วีเอชเอฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วีเอชเอฟ (อังกฤษ: VHF) เป็นชื่อย่อของคลื่นความถี่สูงยิ่ง (อังกฤษ: Very-High Frequency) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากกว่าชื่อเต็ม มักใช้ในการสื่อสารของวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ โดยสามารถกำหนดคลื่น และช่องสัญญาณที่ส่งได้อย่างแน่นอนประจำที่

เนื้อหา

[แก้] วิทยุกระจายเสียง

การส่งกระจายเสียงวิทยุในระบบวีเอชเอฟ ใช้ความถี่ส่งเดียวกับช่องความถี่ซึ่งใช้ส่งกระจายเสียงสำหรับวิทยุโทรทัศน์ โดยเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า เอฟเอ็ม (อังกฤษ: FM) ซึ่งย่อมาจาก Frequency Modulation สามารถใช้คู่ขนานกับเครื่องรับวิทยุ ในระบบเอ็มเอฟ (เอเอ็ม) และส่งกระจายเสียงในช่วงความถี่ระหว่าง 75.0 จนถึง 108.0 เมกะเฮิร์ตซ์ (อังกฤษ: Mega Hertz ชื่อย่อ: MHz) และช่วงกำลังส่งระหว่าง 1-3 กิโลวัตต์ (อังกฤษ: Kilo Watt ชื่อย่อ: KW)

[แก้] วิทยุโทรทัศน์

การแพร่ภาพออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟ สามารถกำหนดช่องส่งสัญญาณแบบตายตัวได้ ในช่วงระหว่างช่องที่ 1 ถึงช่องที่ 12 (บางประเทศสามารถส่งได้ถึงช่องที่ 13 หรืออาจถึงช่องที่ 20) โดยมีความถี่ส่งภาพ และความถี่ส่งเสียงอยู่ระหว่าง 30.0-300.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ส่วนกำลังส่งภาพ และกำลังส่งเสียง อยู่ระว่าง 1-5 หรือ 6 กิโลวัตต์ สามารถกระจายคลื่นในทางตรงได้ในช่วงระหว่าง 10-100 เมตร

โดยในบางโอกาส จะสามารถกระจายสัญญาณไปถึงอาคารสูง ภูเขา ชุมชน และพื้นดินภาคปกติได้ และยังใช้คู่ขนานไปกับคลื่นความถี่ระบบยูเอชเอฟได้ แต่สามารถส่งสัญญาณภาคพื้นดินในระบบอนาล็อกเท่านั้น โดยไม่รองรับระบบดิจิตอล ซึ่งในการส่งสัญญาณอาจถูกหักเหหรือบดบัง ก่อนจะไปถึงที่หมายปลายทาง และกำลังส่งไม่กว้างเท่ากับระบบยูเอชเอฟ

[แก้] การสื่อสารอื่น

คลื่นความถี่ระบบวีเอชเอฟ สามารถใช้ส่งสัญญาณในระบบวิทยุการบิน วิทยุสมัครเล่น การส่งเครื่องเรดาร์ภาคพื้นดิน การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก และส่งแบบแนวตรง โดยไม่บดบัง จากพื้นดินสู่อากาศ และ จากอากาศสู่อากาศ (Line-of-Sight) ได้

[แก้] การใช้ระบบในประเทศไทย

การใช้คลื่นความถี่ระบบวีเอชเอฟในประเทศไทย แบ่งเป็น การส่งวิทยุกระจายเสียง ด้วยระบบเอฟเอ็ม สเตอริโอ มัลติเพล็กซ์ ในช่วงความถี่ระหว่าง 87.5-108.0 เมกะเฮิร์ตซ์ และ การส่งวิทยุโทรทัศน์ ในช่วงความถี่ระหว่างช่องสัญญาณที่ 2-12 รวมทั้งสิ้น 11 ช่อง ออกอากาศโดยใช้กำลังส่งภาพระหว่าง 30-300 กิโลวัตต์, กำลังส่งเสียงระหว่าง 1-10 กิโลวัตต์, ความถี่ภาพระหว่าง 40-250 เมกะเฮิร์ตซ์ และ ความถี่เสียงระหว่าง 40-260 เมกะเฮิร์ตซ์

[แก้] ประวัติ

การส่งกระจายเสียงวิทยุในระบบเอฟเอ็มครั้งแรก ดำเนินการโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์[ต้องการอ้างอิง] เมื่อปี พ.ศ. 2484[ต้องการอ้างอิง] ส่วนการแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟครั้งแรก ดำเนินการโดยสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยออกอากาศทางช่อง 4 ระบบขาวดำ และการแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์สี ในระบบวีเอชเอฟครั้งแรก ดำเนินการโดยสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ได้รับสัมปทานจากกองทัพบกไทย เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยออกอากาศทางช่อง 7 ในย่านความถี่ที่ 3

[แก้] ดูเพิ่ม

Crystal kppp.png วีเอชเอฟ เป็นบทความเกี่ยวกับ การสื่อสาร และโทรคมนาคม ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ วีเอชเอฟ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ