เกาะสุมาตรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สุมาตรา
แผนที่เกาะสุมาตรา
แผนที่เกาะสุมาตรา
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด 0°00′N 102°00′E
กลุ่มเกาะ หมู่เกาะซุนดาใหญ่
เนื้อที่ 470,000 ตารางกิโลเมตร
จุดสูงสุด เกรินจี (3,805 เมตร)
การบริหาร
Flag of อินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย
จังหวัด อาเจะห์ เบงกูลู จัมบี ลัมปุง รีเยา สุมาตราตะวันตก สุมาตราใต้ สุมาตราเหนือ
เมืองใหญ่สุด เมดาน (2,392,922 ในปี 2546)
ประชากรศาสตร์
จำนวนประชากร 45 ล้านคน (ในปี 2548)
ความหนาแน่น 96 คน/ตารางกิโลเมตร
ชนพื้นเมือง อาเจะห์ บาตัก มีนังกาเบา มาเลย์

เกาะสุมาตรา (Sumatra หรือ Sumatara หรือ Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.²) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย

[แก้] ที่มาของชื่อ

ในสมัยโบราณ เกาะแห่งนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาสันสกฤตว่า สุวรรณทวีป (เกาะทอง) และสุวรรณภูมิ (แผ่นดินทอง) ทั้งนี้ก็เพราะมีการพบทองคำบนที่ราบสูงของเกาะแห่งนี้ ส่วนนักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับ เรียกเกาะนี้หลายชื่อ ได้แก่ ลามรี, ลามุรี, ลามบรี และรามนี (Lamri , Lamuri, Lambri , Ramni) ในคริสต์ศตวรรษที่ 10- 13 โดยหมายถึงอาณาจักรที่อยู่ใกล้กับเมืองบันดุงอาเจะห์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นจุดแรกที่พ่อค้าที่เดินเรือมักแวะมาขึ้นฝั่ง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ชื่อสุมาตราเป็นที่นิยมเรียกกันมาก โดยหมายถึงอาณาจักรซามูดรา (สมุทร) ซึ่งกำลังเรืองอำนาจ แต่นักเขียนชาวยุโรปในศตวรรษที่ 19 พบว่าชาวพื้นเมืองไม่มีคำเรียกชื่อเกาะแห่งนี้

[แก้] ภูมิศาสตร์

แกนที่ยาวที่สุดของเกาะอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือไปตะวันออกเฉียงใต้ โดยผ่านเส้นศูนย์สูตรตรงกลาง พื้นที่ด้านในของเกาะแบ่งเป็น 2 เขตทางภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ คือ เทือกเขาบารีซัน (Barisan Mountains) ทางตะวันตกและพื้นที่ลุ่มทางตะวันออก

ทางตะวันออกเฉียงใต้คือเกาะชวา แบ่งด้วยช่องแคบซุนดา ทางเหนือคือคาบสมุทรมาเลย์ แบ่งด้วยช่องแคบมะละกา ทางตะวันออกคือเกาะบอร์เนียว แบ่งด้วยช่องแคบการีมาตา (Karimata Strait) ทางตะวันตกของเกาะคือมหาสมุทรอินเดีย

สันหลังของเกาะคือเทือกเขาบาริซาน ภูเขาไฟในภูมิภาคนี้ทำให้เกาะนี้มีทั้งพื้นดินอุดมสมบูรณ์และทัศนียภาพอันสวยงามเช่น รอบ ๆ ทะเลสาบโตบา (Lake Toba) นอกจากนี้ ยังมีแร่ถ่านหินและทองคำด้วย

ทางะวันออก แม่น้ำใหญ่พัดพาเอาตะกอนดินจากภูเขา ทำให้เกิดลุ่มกว้างขวาง พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะสำหรับการเกษตร อย่างไรก็ดี พื้นที่นี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่ออินโดนีเซียเป็นอย่างมาก สุมาตราผลิตน้ำมันทั้งจากบนดินและใต้ดิน ("from above the soil and underneath") กล่าวคือ ผลิตทั้งน้ำมันปาล์มและปิโตรเลียม

พื้นที่ส่วนใหญ่ของสุมาตราเคยปกคลุมด้วยป่าชื้นเขตร้อน เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ลิงอุรังอุตัง สมเสร็จ และ เสือสุมาตรา และพืชพรรณที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น แรฟเฟิลเซีย (Rafflesia) อย่างไรก็ดี การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ร่วมกับการคอร์รัปชันและการทำไม้ผิดกฎหมาย ทำให้มีพื้นที่ลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ พื้นที่อนุรักษ์ยังถูกทำลายด้วย

[แก้] ดูเพิ่ม

Gnome-globe.svg เกาะสุมาตรา เป็นบทความเกี่ยวกับ แม่น้ำ ภูเขา หรือสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ เกาะสุมาตรา ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ