตบอลเมเนเจอร์ เกมชุดฟีฟ่า และเกมวินนิงอีเลฟเวนภาค 2000 ยู-23 และล่าสุดกับเกมโปร อีโวลูชั่น ซ็อคเกอร์ 2009 นอกจากนั้นแล้ว โปรแกรมเมอร์ชาวไทยบางคนยังได้นำเกมบางเกมเหล่านี้ เช่น วินนิงอีเลฟเวน หรือแชมเปียนชิพเมเนเจอร์ มาดัดแปลงเพื่อเพิ่มทีมชาติไทย นักฟุตบอลไทย และรายการการแข่งขันที่เกี่ยวข้องกับทีมชาติไทยลงไปอีกด้วย

[แก้] หมากเตะรีเทิร์นส

ในภาพยนตร์หมากเตะรีเทิร์นส เรื่องราวของพงศ์นรินทร์ผู้ฝึกสอนฟุตบอลชาวไทยที่มีฝีมือควบคุมทีมระดับสูงกับน้าสาวเจ๊มิ่งที่ถูกหวยรางวัลที่ 1 โดยทั้งสองคนต้องการพาทีมฟุตบอลไทยไปแข่งฟุตบอลโลกโดยพร้อมที่จะใช้ค่าใช้จ่าย 192 ล้านบาทที่ได้มาจากรางวัล แต่ปรากฏว่าหลังจากคุยกับทาง "สมาพันธ์ฟุตบอลไทย" ทางสมาพันธ์ไม่เห็นด้วยไม่ยอมให้พงศ์นรินทร์มาเป็นผู้ฝึกสอน โดยได้แต่งตั้งให้ผู้ฝึกสอนชาวบราซิลมาควบคุมทีมแทน เจ๊มิ่งกับหลานชายเลยโมโหและเดินทางไป "ราชรัฐอาวี" ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน และสนับสนุนทีมฟุตบอลราชรัฐอาวีจนในที่สุดทีมฟุตบอลอาวีได้ชนะผ่านเข้ารอบจนถึงรอบสุดท้าย และต้องตัดสินกับทีมชาติไทยที่นำโดยผู้ฝึกสอนชาวบราซิล เพื่อจะชิงสิทธิที่จะไปร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลก

[แก้] กัปตันซึบาสะ

บุนนาค สิงห์ประเสริฐ ตัวละครการ์ตูนจากเรื่องกัปตันซึบาสะ เล่นตำแหน่งกองหลังทีมไทย และสโมสรแอทเลติโกมาดริดในสเปน

ในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องกัปตันซึบาสะ ทีมเยาวชนไทยได้แข่งขันกับทีมเยาวชนญี่ปุ่นในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชน โดยทีมไทยมีผู้เล่นหลัก สามพี่น้องนักตะกร้อ ฟ้าลั่น สกุล ชนะ กรสวัสดิ์ เล่นในตำแหน่งกองหน้า และมี บุนนาค สิงห์ประเสริฐ อดีตแชมป์มวยไทย ที่เล่นให้กับสโมสรแอทเลติโกมาดริดในสเปน ในตำแหน่งกองหลัง โดย เป็นกัปตันทีม และเป็นตัวกดดันซึบาสะจนเล่นไม่ออก ในครึ่งแรกนั้นทีมไทยนำทีมญี่ปุ่นถึง 4 ประตูต่อ 1 แต่ในช่วงครึ่งหลัง วากาบายาชิ และ อาโออิ ได้ลงเล่น ทำให้ญี่ปุ่นพลิกล็อกชนะไป 5 ประตูต่อ 4 (วากาบายาชิ ในขณะนั้น ถือว่าเป็นผู้รักษาประตูที่เหนียวมาก)

โดยนิตยสารอะเดย์ฉบับที่ 70 ได้มีการกล่าวถึงการ์ตูนกัปตันซึบาสะ ที่ทีมชาติญี่ปุ่นได้แข่งกับทีมชาติไทยนี้

[แก้] มหาสนุก

ในหนังสือการ์ตูนไทยมหาสนุก ได้เคยมีเรื่องราวเกี่ยวกับฟุตบอลทีมชาติไทย โดยเขียนเป็นเรื่องสั้นมีภาพประกอบโดย เฟน สตูดิโอ พิมพ์ลงในมหาสนุก ฉบับกระเป๋า เล่มที่ 25 เดือน กรกฎาคม 2533 ปักษ์แรก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ หนุ่มไทย 3 คน ที่ชอบเล่นฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจ แต่เนื่องจากไม่มีเงินซื้อลูกฟุตบอล จึงได้ฝึกเล่นฟุตบอลกับลูกมะพร้าวอยู่เป็นเวลานาน จนมาวันหนึ่ง ผู้จัดการทีมชาติไทยได้ขับรถเที่ยวต่างจังหวัด และได้เห็นฝึมือของทั้งสามคนนี้ จึงซื้อลูกฟุตบอลมาให้ พร้อมกับชวนไปเล่นเป็นตัวแทนทีมชาติไทย จนในที่สุด ทีมชาติไทยได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย โดยในระหว่างการแข่งได้เจอกับคู่แข่งที่เก่งกาจไม่ว่านักเตะชื่อดัง อย่าง รุด กุลลิท, ฟาน บาสเทน, และ แกรี ลินิเกอร์ ผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมไทยชนะ และผ่านไปถึงรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งในตอนจบนั้น ทีมชาติไทยกำลังจะทำประตูชนะการแข่งขัน แต่เกิดแผ่นดินไหวขึ้น และโลกระเบิด ทำให้ทีมไทยไม่ได้แชมป์บอลโลกในครั้งนั้น

[แก้] ตำแหน่งชนะเลิศ

สมัยก่อนหน้า โดย
เริ่มการแข่งขัน
อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
1996 (สมัยที่ 1)
สมัยต่อมา โดย
1998 สิงคโปร์ Flag of สิงคโปร์
สมัยก่อนหน้า โดย
1998 สิงคโปร์ Flag of สิงคโปร์
อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ
2000 (สมัยที่ 2)
2002 (สมัยที่ 3)
สมัยต่อมา โดย
2004 สิงคโปร์ Flag of สิงคโปร์

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ สถิติฟุตบอลในโอลิมปิก 1956
  2. ^ บังยีแจงแม้วควักตังค์พาแข้งไทยบินซ้อมที่เรือใบ ข่าวจากสยามกีฬา
  3. ^ The New York Times, Indonesia and Thailand Fined, เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2550
  4. ^ Game Theory and Business Strategy, Autogoal in the Tiger Cup, เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2550
  5. ^ 1998 Tiger Cup - Vietnam, เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2550
  6. ^ Thailand national team's top ten goalscorers The Football History Association of Thailand
  7. ^ รายชื่อนักฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดเตรียมเอเชี่ยนคัพ 2011 รอบคัดเลือก สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

[แก้] เว็บไซต์สนับสนุนฟุตบอลไทย