สโมสรฟุตบอลเมืองทองฯ ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมืองทอง ยูไนเต็ด
Muangthongutd.png
ชื่อเต็ม สโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด
ฉายา กิเลนผยอง
ก่อตั้ง พ.ศ. 2532
สนาม ยามาฮ่า สเตเดียม
ความจุ 20,000 ที่นั่ง
ประธาน Flag of ไทย ระวิ โหลทอง
ผู้จัดการ Flag of เบลเยียม โรเบิร์ต โปรคูเรีย
ผู้ฝึกสอน Flag of เบลเยียม เรอเน เดอซาแยร์
ลีก ไทยพรีเมียร์ลีก
ฤดูกาล 2552
อันดับล่าสุด อันดับ 1
ทีมเหย้า
ทีมเยือน


สโมสรฟุตบอลเมืองทองฯ ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลของประเทศไทย ลงเล่นในระดับไทยพรีเมียร์ลีก โดยเลื่อนชั้นขึ้นมาในฐานะแชมป์ดิวิชั่น 1เมื่อจบฤดูกาล 2008

เนื้อหา

[แก้] ประวัติสโมสร

[แก้] ยุคแรก (โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์)

บุคคลที่เป็นผุ้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ขึ้นมาไม่ใช่ใครเป็นนายวรวีร์ มะกูดี ซึ่งปัจจุบันเป็นนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นั่นเองโดยเป็นการก่อตั้งหลังจากทีมโรงเรียนศาสนวิทยา หรือทีมบีอีซี เทโรศาสน ในปัจจุบันแค่เพียง 3 ปีเท่านั้น ชื่อแรกที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสมาคมฟุตบอลฯหาใช่เป็นเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด เช่นทุกวันนี้ไม่ แต่เป็นชื่อทีมโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ ย่างก้าวแรกก่อนจะมาถึงจุดสูงสุด ณ วันนี้ได้นั้น ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ เริ่มไตเต้าจากถ้วยเล็กสุดอย่างถ้วยพระราชทานประเภท ง มาก่อน กาลเวลาล่วงเลยผ่านไปพร้อมกับการผ่องถ่ายเปลี่ยนมือคนที่เข้ามาสร้างทีมยุคสู่ยุคหลายต่อหลายคนเคยมีโอกาสได้เข้ามาทำทีม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ กระทั่งในการแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชั่น1 ฤดูกาล 2545-2546 ทีม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหนแรกเป็น สโมสรฟุตบอลไข่มุกดำหนองจอก โดยได้นายหัว วีระ มุสิกพงศ์ อดีตนักการเมืองดังเข้ามาเทกโอเวอร์ทำทีมแต่แค่ฤดูกาลเดียวเมื่อไม่ประสบความสำเร็จนายหัว วีระ ก็เลิกลาไปโดยที่ทีมยังคงอยู่ในลีกดิวิชั่น1 ต่อไป

[แก้] เข้าสู่ระบบลีก

ฤดูกาลต่อมาของลีกดิวิชั่น1 2546-2547 ทีมเปลี่ยนชื่ออีกครั้งตามกลุ่มที่เข้าเทกโอเวอร์รับทำทีมต่อก้คือ สโมสรฟุตบอล หลักทรัพย์โกล์เบล็ค หนองจอก โดยมีโค้ชหลอ สมศักดิ์ เซ็นเชาวนิช เป็นกุนซือแต่ปีนั้นทีมทำผลงานได้ย่ำแย่จนสุดท้ายก็ต้องตกชั้นไปเล่นในถ้วยพระราชทานประเถท ข ในฤดูกาล 2547-2548 โดยกลับไปใช้ชื่อเดิม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จุดเริ่มต้นจริงๆก่อนจะมายิ่งใหญ่เช่นทุกวันนี้นั้นน่าจะเป็นเพราะสมาคมฟุตบอลฯต้องการยกระดับลีกการแข่งขันในประเทศของไทยให้เป็นสากลมากขึ้นจึงก่อตั้งลีกดิวิชั่น2 ขึ้นมาโดยนำทีมจากถ้วยพระราชทาน ข และ ค มาผสมรวมกันเพื่อแข่งขันในลีกนี้ในฤดูกาล 2549-2550 ซึ่งแน่นอนว่า ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ได้สิทธิ์เข้าแข่งขันด้วยและปีนั้นกับลีกดิวิชั่น2 ของไทยครั้งแรกชื่อทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ก็ปรากฏขึ้นมาโดยผู้สนับสนุนทีมคือ นายระวิ โหลทอง ที่รับตำแหน่งประธานสโมสรด้วยตนเอง ใครก็รู้ดีว่านายใหญ่ของค่ายสยามสปอร์ต ผู้นี้ที่เป็นเจ้าพ่อสื่อกีฬาในปัจจุบันนั้นพิสมัยเกมลูกหนังขนาดไหนด้วยใจรักจึงอยากจะมีทีมฟุตบอลของตัวเองขึ้นมาสักทีมเพื่อหวังทำให้ประสบความสำเร็จเหมือนที่เคยทำหนังสือพิมพ์กีฬาให้โด่งดังมาแล้ว

[แก้] ยุคเริ่มต้นแห่งความสำเร็จ

ปีนั้นทีมใช้บริการกุนซืออย่าง นพพร เอกศาสตรา คุมทีมโดยมี มร.โรเบิร์ต โปรคูเรอร์ เป็นผจก.ทีมและสุดท้ายปีนั้นชื่อทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ก็ได้รับการจารึกว่าเป็นเจ้าของแชมป์ลีกดิวิชั่น2 ครั้งแรกพร้อมได้สิทธิ์ก้าวไปเล่นลีดดิวิชั่น1 ในปี พ.ศ. 2551 ได้สำเร็จ ความสำเร็จจากแชมป์ลีกดิวิชั่น2 จุดประกายฝันให้ทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด เดินหน้าต่อในลีกดิวิชั่น1 ที่เขี้ยวและหินกว่าลีกดิวิชั่น2 เยอะแต่สุดท้ายทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ก็ทำได้เมื่อกุนซืออย่าง โค้ชหมี สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ สามารถพาทีมคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่น1 ประจำปี 2551 มาครอบครองได้สำเร็จ พร้อมตั๋วขึ้นชั้นมาเล่นไทยพรีเมียรืลีก2009 หรือไทยลีก ครั้งที่ 13 ได้สำเร็จ ไทยพรีเมียรืลีก2009 อันเป็นครั้งแรกของทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด หรือทีม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ เดิม ได้ขึ้นมาเล่นลีกสูงสุดของประเทศได้เป็นครั้งแรกนับจากก่อตั้งสโมสรมา 20 ปีนั้น สุดท้ายประวัติศาสตร์ของวงการลูกหนังไทยก็ต้องจารึกอีกครั้งเป็นตำนานบทใหม่ว่าเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด นั้นเป็นทีมแรกที่สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกของไทยไล่จากลีกดิวิชั่น2,ดิวิชั่น1 จนถึงลีกสูงสุดของไทยอย่าง ไทยพรีเมียร์ลีก แบบใช้เวลา 3ปี ถ้วยต่อถ้วยได้สำเร็จเป็นทีมแรกที่ยังไม่เคยมีสโมสรไหนทำได้มาก่อนนับแต่ที่ลีกลูกหนังไทยปรับโฉมมาเป็นลีกดิวิชั่น2,1 และไทยพรีเมียร์ลีก จากเดิมที่เป็นถ้วยง,ค,ข และลีกดิวิชั่น1 ก่อนถึงไทยลีกเท่านั้น

[แก้] สนามเหย้า

สโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด ใช้สนามยามาฮ่า สเตเดี้ยมเป็นสนามเหย้า โดยสนามแห่งนี้อยู่หลังอาคารชาเลนเจอร์ เป็นพื้นที่โล่งใกล้กับทางขึ้นลงทางด่วนพิเศษ ไปได้ทุกที่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ติดกับธันเดอร์โดมที่ใช้จัดคอนเสิร์ตในเรียลลิตี้ โชว์ชื่อดัง “เอเอฟ” หรืออะคาเดมี่ แฟนเทเชีย

สำหรับสนามยามาฮ่า สเตเดี้ยม นั้นปัจจุบันมีความจุโดยประมาณ 15,000 ที่นั่ง และเมื่อต่อเติมและปรับปรุงเสร็จจะมีความจุรวมเพิ่มเป็น 20,000 ที่นั่ง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกทั้ง 2 ฝั่งอัฒจรรย์, ห้อง VIP รอบสนาม, ห้องสื่อมวลชน, ร้านอาหาร, พลาซ่า, จูเนียร์ช็อป, พิพิธภัณฑ์สโมสร ฯลฯ นอกจากนี้สโมสร ยังเปิดโอกาสให้สโมสรอื่นๆ ทั้งในระดับไทยลีกและดิวิชั่นต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาระบบการจัดการของสโมสรเพื่อพัฒนาลีกอาชีพของไทยให้ก้าวไปสู่ ความเป็นสากลต่อไป

[แก้] โลโก้สโมสรจากอดีตถึงปัจจุบัน

[แก้] ผลงาน

  • 2553 - ถ้วยพระราชทาน ก - ชนะเลิศ
  • 2552 - ไทยพรีเมียร์ลีก - ชนะเลิศ
  • 2551 - ไทยลีก ดิวิชั่น 1 - ชนะเลิศ
  • 2550 - ไทยลีก ดิวิชั่น 2 - ชนะเลิศ

[แก้] ผู้ฝึกสอน

รายชื่อผู้ฝึกสอน(2550 - ปัจจุบัน)

ชื่อ สัญชาติ ระยะเวลา ความสำเร็จ
นพพร เอกศาสตรา Flag of ไทย 2550-2551 แชมป์ ดิวิชั่น 2
นาวาเอก สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ Flag of ไทย 2551-เมษายน 2552 แชมป์ ดิวิชั่น 1
อรรถพล บุษปาคม Flag of ไทย เมษายน 2552-มกราคม 2553 แชมป์ ไทยพรีเมียร์ลีก
เรอเน เดอซาแยร์ Flag of เบลเยียม มกราคม 2553-ปัจจุบัน แชมป์ ถ้วย ก

[แก้] ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ชุดฤดูกาล 2553 Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ

หมายเลข ตำแหน่ง ผู้เล่น
1 Flag of ไทย GK ทนงศักดิ์ พันภิพัฒน์
3 Flag of ไทย DF ปกาศิต แสนสุข
4 Flag of ไทย DF ภาณุพงษ์ วงษา
5 Flag of ไทย DF เจษฎา จิตสวัสดิ์
6 Flag of ไทย DF ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ Captain sports.svg
7 Flag of ไทย MF ดัสกร ทองเหลา
8 Flag of ไทย MF จักรพันธ์ แก้วพรม
9 Flag of ไทย FW รณชัย รังสิโย
10 Flag of ไทย FW ธีรศิลป์ แดงดา
11 Flag of ไทย MF ปิยะชาติ ถามะพันธ์
13 Flag of โกตดิวัวร์ FW คริสเตียน ควาคู
14 Flag of ไทย FW ธีรเทพ วิโนทัย
15 Flag of กินี MF ซิลล่า มุสซ่า
16 Flag of ไทย DF ไพฑูรย์ นนทะดี
17 Flag of ไทย DF วิศรุต พันนาสี
หมายเลข ตำแหน่ง ผู้เล่น
18 Flag of ไทย MF นฤพล อารมณ์สวะ
19 Flag of ไทย MF พิชิตพงษ์ เฉยฉิว
20 Flag of ไทย DF อมร ธรรมนาม
21 Flag of โกตดิวัวร์ MF ดั๊กโน เซียกา
22 Flag of โกตดิวัวร์ FW โคเน่ โมฮาเหม็ด
23 Flag of ไทย MF ปิยะพล บรรเทา
24 Flag of โกตดิวัวร์ FW ซูมาโฮโร่ ยาย่า
25 Flag of ไทย FW ชยานันท์ ป้อมบุบผา
26 Flag of ไทย GK กวิน ธรรมสัจจานันท์
27 Flag of ไทย DF วิธวินทร์ คลอวุฒิวัฒน์
28 Flag of ญี่ปุ่น MF โนบูยูกิ ไซเซน
32 Flag of ไทย GK ธีรวัฒน์ ปิ่นประดับ
33 Flag of ไทย DF นวพล ตันตระเสนีย์
36 Flag of ตุรกี FW แบร์คั่นท์ เกิคธัน

[แก้] สรุปการย้ายเข้า-ออก

เข้า

ผู้เล่น หมายเลข จาก ลีก วันที่
Flag of ไทย จักรพันธ์ แก้วพรม 8 บีอีซี เทโรศาสน Flag of ไทย ไทยพรีเมียร์ลีก พฤศจิกายน2552
Flag of ไทย อมร ธรรมนาม 20 พัทยา ยูไนเต็ด Flag of ไทย ไทยพรีเมียร์ลีก พฤศจิกายน2552
Flag of ไทย ไพฑูรย์ นนทะดี 16 จุฬา ยูไนเต็ด Flag of ไทย ไทยลีก ดิวิชั่น1 พฤศจิกายน2552
Flag of โกตดิวัวร์ คริสเตียน เยา 13 อันเดอร์เลชท์ Flag of เบลเยียม เบลเยี่ยม ดิวิชั่น 1 พฤศจิกายน2552
Flag of ไทย ปิยะพล บรรเทา 22 ชลบุรี Flag of ไทย ไทยพรีเมียร์ลีก พฤศจิกายน2552
Flag of ไทย ภาณุพงษ์ วงษา 4 การไฟฟ้า Flag of ไทย ไทยพรีเมียร์ลีก พฤศจิกายน2552
Flag of ไทย นฤพล อารมณ์สวะ 18 โฮม ยูไนเต็ด Flag of สิงคโปร์ เอส-ลีก พฤศจิกายน2552
Flag of ญี่ปุ่น โนบุยูกิ ไซเซน 28 มอนเตดิโอ ยามากาตะ Flag of ญี่ปุ่น เจ-ลีก มกราคม2553
Flag of โกตดิวัวร์ โคเน่ โมฮาเหม็ด 23 ชลบุรี Flag of ไทย ไทยพรีเมียร์ลีก มกราคม2553
Flag of ไทย ดัสกร ทองเหลา 7 ฮองอันห์ยาลาย Flag of เวียดนาม วี-ลีก มกราคม2553
Flag of ตุรกี แบร์คั่นท์ เกิคธัน 36 1860 มิวนิค Flag of เยอรมนี บุนเดสลีกาสอง มกราคม2553
Flag of ไทย ธีรวัฒน์ ปิ่นประดับ 32 ทีโอที แคท Flag of ไทย ไทยพรีเมียร์ลีก กุมภาพันธ์2553
Flag of ไทย วิธวินทร์ คลอวุฒิวัฒน์ 27 - - มีนาคม2553



ออก

ผู้เล่น หมายเลข ไป ลีก วันที่
Flag of ไทย หัตฐพร สุวรรณ -- บีอีซี เทโรศาสน Flag of ไทย ไทยพรีเมียร์ลีก พฤศจิกายน2552
Flag of ไทย อนุสรณ์ ศรีชาหลวง -- ทีทีเอ็ม พิจิตร Flag of ไทย ไทยพรีเมียร์ลีก พฤศจิกายน2552
Flag of ไทย ธนพัต ณ ท่าเรือ -- เพื่อนตำรวจ Flag of ไทย ไทยพรีเมียร์ลีก พฤศจิกายน2552
Flag of โกตดิวัวร์ โคเน่ อดาม่า -- ทีทีเอ็ม พิจิตร Flag of ไทย ไทยพรีเมียร์ลีก พฤศจิกายน2552
Flag of โกตดิวัวร์ บรูว์ เคมองต์ -- ทีทีเอ็ม พิจิตร Flag of ไทย ไทยพรีเมียร์ลีก พฤศจิกายน2552
Flag of ไทย สาลาฮูดิน อาแว -- การไฟฟ้า Flag of ไทย ไทยพรีเมียร์ลีก ธันวาคม2552
Flag of ไทย อุกฤษณ์ วงศ์มีนา -- การไฟฟ้า Flag of ไทย ไทยพรีเมียร์ลีก มกราคม2553

[แก้] เกร็ดน่ารู้

เพลงมารซ์ "กิเลนผยอง" เอาทำนองมาจากเพลง 'The Battle Hymn of Repubilc' หรือ ' glory glory man united'

[แก้] สโมสรพันธมิตร

[แก้] แหล่งที่มา

[แก้] อ้างอิง

นิตยสาร เอ็มทียูทีดี รายเดือน




Sports icon.png สโมสรฟุตบอลเมืองทองฯ ยูไนเต็ด เป็นบทความเกี่ยวกับ กีฬา นักกีฬา หรือ ทีมกีฬา  ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สโมสรฟุตบอลเมืองทองฯ ยูไนเต็ด ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่โครงการทุกอย่างเกี่ยวกับกีฬา
ภาษาอื่น