ถนนวิภาวดีรังสิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ป้ายหมายเลขทางหลวงของถนนวิภาวดีรังสิต

ถนนวิภาวดีรังสิต (Vibhavadi Rangsit Road) หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 (ดินแดง - บรรจบทางหลวงหมายเลข 1 (อนุสรณ์สถานแห่งชาติ) เริ่มต้นตั้งแต่เขตพญาไท ผ่านพื้นที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ และเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ไปบรรจบกับถนนพหลโยธินที่ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จากจุดเริ่มต้นที่สามแยกดินแดง (จุดบรรจบถนนดินแดงและเชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วน 1) สายดินแดง-ท่าเรือ) ถนนสายนี้ตัดผ่านสี่แยกสุทธิสาร (ตัดถนนสุทธิสาร) ห้าแยกลาดพร้าว (ตัดถนนพหลโยธิน โดยมีถนนลาดพร้าวมาบรรจบเป็นแยกที่ห้า) สี่แยกบางเขน (ตัดถนนงามวงศ์วานหรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302) สี่แยกหลักสี่ (ตัดถนนแจ้งวัฒนะหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304) ไปสิ้นสุดที่สามแยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ (จุดบรรจบถนนพหลโยธิน หรือ ทางหลวงหมายเลข 1) ถนนสายนี้มีลักษณะเป็นทางหลวงพิเศษหรือ superhighway ซึ่งแบ่งช่องทางเดินรถเป็นทางด่วนหรือทางหลัก (main road) และทางคู่ขนาน (frontage road) ยกเว้นช่วงที่ผ่านหน้าท่าอากาศยานดอนเมืองจะไม่แบ่งเป็นช่องทางด่วนและทางคู่ขนานเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดเพราะถูกขนาบด้วยสนามบินและทางรถไฟ ปัจจุบันมีทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) เป็นทางด่วนพิเศษยกระดับเก็บค่าผ่านทาง อยู่เหนือถนนวิภาวดีรังสิตด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้เดินทางที่ต้องการความรวดเร็วกว่าเดิม

ถนนวิภาวดีรังสิต

ถนนวิภาวดีรังสิตตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต ซึ่งพระนามเดิมคือหม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต พระธิดาในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายในที่บำเพ็ญพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง ได้ทรงรับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโดยเสด็จเยี่ยมราษฎรในเขตที่ผู้ก่อการร้ายปฏิบัติการอยู่ จนกระทั่งเฮลิคอปเตอร์ที่เสด็จถูกผู้ก่อการร้ายระดมยิงจนสิ้นชีพิตักษัยในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต และรัฐบาลได้นำพระนามมาเป็นชื่อถนนซึ่งเป็นทางหลวงหมายเลข 31 ซึ่งเดิมคนทั่วไปมักเรียกว่า "ถนนซูเปอร์ไฮเวย์"

อนึ่ง ถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งตะวันออก ช่วงตั้งแต่แยกดินแดงถึงคลองบางซื่อ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตพญาไทกับเขตดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิตช่วงตั้งแต่ถนนแจ้งวัฒนะถึงสนามบินดอนเมืองเดิมเป็นถนนท้องถิ่นมีชื่อว่า "ถนนศรีรับสุข"

[แก้] สถานที่สำคัญ


Thai Highway Blank.svg ทางหลวงในประเทศไทย
ทางหลวงแผ่นดิน 1 2 3 4
11 12 21 22 23 24
31 32 33 34 35 36 37
41 42 43 44
ทางหลวงพิเศษ 5 6 7 8 9
51 61 62 71 81 83 84 91
รายชื่อทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย


Mass transport png8.png ถนนวิภาวดีรังสิต เป็นบทความเกี่ยวกับ การเดินทาง การคมนาคม และการขนส่ง ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ถนนวิภาวดีรังสิต ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น