พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา.jpg
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
พระนามเต็ม พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
พระอิสริยยศ พระเจ้าหลานเธอ
ฐานันดรศักดิ์ พระองค์เจ้า
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
พระราชวงศ์ไทย
Emblem of the House of Chakri.svg

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (อังกฤษ: Her Royal Highness Princess Bajrakitiyabha) พระราชธิดาองค์แรกใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (ม.ล.โสมสวลี กิติยากร) ทรงเป็นพระราชนัดดา พระองค์แรกใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต [1]

เนื้อหา

[แก้] การศึกษา

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

[แก้] พระกรณียกิจ

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านต่างๆ ทั้งด้านสาธารณกุศลผ่าน มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย และด้านกฎหมาย ซึ่งทรงมีความเชี่ยวชาญ ตลอดจนปฏิบัติพระกรณียกิจสนองพระเดชพระคุณ ในการเสด็จแทนพระองค์อยู่โดยเสมอมา เมื่อครั้งที่ทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทรงร่วมงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ และทรงเป็นผู้เชิญธรรมจักร ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย มากไปกว่านั้น ทรงเข้าทำงาน ที่คณะทูตถาวรแห่งประเทศไทย ประจำองค์การสหประชาชาตินครนิวยอร์ก

[แก้] ด้านกฎหมาย

  • พ.ศ. ๒๕๔๙ - อัยการผู้ช่วย สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด[3]
  • พ.ศ. ๒๕๕๐ - อัยการประจำกอง(ข้าราชการอัยการชั้น ๒) สำนักงานคดียาเสพติด [4]
  • พ.ศ. ๒๕๕๑ - อัยการจังหวัดผู้ช่วย(ข้าราชการอัยการชั้น ๒) สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี [5]
  • พ.ศ. ๒๕๕๒ - รองอัยการจังหวัดอุดรธานี (ข้าราชการอัยการชั้น ๓) สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี [6]
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ - รองอัยการจังหวัดพัทยา (ข้าราชการอัยการชั้น ๓) สำนักงานอัยการจังหวัดพัทยา[7]

[แก้] มูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก สภากาชาดไทย

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เริ่มต้นจากการดำเนิน โครงการอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งมีขึ้นในขณะที่มีอุทกภัยครั้งร้ายแรงในกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ และมีผู้ได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก จนภาคราชการและองค์กรการกุศลที่มีอยู่มิอาจให้ความช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง จนเกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งกันระหว่างประชาชนอันเกิดจากความเครียดอันเนื่องมาจากการป้องกันน้ำให้ท่วมในวงจำกัด ผู้ที่เดือนร้อนจึงรู้สึกว่าขาดที่พึ่ง ขาดความเห็นอกเห็นใจ ต้องได้รับความเดือดร้อนเฉพาะชาวพื้นที่ของตนเอง ขณะที่พื้นที่ติดกันได้รับความสะดวกสบายอย่างเป็นปกติ

ในช่วงเช้าของวันที่ ๒๙ ตุลาคม เป็นวันที่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงออกปฏิบัติภารกิจในโครงการ ฯ เป็นครั้งแรก โดยเสด็จออกรับน้ำใจจากผู้ไม่ประสบอุทกภัยที่สถานีบริการน้ำมัน ต่อจากนั้นในช่วงบ่าย ได้เสด็จพระดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชนที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๓๔ เขตบางกอกน้อย ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๘๒, ๘๔ และ ๘๖ เขตบางพลัด

การออกปฏิบัติพระกรณียกิจในครั้งนี้ส่งผลให้เหตุการณ์สงบลงอย่างปาฏิหารณ์ จากนั้นมาโครงการ ฯ ก็ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิที่ผู้บริจาคสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ และได้พัฒนาการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา


[แก้] โครงการกำลังใจ ในพระดำริ

ทรงก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔เมื่อครั้งยังทรงเป็นนักศึกษากฎหมาย โดยครั้งแรก เสด็จเยี่ยมผู้ต้องขังหญิง ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ด้วยความสนพระทัยในสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ต้องขัง

โครงการนี้ได้ขยายความช่วยเหลือไปยัง “เด็ก” ที่ติดท้องแม่ก่อนเข้าจำคุก รวมทั้ง “ผู้ต้องขังหญิงสูงอายุ” อีกด้วย

และเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิง ได้กระจายไปทั่วโลก ทรงมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอและยกร่างข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำต่อสหประชาชาติสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง ภายใต้ชื่อ “Enhancing Life for Female Inmates: ELFI”

[แก้] มูลนิธิ/องค์กรในพระอุปถัมภ์

  • มูลนิธิกุมาร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

[แก้] พระเกียรติยศ

[แก้] พระยศทางทหาร

  • พ.ศ. ๒๕๔๓ - ว่าที่ร้อยตรีหญิง [8] และ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ [9]
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ - ร้อยโทหญิง [10] และนายทหารพิเศษ ประจำกองพันทหารม้าที่ ๒๙ ร [11]
  • พ.ศ. ๒๕๔๗ - ร้อยเอกหญิง [12]

[แก้] เครื่องอิสริยาภรณ์

[แก้] พระเกียรติคุณ

  • รางวัลนักศึกษากฎหมายดีเด่นประจำปี ๒๕๔๔

วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการรางวัลสัญญาธรรมศักดิ์ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ถวายรางวัลนักศึกษากฎหมายดีเด่นประจำปี ๒๕๔๔ เป็นกรณีพิเศษแด่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ด้วยทรงเป็นตัวอย่างในด้านการศึกษาและด้านกิจกรรมนักศึกษา โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า ตลอดเวลาที่ทรงศึกษาในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น พระองค์ทรงปฏิบัติเช่นนักศึกษาทั่วไปทั้งในด้านการศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ

  • รางวัล Medal of Recognition

หน่วยงาน UNODC (ยูเอ็นโอดีซี) สหประชาชาติ จากทรงมีบทบาทสำคัญในระดับนานาชาติหลายอย่างเริ่มตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนพัชรกิติยาภา เพื่อการศึกษากฎหมาย การรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โครงการกำลังใจ ในพระดำริฯ โครงการจัดทำมาตรฐานผู้ต้องขังหญิง หรือ ELFI (เอลฟี)การทรงงานด้านกระบวนการยุติธรรมเหล่านี้ จึงพิจารณาทูลเกล้าถวายรางวัลกียรติยศสูงสุดจากสหประชาชาติ

  • ทูตสันถวไมตรี (Goodwill Ambassador)

ดร.จีน เดอคูน่า ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ กองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า จากผลการดำเนินงาน โครงการกำลังใจ ในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระองค์ทรงประทานความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ต้องขังสตรีและเด็กติดผู้ต้องขัง และทรงประทานความช่วยเหลือให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี ซึ่งหน่วยงาน UNIFEM รู้สึกสำนึกในพระกรุณาธิคุณ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในพระกรณียกิจที่ทรงช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มหนึ่งในสังคมไทย โดยหน่วยงาน UNIFEM ขอพระราชทานกราบทูลเชิญพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเป็นองค์ “ทูตสันถวไมตรี” (Goodwill Ambassador) ในการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง[14]

[แก้] ปริญญากิตติมศักดิ์

[แก้] สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม

อักษรพระนาม พภ
  • โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๑ นครพนม
  • โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๒ กำแพงเพชร
  • โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานี
  • อาคารพัชรกิติยาภา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • พระระเบียงพัชรกิติยาภา วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี







[แก้] พระราชตระกูล

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
8. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
 
 
 
 
 
 
 
4. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. พระชนกชู
 
 
 
 
 
 
 
9. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. พระชนนีคำ
 
 
 
 
 
 
 
2. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
 
 
 
 
 
 
 
10. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร
 
 
 
 
 
 
 
5. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
 
 
 
 
 
 
 
11. หม่อมหลวงบัว กิติยากร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. ท้าววนิดาพิจาริณี
 
 
 
 
 
 
 
1. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
 
 
 
 
 
 
 
12. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร
 
 
 
 
 
 
 
6. หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
 
 
 
 
 
 
 
13. หม่อมหลวงบัว กิติยากร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. ท้าววนิดาพิจาริณี
 
 
 
 
 
 
 
3. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์
 
 
 
 
 
 
 
14. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
 
 
 
 
 
 
 
7. ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์
 
 
 
 
 
 
 
15. หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. นางยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (มังกรพันธ์)
 
 
 
 
 
 

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Crystal Clear app Login Manager.png พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น