รถไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รถดีเซลราง Daewoo ขณะจอดที่สถานีรถไฟดอนเมือง
รถจักรไอน้ำ Krauss-Maffei ซึ่งใช้ในสายแม่กลอง-มหาชัย
รถไฟรูปแบบทันสมัยที่ประเทศนอร์เวย์ ใช้ในการรับส่งระหว่างสนามบิน
รถจักรไอน้ำ ร็อกเก็ต ซึ่ง จอร็จ สตีเฟนสัน เป็นผู้ประดิษฐ์ ในปี พ.ศ. 2357

รถไฟ (อังกฤษ: Train) เป็นกลุ่มของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ไปตามรางเพื่อการขนส่งสินค้าหรือผู้โดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รางส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วยราว 2 อันขนานกัน แต่ยังหมายรวมถึงประเภทราวเดี่ยวหรือประเภทที่ใช้พลังแม่เหล็กด้วย รถไฟจะขับเคลื่อนด้วยหัวรถจักรหรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หลายๆตัวที่ติดอยู่ใต้ท้องรถ รถไฟสมัยใหม่จะใช้กำลังจากหัวรถจักรดีเซลหรือจากไฟฟ้าที่ส่งมาตามสายไฟที่อยู่เหนือตัวรถหรือตามรางสาม (Third Rail) เดิม รถไฟขับเคลื่อนโดยใช้หม้อต้มน้ำทำให้เกิดไอน้ำ ไอน้ำทำให้เกิดแรงดัน แรงดันจะทำการขับเคลื่อนกลไกทำให้ล้อรถไฟเคลื่อนที่ได้ การที่ใช้ฟืนเป็นแหล่งพลังงานในการต้มน้ำ และฟืนที่ทำให้เกิดเปลวไฟ ทำให้เรียกรถชนิดนี้ว่า รถจักรไอน้ำ

รถไฟแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ หัวรถจักร, รถดีเซลราง, รถโดยสาร และ รถสินค้า

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

รถไฟเริ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อประมาณสามร้อยปีมาแล้ว เดิมทีเดียวสร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกถ่านหิน รถนั้นมีล้อ แล่นไปตามรางและใช้ม้าลาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2357 จอร์จ สตีเฟนสัน (George Stephenson) ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำ ชื่อว่า ร็อคเก็ต (Rocket)ซึ่งสามารถแล่นได้ด้วยตนเองเป็นผลสำเร็จ นำมาใช้ลากจูงรถแทนม้าในเหมืองถ่านหิน ภายหลังจากนั้นก็ได้มีผู้ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำและรถจักรชนิดอื่นๆ ขึ้นอีกหลายแบบ รถไฟได้เปลี่ยนสภาพจากรถขนถ่านหินมาเป็นรถสำหรับขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ดังเช่นในปัจจุบัน

กิจการรถไฟของไทยนั้น ได้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2429 ตรงกับรัตนโกสินทร์ศกที่ 105 ไทยได้ให้สัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์กสร้างทางรถไฟสายแรกจาก กรุงเทพมหานคร ถึงสมุทรปราการ เป็นระยะทาง 21 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้น โดยสังกัดกระทรวงโยธาธิการ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระองค์เสด็จประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง กรุงเทพมหานครถึงอยุธยา เป็นระยะทาง 71 กิโลเมตร ซึ่งทางการได้ถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟหลวง ปัจจุบันทางรถไฟที่สำคัญของประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้นรวมสี่สาย คือ สายเหนือ ถึงจังหวัดเชียงใหม่และสุโขทัย สายใต้ ถึงประเทศมาเลเซีย สายตะวันออก ถึงจังหวัดสระแก้ว และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและอุบลราชธานี รวมเป็นระยะทาง 3,855 กิโลเมตร

[แก้] ประเภทของรถจักร

ในโลกมีรถจักรอยู่หลากหลายประเภท แต่รถจักรประเภทหลักๆที่มีใช้อยู่หลากหลายในโลก คือ

  • รถจักรไอน้ำ (Steam Locomotive) ใช้พลังแรงดันสูงจากไอน้ำอันเกิดจากน้ำต้มเดือด ในการดันลูกสูบเพื่อหมุนล้อ ปัจจุบันแทบไม่มีแล้ว
  • รถจักรดีเซล (Diesel Locomotive)แบ่งออกเป็น
  • รถจักรไฟฟ้า (Electric Locomotive) ใช้ไฟฟ้านำไปหมุนมอเตอร์ลากจูง (Traction Motor:TM) เป็นรถจักรที่มีกำลังสูงมากกว่าประเภทอื่นๆ [ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ได้แก่
    • รถดีเซลราง (Diesel Multiple Unit:DMU) เป็นรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังดีเซล ส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยดีเซลการกล หรือดีเซลไฮดรอลิก
    • รถรางไฟฟ้า (Electric Multiple Unit:EMU) เป็นรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ซึ่งใช้ไฟฟ้า

[แก้] รถไฟไทยประเภทต่างๆ

  • ขบวนรถด่วนพิเศษ ให้บริการเฉพาะ ชั้น1และ2 (ยกเว้น ข.37-38เพราะมีชั้น3)
  • ขบวนรถด่วน ให้บริการครบทุกชั้น (ยกเว้น ข.51-52เพราะไม่มีชั้น1, ข.67-68 ไม่มีชั้น3)
  • ขบวนรถเร็ว ให้บริการเฉพาะ ชั้น2และ3 (ยกเว้น ข.105-106เพราะเป็นรถดีเซลราง)
  • ขบวนรถธรรมดา ให้บริการเฉพาะ ชั้น2และ3 เช่นเดียวกันกับรถเร็ว (ยกเว้นบางขบวน เช่น ข.209-210, 281-282 ใช้รถดีเซลราง)
  • ขบวนรถชานเมือง ให้บริการชั้น3 บางขบวนอาจจะมีรถชั้น2พ่วงมาบ้าง (ยกเว้น ข.355-356,สายแม่กลอง,ข.388-391 เพราะเป็นรถชั้น2ทั้งขบวน)
  • ขบวนรถท้องถิ่น ให้บริการชั้น3 ส่วนใหญ่จะเป็นรถดีเซลรางชั้น3 (ขบวนรถท้องถิ่นในเส้นทางสายใต้ใช้รถจักรลาก บชส.)
  • ขบวนรถรวม ให้บริการทั้งรถโดยสารและสินค้า (ปัจจุบันมีแค่ 4 ขบวนในเส้นทางสายใต้)
  • ขบวนรถนำเที่ยว ให้บริการชั้น3อาจมีรถปรับอากาศชั้น2พ่วงในบางขบวน
  • ขบวนรถวิ่งระหว่างเมืองใหญ่ เป็นรถดีเซลรางปรับอากาศชั้น2ทุกขบวน (ยกเว้น ขบวน75-78เพราะมีรถชั้น3พ่วงมาด้วย)
  • ขบวนรถสินค้า เป็นรถที่ใช้ในการขนส่งสินค้า

[แก้] องค์ประกอบของการเดินขบวนรถไฟที่สำคัญ

[แก้] Album

[แก้] จุดท่องเที่ยวบนทางรถไฟ

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น