มูฮัมมัด ซัยยิด ตอนตอวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มูฮัมมัด ซัยยิด ตอนตอวี (อังกฤษ: Muhammad Sayyid Tantawi; อาหรับ: محمد سيد طنطاوي‎; 28ตุลาคม ค.ศ. 1928-10 มีนาคม ค.ศ. 2010) ท่องจำกุรอานที่เมืองอเล็กซานเดรีย เคยดำรงตำแหน่งอีมามคนสำคัญแห่งมัสยิดอัลอัซฮัร และเชคอาวุโสประจำมหาลัยอัลอัซฮัร เสียชีวิตระหว่างการเดินทางเยือนริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย

เนื้อหา

[แก้] วัยเด็ก

เกิดที่หมู่บ้านซาลีมอัชชัรกียะฮ์ จังหวัดซูฮาจ ประเทศอียิปต์


[แก้] การศึกษาและทำงาน

จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร คณะวจนะศาสดาและอรรถาธิบายกุรอาน ปี ค.ศ. 1966 ด้วยคะแนนประเมินผลอันดับดีเยี่ยม ได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์สอนคณะศาสนศาตร์ ประเทศลิเบีย เป็นเวลา 4 ปี ได้รับตำแหน่งเป็นคณบดีคณะศึกษาศาสตร์อิสลาม แห่งมหาลัยอิสลามียะฮ์ ณ นครมะดีนะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เคยดำรงตำแหน่งมุฟตีผู้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นปัญหาทางศาสนาอิสลามแห่งสาธารณรัฐอิยิปต์ ครั้นปี ค.ศ.1996 จึงได้รับตำแหน่งเชคอาวุโสแห่งมหาลัยอัลอัซฮัร จนถึงปัจจุบัน

[แก้] มุมมองการวินิจฉัยประเด็นทางศาสนา

[แก้] ข้อขัดแย้งต่อการคลุมศีรษะของสตรีมุสลิมในฝรั่งเศส

ในช่วงที่รัฐบาลฝรั่งเศสสั่งห้ามสตรีมุสลิมคลุมศีรษะในสถานศึกษา ตอนตอวี วินิจฉัยว่า อนุญาตให้เปลื้องผ้าคลุมศีรษะ(ฮีญาบ)ได้ขนณะกำลังศึกษา

[แก้] การทำแท้ง

เขากล่าวว่า อณุญาตให้สรีทำแท้งได้ ในกรณีที่นางตั้งครรภ์จากการถูกข่มขึน กระทั่งอาลี ญุมอัต ออกมาบริภาษว่า ตอนตอวี วินิจฉัยผิดพลาด

[แก้] การขลิบอวัยวะเพศหญิง

เขาต่อต้านการขลิบอวัยวะเพศหญิง เขากล่าวว่า การกระทำดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่มาจากอิสลาม และในปี ค.ศ. 1997 ปราชน์ทางศาสนาอิสลาม (อุลามา) มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า การกระทำดังกล่าวไม่ใช่กิจการทางศาสนา ตอนตอวียังปิดเผยด้วยว่า บุตรสาวของเขาเองก็ไม่ได้ขลิบอวัยวะเพศ

[แก้] การระเบิดพลีชีพ

ตอนตอวีต่อต้านการระเบิดแบบยอมตายของมุสลิมในการต่อสู้กับอิสราเอล ซึ่งเป็นความเห็นที่แตกต่างจาก ยุซุฟ ก็อรฏอวี ในปี ค.ศ. 2003 เขาประณามการระเบิดพลีชีพว่า "เป็นศัตรูของอิสลาม" และยังกล่าวอีกว่า "ความเชื่อที่แตกต่างกันของผู้คนในสังคม การขัดแย้งและการเป็นปรปักษ์เป็นเหตุทำให้อยู่ร่วมกันไม่ได้ นับเป็นความโง่เขลาอย่างยิ่ง พวกหัวรุนแรงสุดโต่งเป็นศัตรูของอิสลาม ญิฮาด คือการต่อต้านการรุกรานดินแดนและช่วยเหลือกันให้หลุดพ้นจากการถูกกดขี่บังคับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้ความรุนแรงราวฟ้ากับดิน"[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] การให้สตรีเป็นอิมามนำละหมาด

เขากล่าวว่า มันเป็นสิ่งไม่เหมาะสมสำหรับพวกผู้ชายที่จะมองสัดส่วนของผู้หญิงที่อยู่ด้านหน้า

[แก้] กรณีสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 16 กล่าวตำหนิอิสลาม

ตอนตอวีระบุระบุว่า เราไม่มีข้อโต้แย้งที่เขาจะกล่าวในเรื่องสาระอื่นๆ ในขณะเดียวกันสิ่งที่เขาประกาศต่อสาธารณชนเขาต้องขออภัยอย่างเปิดเผยหรือไม่ก็แสดงเหตุผลสมควรในสิ่งที่เขาพูด

[แก้] กรณีการก่อวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

เขากล่าวว่า นี่ไม่ใช่ความกล้าหาญที่จะฆ่าผู้บริสุทธิ์เป็นพันศพ รวมทั้งฆ่าผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก เขากล่าวด้วยว่า "โอซามะห์ บินลาเด็น เรียกการญิฮาดว่าเป็นเพียงการต่อต้านตะวันตกซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และไม่เกี่ยวข้องกับอิสลาม" เขากล่าวเสริมอีกว่า"การฆ่าพลเรือนผู้บริสุทธิ์เป็นการข่มขวัญที่น่ารังเกียจ เป็นการกระทำของพวกไร้ศาสนา ซึ่งเรารับไม่ได้" และยังกล่าวอีกว่า "ผู้กระทำผิดลักษณะเดียวกับกับตาลีบันและอัลกออิดะห์ เป็นสิ่งที่กุรอานไม่อนุญาต"[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] การเยือนประเทศไทย

ตอนตอวีได้รับคำเชิญจากรัฐบาลไทยให้เยือนไทยในระหว่างวันที่ 23 – 27 มิถุนายน 2550 เพื่อกระชับตวามสัมพันธ์ในกิจการด้านศาสนาและเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาเพื่อสันติสุขชายแดนใต้


[แก้] เสียชีวิต

ตอนตอวีได้เสียชีวิตเนื่องจากหัวใจล้มเหลว(หัวใจวาย) ในระหว่างการเยือนที่ประเทศซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการ เมื่อเช้าวันที่ 10 มีนาคม 2553(2010) ในขณะที่ท่านมีอายุ 81 ปี

Crystal Clear app Login Manager.png มูฮัมมัด ซัยยิด ตอนตอวี เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ มูฮัมมัด ซัยยิด ตอนตอวี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ