ฟุตบอลโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำหรับเหตุการณ์ที่จะมาถึงดูที่ ฟุตบอลโลก 2010
ถ้วยรางวัลชูลส์รีเมต์ ถ้วยรางวัลชนะเลิศฟุตบอลโลก ตั้งชื่อตามประธานฟีฟ่า ชูลส์ รีเมต์ เริ่มใช้ตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1930-ฟุตบอลโลก 1974

ฟุตบอลโลก หรือ ฟุตบอลโลกฟีฟ่า (FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศโดยทีมฟุตบอลชายร่วมเข้าแข่ง จัดการแข่งขันโดยฟีฟ่า (ฟีฟ่ายังคงเป็นผู้จัด ฟุตบอลโลกหญิงเช่นกัน) ฟุตบอลโลกเริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2473 ใน ฟุตบอลโลก 1930 และจัดต่อเนื่องมาทุก 4 ปี ยกเว้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (1942, 1946)

ภายหลังจากการแข่งขันรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายจะประกอบด้วยทีมชาติ 32 ทีม (เพิ่มจาก 24 ทีมเป็น 32 ทีมใน ฟุตบอลโลก 1998) ร่วมแข่งขันกันเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน และได้ชื่อว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก โดยใน ฟุตบอลโลก 2002 มีสถิติผู้ชมประมาณ 1,100 ล้านคนทั่วโลก

เมื่อจบการแข่งขันจะมีการมอบรางวัลต่างๆ สำหรับนักฟุตบอลยอดเยี่ยม ดูได้ที่ รางวัลฟุตบอลโลก

สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งต่อไป ฟุตบอลโลก 2010 จะถูกจัดขึ้นที่ ประเทศแอฟริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2553 และฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล ในปี พ.ศ. 2557

เนื้อหา

[แก้] การแข่งขัน

ปี เจ้าภาพ ชิงชนะเลิศFIFA World Cup ชิงอันดับ
ชนะเลิศ ผลการ
แข่งขัน
รองชนะเลิศ อันดับ 3 ผลการ
แข่งขัน
อันดับ 4
ฟุตบอลโลก 1930
(2473)
Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย 4 - 2 Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินา ไม่มีที่ 3 [1]
Flag of the United States.svg สหรัฐอเมริกา และ Naval Ensign of the Kingdom of Yugoslavia.svg ยูโกสลาเวีย
ฟุตบอลโลก 1934
(2477)
Flag of Italy.svg อิตาลี Flag of Italy.svg อิตาลี 2 - 1
ต่อเวลา
Flag of the Czech Republic.svg เช็กโกสโลวาเกีย Flag of the German Empire.svg เยอรมนี 3 - 2 Flag of Austria.svg ออสเตรีย
ฟุตบอลโลก 1938
(2481)
Flag of France.svg ฝรั่งเศส Flag of Italy.svg อิตาลี 4 - 2 Flag of Hungary.svg ฮังการี Flag of Brazil.svg บราซิล 4 - 2 Flag of Sweden.svg สวีเดน
พ.ศ. 2485 และ พ.ศ. 2489 ไม่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก เนื่องจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2
ฟุตบอลโลก 1950
(2493)
Flag of Brazil.svg บราซิล Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย ไม่มี[2] Flag of Brazil.svg บราซิล Flag of Sweden.svg สวีเดน ไม่มี Flag of Spain.svg สเปน
ฟุตบอลโลก 1954
(2497)
Flag of Switzerland.svg สวิตเซอร์แลนด์ Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก 3 - 2 Flag of Hungary.svg ฮังการี Flag of Austria.svg ออสเตรีย 3 - 1 Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย
ฟุตบอลโลก 1958
(2501)
Flag of Sweden.svg สวีเดน Flag of Brazil.svg บราซิล 5 - 2 Flag of Sweden.svg สวีเดน Flag of France.svg ฝรั่งเศส 6 - 3 Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก
ฟุตบอลโลก 1962
(2505)
Flag of Chile.svg ชิลี Flag of Brazil.svg บราซิล 3 - 1 Flag of the Czech Republic.svg เช็กโกสโลวาเกีย Flag of Chile.svg ชิลี 1 - 0 Flag of SFR Yugoslavia.svg ยูโกสลาเวีย
ฟุตบอลโลก 1966
(2509)
Flag of England.svg อังกฤษ Flag of England.svg อังกฤษ 4 - 2
ต่อเวลา
Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก Flag of Portugal.svg โปรตุเกส 2 - 1 Flag of the Soviet Union.svg โซเวียต
ฟุตบอลโลก 1970
(2513)
Flag of Mexico.svg เม็กซิโก Flag of Brazil.svg บราซิล 4 - 1 Flag of Italy.svg อิตาลี Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก 1 - 0 Flag of Uruguay.svg อุรุกวัย
ฟุตบอลโลก 1974
(2517)
Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก 2 - 1 Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์ Flag of Poland.svg โปแลนด์ 2 - 1 Flag of Brazil.svg บราซิล
ฟุตบอลโลก 1978
(2521)
Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินา Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินา 3 - 1
ต่อเวลา
Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์ Flag of Brazil.svg บราซิล 2 - 1 Flag of Italy.svg อิตาลี
ฟุตบอลโลก 1982
(2525)
Flag of Spain.svg สเปน Flag of Italy.svg อิตาลี 3 - 1 Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก Flag of Poland.svg โปแลนด์ 3 - 2 Flag of France.svg ฝรั่งเศส
ฟุตบอลโลก 1986
(2529)
Flag of Mexico.svg เม็กซิโก Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินา 3 - 2 Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก Flag of France.svg ฝรั่งเศส 4 - 2
ต่อเวลา
Flag of Belgium.svg เบลเยียม
ฟุตบอลโลก 1990
(2533)
Flag of Italy.svg อิตาลี Flag of Germany.svgเยอรมนีตะวันตก 1 - 0 Flag of Argentina.svg อาร์เจนตินา Flag of Italy.svg อิตาลี 2 - 1 Flag of England.svg อังกฤษ
ฟุตบอลโลก 1994
(2537)
Flag of the United States.svg สหรัฐอเมริกา Flag of Brazil.svg บราซิล 0 - 0
(3 - 2)
(ลูกโทษ)
Flag of Italy.svg อิตาลี Flag of Sweden.svg สวีเดน 4 - 0 Flag of Bulgaria.svg บัลแกเรีย
ฟุตบอลโลก 1998
(2541)
Flag of France.svg ฝรั่งเศส Flag of France.svg ฝรั่งเศส 3 - 0 Flag of Brazil.svg บราซิล Flag of Croatia.svg โครเอเชีย 2 - 1 Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์
ฟุตบอลโลก 2002
(2545)
Flag of South Korea.svg เกาหลีใต้
และ Flag of Japan.svg ญี่ปุ่น
Flag of Brazil.svg บราซิล 2 - 0 Flag of Germany.svg เยอรมนี Flag of Turkey.svg ตุรกี 3 - 2 Flag of South Korea.svg เกาหลีใต้
ฟุตบอลโลก 2006
(2549)
Flag of Germany.svg เยอรมนี Flag of Italy.svg อิตาลี 1 - 1
(5 - 3)
(ลูกโทษ)
Flag of France.svg ฝรั่งเศส Flag of Germany.svg เยอรมนี 3 - 1 Flag of Portugal.svg โปรตุเกส
ฟุตบอลโลก 2010
(2553)
Flag of South Africa.svg แอฟริกาใต้
ฟุตบอลโลก 2014
(2557)
Flag of Brazil.svg บราซิล

[แก้] ผู้ชนะเลิศฟุตบอลโลก

แผนที่แสดงความสำเร็จ ของฟุตบอลทีมชาติแต่ละประเทศ สีต่างๆ แสดงความสำเร็จของแต่ละประเทศ และจุดแสดงถึงได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ
  1. Flag of Brazil.svg ฟุตบอลทีมชาติบราซิล - 1958, 1962, 1970, 1994, 2002 (5 ครั้ง)
  2. Flag of Italy.svg ฟุตบอลทีมชาติอิตาลี - 1934, 1938, 1982, 2006(4 ครั้ง)
  3. Flag of Germany.svg ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี - 1954, 1974, 1990 (3 ครั้ง)
  4. Flag of Argentina.svg ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา - 1978, 1986 (2 ครั้ง)
    Flag of Uruguay.svg ฟุตบอลทีมชาติอุรุกวัย - 1930, 1950 (2 ครั้ง)
  5. Flag of England.svg ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ - 1966 (1 ครั้ง)
    Flag of France.svg ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส - 1998 (1 ครั้ง)

[แก้] ความสำเร็จแบ่งตามทวีป

ทวีป ผลงานที่ดีที่สุด
อเมริกาใต้ ชนะเลิศ 9 ครั้ง โดย บราซิล อาร์เจนตินา อุรุกวัย
ยุโรป ชนะเลิศ 9 ครั้ง โดย อิตาลี เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส
อเมริกาเหนือ รอบรองชนะเลิศ สหรัฐอเมริกา (1930)
เอเชีย รอบรองชนะเลิศ เกาหลีใต้ (2002)
แอฟริกา รอบก่อนรองชนะเลิศ แคเมอรูน (1990) และ ซีนีกัล (2002)
โอเชียเนีย รอบ 16 ทีมสุดท้าย ออสเตรเลีย (2006)

[แก้] สถิติสำคัญ

[แก้] ผู้เล่นทำประตูสูงสุดในฟุตบอลโลก

อันดับ ผู้เล่น, ทีม ประตูที่ได้ ทัวร์นาเมนต์ / เกมที่ลงเล่น
1 โรนัลโด้, บราซิล 15 4 ครั้ง 1994 1998 2002 2006 (18 นัด, ไม่ได้ลงเล่นใน 1994)
2 เกิร์ด มุลเลอร์, เยอรมนี 14 2 ครั้ง 1970 1974 (14 นัด)
3 ชุสต์ ฟงแตน, ฝรั่งเศส 13 1 ครั้ง 1958 (6 นัด)
4 เปเล่, บราซิล 12 4 ครั้ง 1958 1962 1966 1970 (14 นัด)
5 ซานดอร์ โคซ์ชิส, ฮังการี 11 1 ครั้ง 1954 (5 นัด)
5 เยอร์เกน คลินส์มัน, เยอรมนี 11 3 ครั้ง 1990 1994 1998 (17 นัด)

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ในปี ค.ศ. 1930 การแข่งขันฟุตบอลโลก ไม่มีการจัดแข่งขันชิงที่ 3 โดยทีมชาติสหรัฐอเมริกา และยูโกสลาเวีย แพ้ในรอบรองชนะเลิศ
  2. ^ ไม่มีนัดชิงชนะเลิศในฟุตบอลโลก 1950 เพราะการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศใช้แบบ 4 ทีม แต่ชัยชนะของอุรุกวัยต่อบราซิล 2-1 เป็นการตัดสินเพราะแต้มเพียงพอต่อการเป็นแชมป์ อันดับในรอบชิงชนะเลิศ: (1) อุรุกวัย (2) บราซิล (3) สวีเดน (4) สเปน

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น