แผ่นดินไหวในชิลี พ.ศ. 2553

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แผ่นดินไหวในประเทศชิลี พ.ศ. 2553
2010 Chile earthquake epicenter.png
วันที่ 03:34:14, 27 กุมภาพันธ์ 2010 (UTC-3) (2010-02-27T03:34:14UTC-3)
06:34:14, 27 กุมภาพันธ์ 2010 (UTC) (2010-02-27T06:34:14Z)
ขนาด 8.8 Mw
ความลึก: 35 กิโลเมตร
ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว: 35°50′46″S 72°43′08″W / 35.846°S 72.719°W / -35.846; -72.719พิกัดภูมิศาสตร์: 35°50′46″S 72°43′08″W / 35.846°S 72.719°W / -35.846; -72.719
ประเทศที่ได้รับผลกระทบ ประเทศชิลี, แคว้นเมาเล, แคว้นบีโอ-บีโอ
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้: MM VIII[1]
ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต: เสียชีวิต 497 คน[2]

แผ่นดินไหวในประเทศชิลี พ.ศ. 2553 เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดนอกชายฝั่งแคว้นเมาเล ประเทศชิลี[3][4] เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เมื่อเวลา 03:34 ตามเวลาท้องถิ่น (06:34 UTC) มีความรุนแรง 8.8 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ เป็นเวลานานราว 3 นาที[5][6] ถือเป็นการแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงที่สุดหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวมีความรุนแรง 9.5 ตามมาตราขนาดโมเมนต์เมื่อปี พ.ศ. 2503 ที่ วาลดีเวีย (ถือเป็นแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีบันทึก) และถือเป็นเหตุแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงที่สุดหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547[7] ถือว่ามีความรุนแรงเป็นอันดับ 7 เท่าที่มีการบันทึกมา (เทียบเท่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเอกวาดอร์ พ.ศ. 2449) มีความรุนแรงมากกว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเฮติ พ.ศ. 2553 ที่มีความรุนแรง 7.0 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2553[8]

เมืองที่ได้รับประสบความรุนแรงจากการสั่นไหวระดับ IX (พื้นดินแยก) ตามมาตราเมร์กัลลี คือเมืองตัลกาอัวโน, อาเราโก, โลตา, ชิกัวยานเต, กาเนเต และซันอันโตนิโอ [1] แผ่นดินไหวครั้งนี้ยังรู้สึกได้ถึงเมืองหลวง ซันติอาโก ที่ระดับ VIII (ผู้คนทั่วไปตกใจ) ตามมาตราเมร์กัลลี[9] แรงสั่นไหวยังรู้สึกได้ในหลายเมืองของอาร์เจนตินา รวมถึงเมืองบัวโนสไอเรส, กอร์โดบา, เมนโดซา และลาริโอฮา[10][11] แรงสั่นไหวยังรู้สึกได้ไปทางตอนเหนือถึงเมืองไอกาในเปรูทางตอนใต้[12] และยังเตือนภัยคลื่นสึนามิไปยัง 53 ประเทศ[9] และมีการบันทึกว่าคลื่นสึนามิ มีความสูงไปถึง 2.6 เมตร ในทะเล ที่เมืองวาลปาราอิโซ ประเทศชิลี ประธานาธิบดีมิเชล บาเชเลตออกมาประกาศเขตพื้นที่มหันตภัย

จุดเหนือศูนย์แผ่นดินไหวอยู่นอกชายฝั่งแคว้นเมาเล ราว 8 กิโลเมตรทางตะวันตกของ Curanipe และ 115 กิโลเมตร ทางเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือไปทางเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของชิลี เมืองกอนเซปซีออน[13][14] แผ่นดินไหวยังทำให้เกิดคลื่นในทะเลสาบพอนต์ชารเทรน ไปทางเหนือของเมืองนิวออร์ลีนส์ สหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ห่างจากจุดเหนือศูนย์แผ่นดินไหว 7,600 กิโลเมตร[15]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 PAGER – M 8.8 – OFFSHORE MAULE, CHILE. Earthquake.usgs.gov. สืบค้นวันที่ February 27, 2010
  2. ^ http://www.peru.com/noticias/terremotochile20100305/84709/Suben-a-452-los-cadaveres-identificados-tras-seis-dias-del-sismo-en-Chile
  3. ^ Reuters earthquake report. Reuters. สืบค้นวันที่ February 27, 2010
  4. ^ Japan Meteorological Agency report. Japan Meteorological Agency. สืบค้นวันที่ February 27, 2010
  5. ^ USGS Earthquake Details. United States Geological Survey. สืบค้นวันที่ February 27, 2010
  6. ^ Patrick Sawer. "Huge earthquake hits Chile", The Daily Telegraph, February 27, 2010. สืบค้นวันที่ February 27, 2010
  7. ^ Historic World Earthquakes. Earthquake.usgs.gov. United States Geological Survey (November 23, 2009). สืบค้นวันที่ February 27, 2010
  8. ^ Huge quake hits Chile; tsunami threatens Pacific (February 26, 2010). สืบค้นวันที่ February 26, 2010
  9. ^ 9.0 9.1 "Tsunami After Major Earthquake Hits Chile", Sky News, February 27, 2010. สืบค้นวันที่ February 27, 2010
  10. ^ Confirman que el sismo de Chile se sintió en Buenos Aires. Infobae (February 27, 2010). สืบค้นวันที่ 27 February 2010 (Spanish)
  11. ^ ข้อผิดพลาด: ต้องการพารามิเตอร์ title
  12. ^ ข้อผิดพลาด: ต้องการพารามิเตอร์ title
  13. ^ Magnitude 8.8 – Offshore Maule, Chile. United States Geological Survey (February 27, 2010). สืบค้นวันที่ February 27, 2010
  14. ^ Intensity of shaking in cities around the 2010 Chilean earthquake from USGS
  15. ^ Erdman, Jonathan (February 27, 2010). How strong & rare was quake?. The Weather Channel. สืบค้นวันที่ 27 February 2010