ศาสนาซิกข์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ศาสนาสิกข์)
สัญลักษณ์ของศาสนาซิกข์ที่ใช้ในปัจจุบัน

ศาสนาซิกข์ หรือ ศาสนาสิกข์ (ปัญจาบ: ਸਿੱਖੀ, สัท.: Loudspeaker.svg [ˈsɪkːʰiː] ) เป็นศาสนาที่ถือกำเนิดขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในตอนเหนือของอินเดีย จากคำสอนของ นานัก และคุรุผู้สืบทอดอีก 9 องค์ หลักปรัชญาของศาสนาซิกข์และการปฏิบัติตามหลักศาสนา นิยมเรียกว่า "คุรมัต" (ความหมายโดยพยัญชนะ หมายถึง "คำสอนของคุรุ" หรือ "ธรรมของซิกข์")

คำว่า "ซิกข์" หรือ "สิกข์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "ศิษฺย" หมายถึง ศิษย์ ผู้เรียน หรือ "ศิกฺษ" หมายถึง การเรียน และภาษาบาลีว่า "สิกฺข" หรือ "สิกฺขา" [1] หมายถึง การศึกษา ผู้ศึกษา หรือผู้ใฝ่เรียนรู้

หลักความเชื่อของศาสนาซิกข์ คือ ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว คือ "วาหคุรู" ปฏิบัติสมาธิในนามของพระเจ้า และโองการของพระเจ้า ศาสนิกชาวซิกข์จะนับถือหลักคำสอนของคุรุซิกข์ทั้ง 10 หรือผู้นำผู้รู้แจ้ง และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ที่เรียกว่า "คุรุ ครันถ์ สาหิพ" ซึ่งเป็นบทคัดสรรจากผู้เขียนมากมาย จากภูมิหลังทางศาสนา และเศรษฐกิจสังคมที่หลากหลาย คัมภีร์ของศาสนาเป็นบัญญัติของคุรุ โคพินท์ สิงห์ คุรุองค์สุดท้ายแห่งขาลสา ปันถ (Khalsa Panth) การสอนและหลักปฏิบัติของศาสนาซิกข์มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของภูมิภาคปัญจาบในลักษณะต่างๆ กัน

ศาสนาซิกข์นับเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก ปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาซิกข์มากกว่า 23 ล้านคนทั่วไป ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐปัญจาบ ของอินเดีย

เนื้อหา

[แก้] ชื่อและการออกเสียง

การเขียน และการออกเสียงชื่อศาสนาซิกข์นั้น หากเขียนว่า "สิกข์" ในภาษาไทยจะอ่านออกเสียงว่า "สิก" ซึ่งไม่ตรงกับเสียงในภาษาปัญจาบ และจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นเพื่อให้อ่านออกเสียง และความหมายถูกต้อง จึงต้องเขียนว่า "ซิกข์" และอ่านออกเสียงว่า "ซิก", หรืองานวิ่งการกุศล ไทย-ซิกข์ มาราธอนซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ก็ใช้การเขียนว่า "ซิกข์" ขณะที่ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนมีการสะกดว่า "สิกข์" [2]

ในพจนานุกรมภาษาไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดว่าคำนี้สามารถสะกดได้ถึงสี่แบบ ได้แก่ "ซิก, ซิกข์, สิกข์, สิข" [3]

[แก้] นิกายต่างๆ ในศาสนาซิกข์

[แก้] ชาวซิกข์ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
ศาสนาซิกข์