โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก โรงเรียนเบญจมราชาลัย)
โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ตราประจำโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
“ คล่องแคล่วอย่างงดงาม ”

โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์เดิมเป็นวังเก่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้นราชสกุล "วัฒนวงศ์" ได้ทรงอุทิศ ให้รัฐบาลตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีแห่งแรก เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำบุญเปิดโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงแห่งนี้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2456 และเปิดสอนในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2456 มีนักเรียน 24 คน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อโรงเรียนว่า "เบญจมราชาลัย" และกรมศึกษาธิการได้เชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรงเปิดนามโรงเรียน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2456

โรงเรียนฝึกหัดครูประถม ทั้งประจำและไป-กลับ รับนักเรียนในกรุงเทพฯ และมณฑลต่าง ๆ ขยายการสอนถึงวิชาครูมัธยม ได้เปิดสอนภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ชั้นสูง เทียบเท่าประโยคมัธยมบริบูรณ์ชาย เรียกว่า ประโยคมัธยมวิสามัญ ในพ.ศ. 2472 ได้เปิดสอนประโยคมัธยมบริบูรณ์ชาย มีทั้งแผนกภาษาแผนกวิทยาศาสตร์และแผนกกลาง มีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ปี พ.ศ. 2475 กระทรวงศึกษาธิการได้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดครูและชั้นมัธยมบริบูรณ์ชาย (ม.7-8) ไปอยู่โรงเรียนเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ทำให้โรงเรียนเบญจมราชาลัยเป็นโรงเรียนสามัญ รับนักเรียนเช้าไปเย็นกลับ ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึง มัธยมปีที่ 6 ในปีพ.ศ. 2476 ปรับปรุง การสอนถึงชั้นประโยคบริบูรณ์

พ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการสั่งย้ายนักเรียนชั้นสูงไปเรียนรวมที่โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัยและยุบชั้นประถม เปิดสอนเฉพาะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามคำสั่งกรมสามัญศึกษา ในปีพ.ศ. 2496 ได้เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษาทั้งแผนกอักษรศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ ในปีพ.ศ. 2499 เปิดสอน 2 รอบ คือรอบเช้า และรอบบ่าย ในปีพ.ศ. 2503 เปลี่ยนแปลงตามนโยบายการศึกษาแห่งชาติ สอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และในปี พ.ศ. 2521 ได้เปลี่ยนแปลงตามแผนการศึกษาของชาติ เป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 1-2-3 และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4-5-6 เนื่องจากอาคารเรียนเดิมเป็นไม้ เมื่อเวลาผ่านไปอาคารเรียนทรุดโทรมมาก ประกอบกับนักเรียนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางโรงเรียนจึงได้จัดสร้างอาคารเรียนใหม่ทดแทนเรือนไม้หลังเดิม ดังที่เป็นอาคารเรียนในปัจจุบัน จำนวน 4 หลัง คือ อาคารมรุพงศ์อนุสรณ์ อาคารจันทรนิภา อาคารวัฒนวงศ์ และอาคารเทพรัตน

RIMG0012.JPG
สภาพปัจจุบันของโรงเรียน
พระศรีศากยมุณี ยุวนารีบูชิต สถิตเบญจมราชาลัย
ดอกบัวจงกลนี
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน 
พระศรีศากยมุณี ยุวนารีบูชิต สถิตเบญจมราชาลัย
ตราประจำโรงเรียน 
พระเกี้ยวบนพานแว่นฟ้า
อักษรย่อโรงเรียน 
บ.ร.
ปรัชญาโรงเรียน 
สวาจารตา จ พาหุสสจจ นารีนาภรณ วร ศึกษาดี มีจริยา เป็นอาภาของกุลสตรี
ปณิธานโรงเรียน 
บุคลิกงามสง่า แนวหน้าวิชาการ สืบสานความเป็นไทย มุ่งไปสู่โลกกว้าง สรรสร้างสังคม อุดมคุณธรรม
คติพจน์โรงเรียน 
การเรียนเด่น เล่นกีฬาดี มีคุณธรรม กิจกรรมเยี่ยม
คำขวัญโรงเรียน 
คล่องแคล่วอย่างงดงาม
ดอกไม้ประจำโรงเรียน 
ดอกบัวจงกลณี
สีประจำโรงเรียน 
เลือดหมู - ขาว
สีประจำคณะ
สีเหลือง - คณะโกมุท
สีชมพู - คณะสัตตบงกช
สีเขียว - คณะสัตตบุษย์
สีม่วง - คณะนิลุบล
สีฟ้า - คณะบุษกร

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น