ย่างกุ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หมายเหตุ: อาจจะต้องการใช้ Burmese Unicode Font เพื่อดูตัวอักษรภาษาพม่า

ရန္‌ကုန္‌
ย่างกุ้ง
MyanmarYangon.png
ที่มาของชื่อ: ရန္‌ - ศัตรู, ကုန္‌ สิ้นสุด
เขตการปกครอง: เขตย่างกุ้ง (Yangon Division)
ประชากร: 4,504,000
ที่ตั้ง: 16°48' เหนือ, 96°9' ตะวันออก
นายกเทศมนตรี: พลจัตวา ออง เทน ลินน์
(Brigadier General Aung Thein Lynn)

ย่างกุ้ง (ภาษาพม่า: อ่านออกเสียงว่า ดะโกง แปลว่า ปราบศัตรูราบคาบ, ภาษาอังกฤษเรียกว่า Rangoon) เป็นอดีตเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศเมียนมาร์ (หรือพม่า) ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำย่างกุ้ง ห่างจากอ่าวเมาะตะมะ (Gulf of Martaban) ประมาณ 30 กม. ย่างกุ้งเดิมเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ เท่านั้น ได้รับการบูรณะให้เป็นเมืองสำคัญและสถาปนาชื่อโดยพระเจ้าอลองพญาแห่งราชวงศ์อลองพญา ปัจจุบันมีประชากร 4,504,000 (พ.ศ. 2543), และตั้งอยู่ที่ 16°48' เหนือ, 96°9' ตะวันออก (16.8, 96.15) เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่เมืองอื่น ๆ ในเอเซียอาคเนย์แล้ว ย่างกุ้งค่อนข้างจะด้อยพัฒนา จึงมีพื้นที่สีเขียวมากกว่า มีการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการลงทุนจากต่างชาติเข้ามา (จากประเทศสิงคโปร์ และประเทศจีน) ตึกที่อยู่อาศัยหลายชั้น (ไต tai) หลายแห่งได้ถูกสร้างใหม่หรือปรับปรุงใหม่ อย่างไรก็ดี การปรับเมืองเข้าสู่ปัจจุบันจะเห็นชัดเจนเฉพาะในบริเวณกลางเมองและชเวดากอง (Shwedagon) แถบชานเมืองตอนใต้ เช่น Thaketa Township ยังคงยากจนต่อไป ย่างกุ้งได้พยายามที่จะเก็บรักษาสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคมที่ยังมีอยู่ ย่างกุ้งได้ถูกออกแบบใหม่เป็นตารางหมากรุก เมื่ออังกฤษได้ผนวกพม่าเข้าสู่อาณาจักรของตนเองในคริสต์ศตวรรษที่ 19

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 รัฐบาลพม่าได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองพยินมานา (Pyinmana)