ละครรำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ละครรำเป็นศิลปะการแสดงของไทย ที่ประกอบด้วยท่ารำ ดนตรีบรรเลง และบทขับร้องเพื่อดำเนินเรื่อง ละครรำมีผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนาง และตัวประกอบ แต่งองค์ทรงเครื่องตามบท งดงามระยับตา ท่ารำตามบทร้องประสานทำนองดนตรีที่บรรเลงจังหวะช้า เร็ว เร้าอารมณ์ให้เกิดความรู้สึกคึกคัก สนุกสนาน หรือเศร้าโศก ตัวละครสื่อความหมายบอกกล่าวตามอารมณ์ด้วยภาษาท่าทาง โดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย วาดลีลาตามคำร้อง จังหวะและเสียงดนตรี

[แก้] ประเภทของละครรำ

  1. ละครชาตรี เล่นเรื่อง มโนห์รา
  2. ละครใน เล่นเรื่อง รามเกียรติ์ อุณรุท อิเหนา
  3. ละครนอก เล่นเรื่อง ไกรทอง โคบุตร ไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง เป็นต้น
Nuvola apps package graphics.png ละครรำ เป็นบทความเกี่ยวกับ ศิลปกรรม ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ละครรำ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ