สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

King narai 7 img 9114.jpg
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ (พ.ศ. ๒๑๗๕ - พ.ศ. ๒๒๓๑ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๒๓๑) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒๗ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระเกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติและรับผลประโยชน์ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุดในยุคนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยูธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมาก คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า ลัทธิคริสต์ศาสนา และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก

ในรัชสมัยของพระองค์นั้น ชาวฮอลันดาได้กีดกันการเดินเรือค้าขายของไทย ครั้งหนึ่งถึงกับส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทำสัญญายกประโยชน์การค้าให้ตามที่ต้องการ แต่เพื่อป้องกันมิให้ฮอลันดาข่มเหงไทยอีก สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงสร้างเมืองลพบุรีไว้เป็นเมืองหลวงสำรอง อยู่เหนือขึ้นไปจากกรุงศรีอยุธยา และเตรียม สร้างป้อมปราการไว้คอยต่อต้านข้าศึก เป็นเหตุให้บาทหลวงฝรั่งเศสที่มีความรู้ทางการช่าง และต้องการเผยแผ่คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาอาสาสมัครรับใช้ราชการจัดกิจการเหล่านี้ ข้าราชการฝรั่งที่ทำราชการมีความดีความชอบในการปรับปรุงขยายการค้าของไทยขณะนั้นคือ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ซึ่งกำลังมีข้อขุ่นเคืองใจกับบริษัทการค้าของอังกฤษที่เคยคบหาสมาคมกันมาก่อน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ จึงดำเนินการเป็นคนกลาง สนับสนุนทางไมตรีระหว่างสมเด็จพระนารายณ์กับทางราชการฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งราชวงศ์บูร์บงฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์กำลังมีพระทัยระแวงเกรงฮอลันดายกมาย่ำยี และได้ทรงทราบถึงพระเดชานุภาพของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในยุโรปมาแล้ว จึงเต็มพระทัยเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ไว้ เพื่อให้ฮอลันดาเกรงขาม ด้วยเหตุนี้ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีการส่งทูตฝรั่งเศสไปสู่พระราชสำนักฝรั่งเศส และต้อนรับคณะทูตฝรั่งเศสอย่างเป็นงานใหญ่ถึงสองคราว แต่การคบหาสมาคมกับชาติมหาอำนาจคือฝรั่งเศสในยุคนั้น ก็มิใช่ว่าจะปลอดภัยนัก ด้วยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มีพระราโชบายที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ และประชาชนชาวไทยรับนับถือคริสต์ศาสนา ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสนำมาเผยแผ่ โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียมบาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย แต่สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณตอบปฏิเสธอย่างทะนุถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัยรักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ร่วมศาสนาด้วย แต่เนื่องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบคนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิดหลายประเภทก็ได้ หากพระเป็นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือศาสนาตามแบบตามลัทธิที่พระเจ้าหลุยส์ทรงนับถือแล้ว พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ พระองค์ท่านก็ไม่รังเกียจที่จะทำพิธีรับศีลร่วมศาสนาเดียวกัน

สมเด็จพระนารายณ์มิใช่เพียงทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการทูตเท่านั้น หากทรงเป็นกวีและทรงอุปถัมภ์กวีในยุคของพระองค์อย่างมากมาย กวีลือนามแห่งรัชสมัยของพระองค์ก็ได้แก่ พระโหราธิบดี หรือพระมหาราชครู ผู้ประพันธ์หนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และตอนหนึ่งของเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ (อีกตอนหนึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์) กวีอีกผู้หนึ่งคือ ศรีปราชญ์ ผู้เป็นปฏิภาณกวี เป็นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนุรุทรคำฉันท์ด้วยพระปรีชาสามารถดังได้บรรยายมาแล้ว สมเด็จพระนารายณ์จึงได้รับการถวายพระเกียรติเป็น มหาราช พระองค์หนึ่ง

เนื้อหา

[แก้] พระราชประวัติ

ตราพระราชลัญจกร พระบรมราชโองการ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกัลยาณี อัครราชเทวี พระราชมารดาเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อ วันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. ๒๑๗๕ และทรงมีพระนมอยู่พระองค์หนึ่งคือ เจ้าแม่วัดดุสิต ทรงเป็นพระอนุชาใน สมเด็จเจ้าฟ้าไชย และยังทรงมีพระอนุชาอีกได้แก่

  • เจ้าฟ้าอภัยทศ
  • พระไตรภูวนาทิตยวงศ์
  • พระองค์ทอง และ
  • พระอินทราชา

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีพระขนิษฐาร่วมพระชนนีองค์หนึ่ง คือ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุวรรณ กรมหลวงโยธาทิพ

ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่าว่าเมื่อแรกเสด็จพระบรมราชสมภพนั้น พระองค์มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้านรินทร์" แต่เมื่อขึ้นพระอู่ พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า "พระนารายณ์" ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์

พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหารย์อยู่มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อนๆ ด้วยเหตุนี้เองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหารย์มหัศจรรย์ตามลำดับ คือ

  • เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ ๕ พรรษา ขณะเล่นน้ำ พระองค์ทรงถูกอสนีบาต พวกพี่เลี้ยง นางนม สลบหมดสิ้น แต่พระองค์ไม่เป็นไรแม้แต่น้อย
  • เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ ๙ พรรษา พระองค์ทรงถูกอสนีบาตที่พระราชวังบางปะอิน แต่พระองค์ก็ปลอดภัยดี

สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร

พระราชานุสาวรีย์ องค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

[แก้] พระนามเต็ม

ตามหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา "สมเด็จพระบรมราชาธิราชธิบดีศรีสรรเพชญ บรมมหาจักรพรรดิศวรราชาธิราชราเมศวร ธรรมธราธิบดี ศรีสฤฎิรักษสังหารจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดีดินทร หริหรินทรธาดาธิบดี ศรีวิบุลยคุณอกนิฐ จิตรรุจีตรีภูวนาทิตย์ ฤทธิพรหมเทพาดิเทพบดินทร์ ภูมินทราธิราช รัตนากาศมนุวงศ์องค์เอกาทศรสรุทร์ วิสุทธยโศดม บรมอาชวาธยาศรัย สมุทัยตโรมนต์ อนนตคุณวิบุลยสุนทรบวรธรรมมิกราชเดโชไชย ไตรโลกนาถบดินทร์ วรินทราธิราชชาติพิชิต ทิศพลญาณสมันตมหันตวิปผาราฤทธิวิไชย ไอศวรรยาธิบัติขัตติยวงศ์ องค์ปรมาธิบดีตรีภูวนาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธ มกุฎรัตนโมฬี ศรีปทุมสุริยวงศ์ องค์สรรเพชญ์พุทธางกูร บรมบพิตร"

[แก้] ครองราชย์สมบัติ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๐๑๘ ปีวอก (ตรงกับวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๑๙๙) มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า 'สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๒๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะทรงมีพระชนมายุ ๒๕ พรรษา

หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ ๑๐ ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๐๙ และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุกๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน กระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา ๓๒ ปี มีพระชนมายุ ๕๖ พรรษา

ภาพสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จออก โปรดเกล้าฯ ให้คณะราชทูตจากฝรั่งเศสเข้าเฝ้า

[แก้] พระราชโอรส-ธิดา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงมีพระราชโอรส และธิดา ได้แก่

นอกจากนี้ยังมีพระโอรสบุญธรรม คือ พระปีย์ หรือบางแห่งเรียก พระปิยะ

[แก้] พระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่ง ทรงสร้างความรุ่งเรือง และความยิ่งใหญ่ให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก โดยทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองพม่าอีกหลายเมืองได้แก่ เมืองจิตตะกอง สิเรียม ย่างกุ้ง แปร ตองอู หงสาวดี และมีกำลังสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์นั้นสามารถยึดหัวเมืองของพม่าได้คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี

[แก้] การต่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ชาวกรีกที่รับราชการตำแหน่งสูงถึงที่ สมหุนายกขณะเดียวกันยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ถึง ๔ ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย

[แก้] พระราชปณิธาน

Cquote1.svg

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะให้เราเข้ารีตดังนั้นหรือ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะในราชวงศ์ของเราก็ได้นับถือพระพุทธศาสนามาช้านานแล้ว จะให้เราเปลี่ยนศาสนาอย่างนี้เป็นการยากอยู่ และถ้าพระเจ้าผู้สร้างฟ้าสร้างดินจะต้องการให้คนทั่วโลกได้นับถือศาสนาอันเดียวกันแล้ว พระเจ้ามิจัดการให้เป็นเช่นนั้นเสียแล้วหรือ"

จริงอยู่เมื่อฟอลคอน ในเวลาหมอบอยู่ข้างพระบาทพระเจ้ากรุงสยามได้แปลคำชักชวนที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้รับสั่งมากับราชทูตนั้น ฟอลคอนก็กลัวจนตัวสั่น และสมเด็จพระนารายณ์ ทรงพระกรุณาโปรดให้อภัยแก่ฟอลคอน แต่ก็ได้รับสั่งว่า ได้ทรงนับถือศาสนาอันได้นับถือต่อๆ กันมาถึง 2,229 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นที่จะให้พระองค์เปลี่ยนศาสนาเสียนั้น เป็นการที่พระองค์จะทำไม่ได้

Cquote2.svg
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

[แก้] วรรณกรรม

เข้าไปดูบทความเฉพาะของเรื่องนี้ วรรณกรรมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

ชาวสยามวาดโดยทูตชาวฝรั่งเศส ลาลูแบร์

วรรณกรรมที่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เช่น

  • สมุทรโฆษคำฉันท์ ส่วนตอนต้นเชื่อกันว่าพระมหาราชครูเป็นผู้แต่งแต่ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์จึงพระราชนิพนธ์ต่อ โดยเริ่มที่ตอน พิศพระกุฎีอาศรมสถานตระกาลกล ไปจนถึง ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น
  • คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นผลงานของขุนเทพกวี สันนิษฐานว่าแต่งในคราวสมโภชขึ้นระวางเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๓ เป็นต้น

ทั้งยังส่งเสริมงานงานกวี ทำให้มีหนังสื่อเรื่องสำคัญๆ ในรัชสมัยนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี (จัดเป็นตำราเรียนเล่มแรกของประเทศไทย) และอนิรุทธคำฉันท์ เป็นต้น

[แก้] งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดขึ้นครั้งแรกระหว่างวันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2542 ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เกิดขึ้นจากแนวคิดของชมรมอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี กับนายเชาวน์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีในขณะนั้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงสร้างเมืองลพบุรีให้เจริญรุ่งเรือง อีกประการหนึ่งคือต้องการพัฒนาจังหวัดลพบุรีให้เป็นเมืองท่องเที่ยว การจัดงานครั้งแรกตั้งชื่องานว่า "นารายณ์รำลึก" ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ "งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์"

งานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของลพบุรีถูกถ่ายทอดการจัดงานโดยมีการตั้งคณะกรรมการกว่า 20 คณะ รูปแบบของงานมีทั้งภาคกลางวันและกลางคืนมีการจำลองเหตุการณ์ในครั้งประวัติศาสตร์ มีขบวนแห่ของชาติต่างๆที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีและเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร มีการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนและคำประพันธ์ต่างๆ มีร้านจำหน่ายและสาธิตสินค้า ตลอดจนขนมหวานในสมัยนั้น มีการจุดประทีปโคมไฟให้เหมือนราตรีแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในอดีตมีการประกวดการแต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รวมทั้ง ส่งเสริมให้ชาวลพบุรีแต่งกายไทยทั้งเมืองซึ่งมีผู้ให้ความสนใจและร่วมงานทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากมาย

[แก้] ชื่อสถานที่อันเนื่องด้วยพระนามาภิไธย

[แก้] พระราชตระกูล

พระตระกูลในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (โดยสมมติฐาน)

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฎพระนาม
สืบเชื้อสายจากราชวงศ์พระร่วง
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฎพระนาม
ราชนิกูลในราชวงศ์สุพรรณภูมิ
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเอกาทศรถ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
 
 
 
 
 
 
 
พระวิสุทธิกษัตริย์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระศรีสุริโยทัย
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางอิน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเอกาทศรถ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระวิสุทธิกษัตริย์
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระสนมไม่ปรากฎพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระนางสิริกัลยาณี อัครราชเทวี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฎพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

  • ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
  • Cruysse, Dirk van der (2002). Siam and the West. Chiang Mai: Silkworm
  • Marcinkowski, M. Ismail (2005). From Isfahan to Ayutthaya: Contacts between Iran and Siam in the 17th Century. With a foreword by Professor Ehsan Yarshater, Columbia University . Singapore: Pustaka Nasional
  • Muhammad Rabi' ibn Muhammad Ibrahim, J. O'Kane (trans.) (1972). The Ship of Sulaiman. London: Routledge
  • Smithies, M. (1999). A Siamese Embassy Lost in Africa, 1686. Chiang Mai: Silkworm
  • Smithies, M., Bressan, L., (2001). Siam and the Vatican in the Seventeenth Century. Bangkok: River
  • Smithies, M., Cruysse, Dirk van der (2002). The Diary of Kosa Pan: Thai Ambassador to France, June-July 1686. Seattle: University of Washington Press
  • Wyatt, DK (1984). Thailand: A Short History. Chiang Mai: Silkworm
สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยถัดไป
พระศรีสุธรรมราชา
ราชวงศ์ปราสาททอง
2leftarrow.png พระมหากษัตริย์ไทย
อาณาจักรอยุธยา

(พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑)
2rightarrow.png สมเด็จพระเพทราชา
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง