ทรูวิชั่นส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
ประเภท บริษัทมหาชน
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2541
สำนักงานใหญ่ 118/1 อาคารทิปโก้ ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400
บุคลากรหลัก นายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ
(กรรมการผู้จัดการ)
อุตสาหกรรม กิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกในประเทศไทย
ผลิตภัณฑ์ กิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกในประเทศไทย
คำขวัญ เปิดมุมมองใหม่ให้ชีวิต เปิดทรูวิชั่นส์
เว็บไซต์ www.truevisionstv.com

สถานีโทรทัศน์เคเบิลทรูวิชั่นส์ หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อเดิมว่า ยูบีซี เป็นสถานีโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายใต้การบริหารของบริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: True Visions Public Company Limited)ในเครือของ ทรู คอร์ปอเรชั่น สำนักงานตั้งอยู่ที่ ถนนพระรามที่ 6 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมี นายสุภกิต เจียรวนนท์ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริษัท และกรรมการบริหาร และนายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ เป็นกรรมการผู้จัดการ ทรูวิชั่นส์มีสโลแกนที่ว่า เปิดชีวิตมุมมองใหม่ เปิด ทรูวิชั่นส์

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

[แก้] ไอบีซี และ ยูทีวี

ยูบีซี เกิดจากการรวมกิจการของ บริษัท อินเตอร์ เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (ไอบีซี) และ บริษัท ยูทีวี เคเบิล เน็ตเวิร์ค จำกัด (ยูทีวี หรือ ยูนิเวอร์แซล ทีวี) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเคเบิลทีวี 2 รายใหญ่ในประเทศไทย

[แก้] การรวมกิจการเป็นยูบีซี

เนื่องจากเกิด วิกฤตเศรษฐกิจในประเทศไทย พ.ศ. 2540 ทำให้ไอบีซีและยูทีวีต้องหาทางอยู่รอด โดยการควบกิจการ เพื่อลดค่าใช้จ่าย [1] โดยสามารถใช้ทรัพยากรของบริษัทในเครือได้อย่างเต็มที่ คือทั้งระบบสัญญาณผ่านดาวเทียมไทยคม และ คลื่นไมโครเวฟ MMDS ของกลุ่มชินวัตร (แต่ภายหลังออกอากาศทางคลื่น, ระบบไมโครเวฟแบบ MMDS เพียง 2 ช่อง คือ นิวส์24 และ ช็อปปิ้งแอทโฮม ซึ่งสามารถรับชมได้ฟรี ผ่านเสาอากาศรับสัญญาณ ระบบ MMDS) และระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงและโคแอกเชียลของเทเลคอมเอเชีย โดยในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ไอบีซีเป็นฝ่ายซื้อยูทีวี โดยวิธีการแลกหุ้น และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ ยูบีซี แต่หลังจากนั้นไม่นาน กลุ่มของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ขายหุ้นทั้งหมดของตนในยูบีซี ให้กับเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุคแรก ยูบีซี ออกอากาศผ่านดาวเทียมด้วยดาวเทียม ไทยคม 1 (แต่ปัจจุบันเป็นดาวเทียม ไทยคม 5) ในขณะเดียวกัน ยูบีซีได้จดทะเบียนเข้าอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชื่อย่อว่า UBC

พ.ศ. 2549 ได้เลิกการซื้อขายกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจาก MIH ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้ขายหุ้นทั้งหมดให้ทรู คอร์ปอเรชั่น ทำให้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ร้อยละ 98) และได้ประกาศซื้อหุ้นยูบีซีจากผู้ถือหุ้นรายย่อยในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2549 ทำให้ทรูกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในยูบีซี และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น ยูบีซี ทรู

ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2550 ทางยูบีซีได้มีการจัดลำดับช่องรายการใหม่ทั้งหมด และได้ทำการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท รวมถึงเครื่องหมายการค้าใหม่ จาก ยูบีซี ทรู เป็น ทรูวิชั่นส์ เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจเข้ากลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ตามยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ รวมทั้งปรับผังรายการ เพิ่มเนื้อหา ตลอดจนปรับแพคเกจต่างๆ โดยมุ่งหวังจะขยายฐานลูกค้า ช่องที่เป็นของ UBC เดิม ที่มีชื่อ UBC..จึงได้เปลี่ยนเป็น true... จนถึงปัจจุบัน

ในปัจจุบัน ทรูวิชั่นส์ ออกอากาศด้วยระบบใหม่ คือ TrueIPTV รวมถึงเพิ่มช่องสัญญาณใหม่ เช่น จีสแควร์ ทรู มิวสิก ทรู เอกซ์พลอร์1 ทรู เอกซ์พลอร์2 ทรู เอกซ์พลอร์3 และยุติการส่งสัญญาณทางสายเคเบิลโคแอกเชียล ใน ระบบอนาล็อก แต่ยังคงรับชมช่องสัญญาณเก่าได้อยู่

[แก้] ผู้นำด้านโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกในประเทศไทย

ปัจจุบัน ทรูวิชั่นส์เป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิกชั้นนำและใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งได้ให้บริการทั้งระบบจานดาวเทียมและเคเบิล มีจำนวนสมาชิกถึง 1,179,196 ราย (รวม TrueLife FreeView) [2] โดยมีแพ็คเกจให้เลือกสี่แพ็คเกจ และอีกหนึ่งแพ็คเกจ TrueLife FreeView(ที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบทรูมูฟ สามารถรับชมได้ 40 ช่อง) ด้วยจำนวนช่องที่ให้บริการสูงสุดกว่า 100 ช่อง[3] และยังมีการให้บริการ PVR หรือ Personal Video Recorder ที่ให้สมาชิกบันทึกรายการโปรดได้


[แก้] ระบบภาพ HD

ทรูวิชั่นส์ได้ทำการทดสอบการออกอากาศระบบ HD ที่ภาพมีความคมชัดมากกว่าปกติถึง 5 เท่า ระบบเสียงจะเป็นระบบ Dolby Digital Surround รอบทิศทาง โดยช่องที่จะเริ่มทำการออกอากาศได้แก่ช่อง ทรูสปอร์ต, Discovery Channel, National Geographic Channel , History Channel และรายการซีรีส์และภาพยนตร์ที่ใช้ระบบ HD ในการออกอากาศ

แต่ที่น่าสนใจคือ ในสปอตโฆษณานี้ได้พูดออกมาว่า "สัญญาณภาพ HD นี้จะพบได้บน Sony Bravia LCD TV" และที่สำคัญระบบกล่องรับสัญญาณปัจจุบันนั้นไม่มีกล่องไหนที่รองรับการใช้งานภาพและเสียงระดับ HD ได้เลย

การออกอากาศนั้นเกิดขึ้นเมื่องาน Bangkok ICT Expo 2007 ที่เมืองทองธานี[4]

ปัจจุบัน ได้เริ่มแพร่ภาพระบบ HD แล้ว 2 ช่อง คือ

  • ทรูสปอร์ต HD ช่องกีฬาที่ถ่ายทอดสดในระบบเอชดี ทั้งฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย พรีเมียร์ลีก เทนนิส และกอล์ฟ
  • เอชบีโอ เอชดี ช่องภาพยนตร์ในระบบเอชดี (เป็นที่น่าสังเกตคือ ผังรายการในช่องนี้ จะเหมือนกับช่องเอชบีโอ ที่ไม่ได้ใช้ระบบเอชดี แต่เป็นแค่การนำเสนอภาพที่แตกต่างกัน)

โดยสมาชิกแพลทินัมและโกลด์ ในระบบดิจิตอล สามารถรับชมได้ แต่ต้องเปลี่ยนกล่องรับสัญญาณเดิมเป็นกล่องรับสัญญาณใหม่ เนื่องจากกล่องรับสัญญาณเดิม ไม่สามารถรับระบบเอชดีได้ ซึ่งองค์ประกอบในการรับชมระบบเอชดีที่ดีที่สุด มีดังนี้

  1. ต้องมีกล่องรับสัญญาณรุ่นใหม่ที่รองรับระบบเอชดีได้
  2. ต้องมีบริการ TrueVisions HD Package
  3. ต้องมีเครื่องรับโทรทัศน์แบบแอลซีดี แอลอีดี หรือพลาสมา ในแบบ Full HD 1080p


[แก้] การให้มีโฆษณา

การลงนามของ อสมท และ ทรูวิชั่นส์ ในการมีโฆษณา

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้ ร่วมลงนามในสัญญาอนุญาตให้ทรูวิชั่นส์ สามารถมีโฆษณาได้ชั่วโมงละ 6 นาที[5] เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ที่อนุญาตให้กิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกสามารถทำการโฆษณาได้ โดยได้ตกลงที่จะจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายกรณีที่กลุ่มบริษัท ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และค่าปรับอื่น ๆ รวมเป็นเงินกว่า 110 ล้านบาท และตกลงที่จะแบ่งรายได้ค่าโฆษณาให้ อสมท ร้อยละ 6.5 จากรายได้ค่าโฆษณาทั้งหมด

[แก้] บริษัทย่อย

ทรูวิชั่นส์มีบริษัทย่อยประกอบด้วยบริษัท 10 บริษัท โดยมีทรูวิชั่นส์เป็นบริษัทแม่ สำหรับบริษัทย่อย 9 บริษัท ได้แก่ บริษัท ทรูวิชั่นส์ เคเบิล จำกัด (มหาชน) บริษัท แซทเทลไลท์ เซอร์วิส จำกัด บริษัท ซีนิเพล็กซ์ จำกัด บริษัท คลิก ทีวี จำกัด บริษัท ทรูแฟนเทเชีย จำกัด บริษัท เรด มีเดีย จำกัด บริษัท ไอบีซี ซิมโฟนี จำกัด บริษัท แชนแนล (วี) มิวสิค (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอร์เรชั่น (กัมพูชา) จำกัด

[แก้] อัตลักษณ์

[แก้] จำนวนสมาชิก

จำนวนสมาชิกล่าสุด ณ ไตรมาสที่สอง ปีพ.ศ. 2551: 659,227 ราย (1,179,196 รายเมื่อรวม FreeView) [6]

[แก้] จำนวนสมาชิกในแต่ละปี[7]

  • ไม่นับรวมสมาชิก TrueLife FreeView
ปีพ.ศ. จำนวนสมาชิก
2541 301,309
2542 324,537
2543 380,956
2544 406,589
2545 437,845
2546 434,815
2547 457,542
2548 483,816
2549 558,860
2550 618,228
2551 799,837


[แก้] ไอเดนท์

  • ไอเดนท์ของทรูวิชั่นส์ จะแสดงโลโก้ พื้นหลังสีขาว-ชมพู ความยาว 10 วินาที
  • สำหรับการบอกช่องแต่ละช่อง จะมีเสียงของสถานีลงท้าย

[แก้] ช่วงคั่นรอรายการ

  • ช่วงคั่นรายการ จะมีโปรแกรมรายการ โฆษณา กิจกรรมต่าง ๆและสิ่งที่น่าสนใจมาออกอากาศคั่น

[แก้] กราฟิกไอเดนท์

  • ไอบีซี 2532-2541
  • ยูทีวี 2536-2541
  • ยูบีซี กราฟิกที่1 2541-2545
  • ยูบีซี กราฟิกที่2 2545-2547
  • ยูบีซี กราฟิกที่3 2547-2549
  • ยูบีซี-ทรู 2549-2550
  • ทรูวิชั่นส์ กราฟิกที่1 2550-2552
  • ทรูวิชั่นส์ กราฟิกที่2 2552-ปัจจุบัน

[แก้] เพลงประกอบไอเดนท์

  • 17 เมษายน พ.ศ. 2532 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
  • 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2545
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 - 22 มกราคม พ.ศ. 2550
  • 23 มกราคม พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน

[แก้] TrueVisions PVR

ทรูวิชั่นส์พีวีอาร์.jpg

ทรูวิชั่นส์ พีวีอาร์ หรือ Personal Video Recorder (PVR H100S/C) เป็นกล่องรับสัญญาณรุ่นใหม่ที่มีฮาร์ดดิสก์ในตัว 160GB ผลิตโดย Humax ได้เปิดตัวในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 เครื่องรับสัญญาณรุ่นใหม่นี้สามารถบันทึกรายการต่างๆ ที่ต้องการ โดยมีตารางออกอากาศล่วงหน้า 1 สัปดาห์ สามารถควบคุมรายการโทรทัศน์ในขณะรับชมได้ด้วยการดูภาพย้อนหลัง หยุดภาพ เร่งความเร็วภาพ หรือชมภาพช้า และการดูหนึ่งรายการพร้อมกับบันทึกอีกหนึ่งรายการ ทรูวิชั่นส์กล่าวว่า TrueVisions PVR ยังมีบริการ Interactive TV และสามารถบันทึกรายการได้ประมาณ 140 ชั่วโมง ซึ่งขณะนี้ได้วางจำหน่ายให้กับสมาชิกที่ต้องการสั่งซื้อ

[แก้] ประวัติ

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 Humax กลายเป็นผู้ผลิตกล่องรับสัญญาณพีวีอาร์ หรือ PVR Set-Top Box รายเดียวให้กับทรูวิชั่นส์ด้วยสัญญากว่า 11 ล้านดอลล่าร์[8] แม้ว่าจะมีบริษัทอื่นที่ผลิตกล่องรับสัญญาณทั่วไปให้กับทรูวิชั่นส์ แต่ Humax จะเป็นผู้ผลิตรายแรกที่ผลิตกล่องรับสัญญาณในรูปแบบ PVR ในระดับพรีเมียม ตามในสัญญา Humax จะผลิตกล่องรับสัญญาณ PVR ให้กับทรูวิชั่นส์ทั้งในแบบจานดาวเทียมและเคเบิล โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2550

[แก้] คุณสมบัติ

  • ควบคุมภาพรายการสด โดยการหยุดภาพรายการในขณะนั้น ดูภาพย้อนหลัง เร่งความเร็วของภาพ รับชมภาพช้า และย้อนดูภาพแบบรวดเร็วก่อนหน้า 7 วินาที
  • ผังรายการ หรือ EPG (Electronic Program Guide) คือตารางออกอากาศรายการของแต่ละช่อง 8 วันล่วงหน้า (วันที่รับชมรวมกับอีกเจ็ดวันถัดไป) สามารถสั่งบันทึกรายการได้ทันทีผ่านชื่อรายการ โดยเลือกบันทึกเพียงครั้งเดียว หรือแบบซีรีส์
  • แสดงรายการที่กำลังออกอากาศ ณ เวลาปัจจุบันของทุกช่องด้วยการกดปุ่ม OK ในระหว่างการรับชมรายการ หน้า Channel List จะแสดงให้เลือกรายการจากช่องรายการต่างๆ ที่ออกอากาศอยู่ และสามารถเลือกตั้งข้ามช่องหรือกำหนดช่องโปรด
  • รายการที่บันทึกไว้ จะรวมอยู่ในเมนูรายการอัด สามารถกลับมาดูได้ทุกครั้งที่ต้องการ ในเมนูนี้สามารถเลือกที่จะรับชมหรือลบรายการที่บันทึกไว้
  • หากต้องการบันทึกรายการเพิ่มเติมเองโดยไม่เลือกผ่านผังรายการ สามารถทำได้ผ่านเมนูรายการตั้งอัด สามารถบันทึกในรูปแบบเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งได้ตามที่ต้องการ
  • เมนูฟุตบอล ให้บริการสมาชิกที่ต้องการรับชมผลคะแนนจากการแข่งขันฟุตบอลต่างๆ ตารางเทียบคะแนน และข่าวเกี่ยวกับฟุตบอลจาก ผู้จัดการ ในขณะนี้ เมนูฟุตบอลให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Premier League และ Uefa Champions League (UCL)
  • เกมที่ให้บริการสำหรับสมาชิกจาก Playin' TV สามารถควบคุมเกมผ่านทางรีโมทคอนโทรล ในขณะนี้ มี 3 เกม ได้แก่ Golf, Tactic 2 Vitamin, และ Carrot Mania On Ice

[แก้] ข้อมูลซอฟต์แวร์

ทรูวิชั่นส์ พีวีอาร์สามารถอัปเดตซอฟต์แวร์ได้อัตโนมัติ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในซอฟต์แวร์รุ่นก่อนหน้า เวอร์ชันปัจจุบันของพีวีอาร์คือ 1.0.3 (10.4445) และเวอร์ชันของเฟิร์มแวร์คือ 19 ในเวอร์ชันของพีวีอาร์รุ่นนี้ จะแก้ไขปัญหาที่เกิดใน 1.0.2 นั่นคือช่องในทรูวิชั่นส์เวิลด์ไม่ตรงตามหมายเลขช่องปัจจุบัน โดยจัดกลุ่มช่องในทรูวิชั่นส์เวิลด์ให้ตรงตามหมายเลขช่องใหม่

[แก้] ช่องรายการต่างๆ ที่ออกอากาศทางทรูวิชั่นส์

ช่องข่าว ช่อง 7,8,91,92,93,94,95,96 และ 178
ช่องภาพยนตร์ ช่อง 41,42,43,44,45,46,47,48,112,155,156 และ 157
ช่องบันเทิง ช่อง 51,52,53,54,55,56,60,61,62,63,64,65,66,67,68,69,96,97,141 และ 143
ช่องเพลง ช่อง 81,82,83,84 และ 85
ช่องการ์ตูน ช่อง 31,32,33,34 และ 35
ช่องสารคดี ช่อง 15,16,17,18,19,20,21,23,151,152,153 และ 154
ช่องกีฬา ช่อง 101,102,103,104,105,106,107,108,109,111,121,122,123,124,125,126 และ 158
ช่องการศึกษา ช่อง 180,186,187,188,189,190,191,192,193,194,195,196,197,198,199 และ 200
ช่องฟรีทีวี ช่อง 1,2,3,4,5,6,10,98,99,162,163 และ 179


[แก้] ช่องรายการได้ยุติการออกอากาศแล้ว

  • Pay Per View 1 and 2 (ปัจจุบัน ใช้ช่องเปย์เปอร์วิวที่ ทรูสปอร์ต 5)
  • HGTV Thailand'
  • Panorama Channel ช่องรายการสารคดีจากพาโนรามา
  • Nation Channel ช่องรายการข่าวจากสำนักข่าวเนชั่น ปัจจุบันย้ายไปออกอากาศทางช่อง ไททีวี1
  • VTV1 และ VTV4 ช่องรายการจากประเทศเวียดนาม (มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ในการออกอากาศ)
  • KCTV ช่องรายการจากประเทศเกาหลีเหนือ (ไม่ทราบเหตุผล)
  • Animax (ปัจจุบันย้ายไปออกอากาศทาง เคเบิลทีวีไทยทั่วประเทศ)
  • KBS World
  • VH1
  • Sound Track Channel
  • BBC Entertainment
  • National Geographic Adventure
  • True Sport Extra 2 (ปัจจุบันเป็น ทรูสปอร์ต 6)

[แก้] การส่งสัญญาณช่องรายการใหม่

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 ทรูวิชั่นส์จะดำเนินการส่งสัญญาณเพื่อเพิ่มช่องรายการบันเทิงใหม่ จำนวน 5 ช่องรายการ เช่น

  • Thai Film ช่องภาพยนตร์ไทย ทั้งที่โด่งดังในอดีต และปัจจุบัน (ทางช่อง 48)
  • tvN ช่องรายการบันเทิง เพลง และวาไรตี้อันดับ 1 จากเกาหลี (ทางช่อง 56)
  • Coffee Master ช่องรายการเกมโชว์เรียลลิตี้ 24 ชั่วโมงจากหน้าลานเซ็นทรัลเวิลด์ เฟ้นหาหนุ่มสาวไฟแรง ร่วมชิงตำแหน่งนักบริหารร้านกาแฟรุ่นใหม่ (ทางช่อง60) (ปัจจุบันถูกยกเลิกทั้งหมดเนื่องจากที่เซ็นทรัลเวิลด์เกิดเพลิงไหม้)
  • True Sport 6 ช่องรายการถ่ายทอดสดฟุตบอลยุโรปลีคดัง (ทางช่อง 122)
  • Golf Channel Thailand ช่องรายการกอล์ฟชั้นนำ ทั้งเกาะติดการแข่งขันในรายการต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งไม่พลาดข่าวสารอัพเดทวงการกอล์ฟ และรายการสอนกอล์ฟจากโปรกอล์ฟชั้นนำของโลก และสาระบันเทิงในวงการกอล์ฟ ตลอด 24 ชั่วโมง (ทางช่อง 158)

และเพื่อรองรับผู้ชม จึงได้เพิ่ม 3 ช่องรายการใหม่ ภายหลังจากการส่งสัญญาณช่องรายการใหม่แล้ว ในเร็วๆ นี้ เช่น

[แก้] โครงการในอนาคต

[แก้] เอ็มคอด - ทรูเซนเตอร์

เนื่องจากวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 เป็นวันสถาปนาครบรอบ 34 ปี การก่อตั้งบมจ. อสมท. ประเทศไทยได้มีกำหนดยกเลิกการออกอากาศโทรทัศน์ระบบอนาล็อก ปรับเข้าสู่การออกอากาศช่องสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลแทน ทางทรูวิชั่นส์ จับมือกับ อสมท. ใช้งบประมาณกว่าร้อยล้าน ในการสร้างอาคารใหม่ ชื่อว่า เอ็มคอด - ทรูเซนเตอร์ บริเวณถนนอโศก - สุขุมวิท 21 ใกล้กับอาคารจีเอ็มเอ็มแกรมมี่เพลส คาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จภายในเดือน เมษายน พ.ศ. 2554

อาคารเอ็มคอด - ทรูเซนเตอร์ ซึ่งเป็นอาคารใหม่ เหมือนกับห้างสรรพสินค้า ในนี้มี 6 ชั้น ซึ่งเป็นสตูดิโอขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

  • ชั้น1 เป็นห้องเวทีขนาดใหญ่ ซึ่งมีพนักงานคอยให้มีความสะดวก เช่น งานแถลงข่าวคอนเสิร์ต และอื่นๆ นอกจากนี้มีร้านค้าต่าง ๆ จากผู้สนับสนุน เช่น ซีพี , เซเวน-อีเลเวน , ทรูชอป , ทรูมูฟชอป และอื่น ๆ อีกมากมาย
  • ชั้น 2 เป็นห้องสำนักงานทั้ง 2 บริษัท อาทิ สำนักงาน บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด ซึ่งเป็นสำนักงานใหม่ อยู่ชั้น 2 ของอาคารใหม่ รวมถึงห้องการทำตัดต่อด้วยเทคนิคพิเศษ ห้องเก็บม้วนเทปเก่าที่เคยออกอากาศ และอื่นๆ รวมทั้งสำนักงาน บริษัท ทรูแฟนเทเชีย จำกัด ซึ่งเป็นสำนักงานใหม่ บนชั้น 2 ของอาคารใหม่เช่นกันซึ่งมีทั้งห้องอัดเสียง ห้องตัดต่อเอ็มวี และอื่นๆ
  • ชั้น 3 เป็นห้องควบคุมสถานีทีวีระบบดิจิตอล และห้องสตูดิโอ ซึ่งในนี้มีแบ่งกัน ทั้งห้องควบคุมระบบการออกอากาศทรูวิชั่นส์ เลือกใช้เป็นควบคุมระบบการออกอากาศดิจิตอลแบบ Auto Multi Channel ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศ รวมทั้งห้องสตูดิโอที่คอยให้บริการ เช่น TNN24 ซึ่งเป็นสตูดิโอที่ขนาดใหญ่ที่สุด รวมทั้ง TNN2 และ True Sport
  • ชั้น4 เป็นสตูดิโอหลายช่องหลายสตูดิโอ เช่น True Visons Channel , True Inside , G-Square , W Channel , T Channel, True Spark และอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีห้องควบคุมการออกอากาศ ทรูวิชั่นส์ ซึ่งมีระบบดิจิตอล ทั้งหมด กว่า 100 ช่องรายการ
  • ชั้น 5 เป็นห้องออกอากาศและห้องควบคุมระบบดิจิตอล ของอสมท. เป็นห้องที่ศูนย์รวมห้องออกอากาศมี3ช่อง ทั้ง Modernnine TV , MCOT1 , MCOT2 รวมทั้งห้องควบคุมระบบการออกอากาศแบบดิจิตอลทั้งหมดที่ทันสมัยที่สุด ทั้ง 3 ห้องเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีห้องตัดต่อพิเศษ ห้องเก็บข้อมูล เช่น เทปเก่า และอื่น ๆ
  • ชั้น6 เป็นห้องสตูดิโอขนาดใหญ่มี 3 ห้อง ทั้ง Modernnine TV , MCOT1 , MCOT2 สตูดิโอที่ใช้สำหรับการถ่ายทำรายการข่าวและรายการต่างๆ ในเครือ อสมท.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

เอกสารอ้างอิง ใบปลิวของรถกระจายข่าวของ TRUEMOVE และ UBC TRUE

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น