ปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย
Latimeria menadoensis, พิพิธภัณท์สัตว์น้ำโตเกียว, ญี่ปุ่น
Latimeria menadoensis, พิพิธภัณท์สัตว์น้ำโตเกียว, ญี่ปุ่น

ปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย (Latimeria menadoensis) (อินโดนีเซีย: raja laut) เป็นหนึ่งในสองชนิดของปลาซีลาแคนท์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ลำตัวมีสีน้ำตาล

[แก้] การค้นพบ

เมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1997 อาร์นาซ และมาร์ค เอิร์ดมันน์ ได้ท่องเที่ยวไปในอินโดนีเซียในการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ของเขา เขาพบปลาตัวแปลกๆเข้าไปในตลาดที่มานาโด บนเกาะสุลาเวสี[1] มาร์คคิดว่าเป็นปลา “กอมเบสซ่า” (ปลาซีลาแคนท์จากโคโมรอส) แม้ว่ามันไม่เป็นสีน้ำเงินแต่กลับเป็นสีน้ำตาล ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งได้พิจารณาภาพถ่ายในอินเทอร์เน็ตของเขาแล้วให้ความเห็นว่ามันมีลักษณะที่มีนัยสำคัญ หลังจากนั้นคู่สามีภรรยาเอิร์ดมันน์ได้ติดต่อกับชาวประมงในท้องที่และได้ร้องขอว่าหากจับปลาลักษณะดังกล่าวได้อีกขอได้โปรดส่งให้เขา ตัวอย่างที่สองจากอินโดนีเซียมีความยาว 1.2 เมตรและมีน้ำหนัก 29 กิโลกรัมถูกจับได้ขณะยังมีชีวิตอยู่เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1998[2] มันมีชีวิตอยู่ได้ 6 ชั่วโมง ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถบันทึกภาพลักษณะของสี การเคลื่อนที่ของครีบ และพฤติกรรมอื่นๆทั่วไป ตัวอย่างปลาถูกเก็บรักษาไว้และบริจาคให้พิพิธภัณฑ์สัตววิทยาโบกอร์ (MZB) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งอินโดนีเซีย (LIPI)[1]

ผลการตรวจสอบดีเอ็นเอชี้ชัดว่าตัวอย่างปลามีความแตกต่างทางพันธุกรรมกับปลาซีลาแคนท์โคโมรอสอย่างชัดเจน[3][4] เมื่อดูอย่างผิวเผินแล้วปลาซีลาแคนท์จากอินโดนีเซียซึ่งในท้องที่เรียกกัน ว่า “ราชาลอต” (หมายถึงเจ้าแห่งทะเล) มีลักษณะที่เหมือนกันกับที่พบในโคโมรอสยกเว้นที่สีผิวที่เป็นสีเทาแกมสีน้ำตาลแทนที่จะเป็นสีน้ำเงิน ปลาชนิดนี้ถูกบรรยายรูปพรรณไว้ในวารสาร Comptes Rendus de l'Académie des sciences Paris ในปี 1999 โดย Pouyaud et al และถูกตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ลาติเมอเรีย เมนาโดเอนซิส (Latimeria menadoensis)[5] ผลการศึกษาทางโมเลกุลประมาณการได้ว่าช่วงเวลาที่เกิดการแตกแขนงเป็นปลาซีลาแคนท์ 2 ชนิดนั้นอยู่ที่ประมาณ 40 – 30 ล้านปีมาแล้ว[6]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 Jewett, Susan L., "On the Trail of the Coelacanth, a Living Fossil", The Washington Post, 1998-11-11, Retrieved on 2007-06-19.
  2. ^ Nelson, Joseph S. (2006). Fishes of the World. John Wiley & Sons, Inc. ISBN 0471250317
  3. ^ Erdmann, Mark V. (April 1999). "An Account of the First Living Coelacanth known to Scientists from Indonesian Waters". Environmental Biology of Fishes 54 (#4): 439–443. Springer Netherlands. doi:10.1023/A:1007584227315. 0378-1909 (Print) 1573-5133 (Online). เรียกข้อมูลวันที่ 2007-05-18 
  4. ^ Holder, Mark T., Mark V. Erdmann, Thomas P. Wilcox, Roy L. Caldwell, and David M. Hillis (1999). "Two living species of coelacanths?". Proceedings of the National Academy of the United States of America 96: 12616–12620. doi:10.1073/pnas.96.22.12616 
  5. ^ Pouyaud, L., S. Wirjoatmodjo, I. Rachmatika, A. Tjakrawidjaja, R. Hadiaty, and W. Hadie (1999). "Une nouvelle espèce de coelacanthe: preuves génétiques et morphologiques". Comptes Rendus de l'Académie des sciences Paris, Sciences de la vie / Life Sciences 322: 261–267. doi:10.1016/S0764-4469(99)80061-4 
  6. ^ Inoue J. G., M. Miya, B. Venkatesh, and M. Nishida (2005). "The mitochondrial genome of Indonesian coelacanth Latimeria menadoensis (Sarcopterygii: Coelacanthiformes) and divergence time estimation between the two coelacanths.". Gene 349: 227–235. doi:10.1016/j.gene.2005.01.008. PMID 15777665 
ภาษาอื่น