เคเบิลทีวีท้องถิ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เคเบิลทีวีท้องถิ่น คือ ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีท้องถิ่นนั้น ในประเทศไทย ได้ใช้สายเคเบิลนั้นส่งสัญญาณภาพเข้าตรงถึงบ้าน เคเบิลทีวีท้องถิ่น เป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีข้อจำกัดเรื่องการหาประโยชน์ทางธุรกิจ มีรายได้จากการขายสมาชิก ซึ่งผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นแถบชานเมือง หรือไม่ก็เป็นในเมืองตามต่างจังหวัด เพราะเคเบิลทีวีนั้นให้ภาพคมชัดกว่าการใช้เสาอากาศ และมีรายการให้ดูมากมาย ด้วยราคาที่ไม่แพงเกินไป[1]

[แก้] ประวัติ

ผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดเดิมส่วนใหญ่อยู่ตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน สิ่งนี้เองจะส่งผลให้ตลาดเคเบิลทีวีที่มีลูกค้ารวมกว่า 1.5 ล้านรายทั่วประเทศ ซึ่งเติบโตอยู่ในระดับค่อยเป็นค่อยไป ได้กลับมามีความคึกคักและร้อนแรงอีกครั้งหนึ่ง การแข่งขันของเคเบิลทีวีในปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูง[2] สาเหตุที่เคเบิลทีวีท้องถิ่นจะสามารถแข่งขันได้ก็เพราะผู้ให้บริการรายใหม่แทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มเติมแต่อย่างใด เพราะสายเคเบิลนั้นก็เดินสายครอบคลุมพื้นที่กลุ่มเป้าหมายของตนเองแล้ว ไม่มีโครงข่ายใหญ่โต เอาแค่ครอบคลุมจังหวัดของตนเอง ดูแลกลุ่มเล็กๆ ไม่กี่หมื่นกี่แสน[1] เฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กที่มีอยู่ทั่วประเทศขณะนี้มีไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย โดยมีทั้งที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องและลักลอบทำอยู่ตามพื้นที่ธุรกันดารและตามหุบเขา[3]

ในปี[พ.ศ. 2526] ผู้ประกอบการทั่วประเทศได้รวมตัวกันและได้ร่วมก่อตั้งสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2536 มีสมาชิกซึ่งเป็นผู้ประกอบการเคเบิลทีวีรวม 250 บริษัท และครอบคลุมเครือข่าย 500 สถานี ซึ่งมีสมาชิกกว่า 2,000,000 ครัวเรือน[4]

ส่วนอัตราค่าบริการมีตั้งแต่ 250 บาท สำหรับเมืองเล็กๆ หรืออำเภอเล็กๆ มีจำนวนช่อง 40 ช่อง ในกรุงเทพและเมืองใหญ่ มี 2 ราคาคือ 350 บาท และ 450 บาท โดยมีช่องให้บริการ 60 และ 80 ช่อง ตามลำดับ เนื้อหารายการนำเสนอทั้งภาพยนตร์ การ์ตูน วาไรตี้ เพลง กีฬา และ ข่าว เป็นรายการจากต่างประเทศและผลิตในประเทศ[5]

ในวันที่ 8 สิงหาคม 2550 ทางสมาคมฯมีแผนในการจัดผังเรียงช่องรายการให้สมาชิกทั่วประเทศกว่า 500 รายได้ออกอากาศเนื้อหารายการในช่องเดียวกัน กำหนดผังช่องรายการจำนวน 20 ช่อง เริ่มจากช่อง 21-40 ได้เสร็จสมบูรณ์ ให้กำหนดช่องต่างๆเหมือนกัน ทุกเคเบิลท้องถิ่น เพื่อความเป็นเอกภาพ

สำหรับช่องรายการต่างๆที่จะนำไปให้สมาชิกแต่ละช่องได้ปฏิบัติตามนั้น ช่อง 21 MIC, ช่อง 22 MV TV, ช่อง23 Hit station, ช่อง24 H พลัส ชาแนล, ช่อง25 Star Channel, ช่อง26MV news, ช่อง27 S station, ช่อง28 Nation Channel, ช่อง29 HSA, ช่อง30 Money Chanel, ช่อง31 NEWS1, ช่อง32 TOC, ช่อง33 ASTV3 Happy Variety Channel, ช่อง34 e-san Discovery, ช่อง 35 สถานี สุวรรณภูมิ, ช่อง36 เพื่อแผ่นดิน, ช่อง37 JOY TV, ช่อง 38 LIVE TV, ช่อง39 smile TV Networks และช่อง 40 MTV[6]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 อินเทอร์เน็ตเคเบิลทีวี ปลุกกระแสเน็ตแรง
  2. ^ ทรู ติดเครื่องให้ ยูบีซี หันเจาะตลาดล่างกินรวบธุรกิจเคเบิลทีวี
  3. ^ เคเบิลเหนือวอนรัฐให้ความยุติธรรมพัฒนาธุรกิจ
  4. ^ เกี่ยวกับสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย
  5. ^ เคเบิลท้องถิ่นเปิดศึกทรูวิชั่นส์ นำLSโชลูชันเกาหลีชิงลูกค้า หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2276 06 ธ.ค.-08 ธ.ค. 2550
  6. ^ ส.เคเบิลคลอดผังช่อง ดีเดย์20ช่องเริ่ม16ส.ค. โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 สิงหาคม 2550 20:17 น.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น