ฐานันดรศักดิ์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก สมเด็จพระบรมราชินีนาถ)

ฐานันดรศักดิ์ คือ ระดับชั้นหรือยศของพระบรมวงศานุวงศ์ไทยในสมัยโบราณ เทียบกับคำภาษาอังกฤษคือ Royal Title

เนื้อหา

ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน

ฐานันดรศักดิ์ของพระเจ้าแผ่นดินไทยนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

  • เป็นฐานันดรที่ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดินของประเทศไทยที่ทรงรับพระบรมราชาภิเษกแล้ว

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

  • เป็นฐานันดรที่ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดินของประเทศไทย ที่ซึ่งยังมิได้ทรงผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชภรรยาเจ้า

ตามโบราณราชประเพณีไทย มีฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชภรรยาเจ้า ซึ่งได้เรียบเรียงขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนี้

พระอัครมเหสี

พระมเหสี

  • พระวรราชชายา คือ ฐานันดรศักดิ์ของพระมเหสี อยู่รองจากสมเด็จพระราชเทวี ได้แก่
    • สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ในรัชกาลที่ 6
  • พระราชเทวี คือ ฐานันดรศักดิ์ของพระมเหสี อยู่รองจากพระวรราชเทวี ได้แก่

พระอรรคชายา

พระราชชายา

พระราชชายา คือ ฐานันดรศักดิ์ของพระราชชายา อยู่รองจากพระอัครชายา ได้แก่

เจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม

เจ้าจอมมารดา คือ ฐานันดรศักดิ์ของพระสนมเอกกับพระสนมโทที่มิใช่สมาชิกแห่งพระราชวงศ์ แต่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดา สนองพระเจ้าแผ่นดินกับสมเด็จพระบวรราชเจ้า เช่น

เจ้าจอม คือ ฐานันดรศักดิ์พระสนมกับสนมที่มิใช่สมาชิกแห่งพระราชวงศ์ แต่ไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดา สนองพระเจ้าแผ่นดินกับสมเด็จพระบวรราชเจ้า เช่น

พระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา และพระราชสกุล

ลูกหลวง (ชั้นพระบรมวงศ์ : พระราชโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์)

เจ้าฟ้า

เจ้าฟ้า เป็นฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากพระภรรยาเจ้า แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่

ขานพระนามโดยลำลองว่า ทูลกระหม่อมชาย และ ทูลกระหม่อมหญิง

นอกจากนี้ เจ้าฟ้าชั้นโทยังหมายถึงผู้ที่เป็นพี่น้องร่วมกับพระมหากษัตริย์ แล้วต่อมาได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้า เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ขานพระนามโดยลำลองว่า สมเด็จชาย และ สมเด็จหญิง

เจ้าฟ้าชั้นตรี ไม่ได้ทรงรับคำนำพระนามเป็น สมเด็จ คงออกพระนามตามพระยศว่า เจ้าฟ้า ต่อด้วยพระนามเท่านั้น

พระองค์เจ้า (ชั้นลูกหลวงในพระมหากษัตริย์และกรมพระราชวังบวรสถานมงคล)

พระองค์เจ้า คือ ฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากเจ้าฟ้า คือ พระองค์เจ้าชั้นลูกหลวงในพระมหากษัตริย์ ใช้คำนำพระนามว่า

ลำดับรองลงมา คือ พระองค์เจ้าชั้นลูกหลวงในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ใช้คำนำพระนามว่า

หลานหลวง (ชั้นพระอนุวงศ์ : พระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์)

เจ้านายในชั้นนี้จะเรียกว่าพระองค์ชาย พระองค์หญิง เป็นต้น

เจ้านายในชั้นนี้หากได้รับการสถาปนามาจากหม่อมเจ้าจะเรียกว่าท่านพระองค์ชาย ท่านพระองค์หญิง

หม่อมเจ้า

หม่อมเจ้า (ม.จ.) คือ ฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากพระองค์เจ้า เป็นชั้นสกุลยศที่ต่ำที่สุดสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ โดยปกติแล้วฐานันดรนี้จะได้แก่โอรสธิดาในเจ้าฟ้ากับสามัญชน และ โอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าที่ได้รับพระราชทานสถาปนาพระยศเป็นพิเศษในบางกรณี

เจ้านายชั้นจะเรียกกันโดยลำลองว่า ท่านชาย ท่านหญิง

ราชนิกุลและสายสัมพันธ์

บุคคลนับเนื่องราชราชสกุล ลำดับรองลงมาจากหม่อมเจ้า แม้มีคำนำหน้านามเป็นพิเศษอยู่ แต่ก็ถือเป็นสามัญชน

หม่อมราชวงศ์

หม่อมราชวงศ์ (ม.ร.ว.) คือ ฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากหม่อมเจ้า เป็นคำนำหน้านามสำหรับโอรสธิดาในหม่อมเจ้า เรียกโดยลำลองว่า คุณหญิง คุณชาย ฐานันดรศักดิ์นี้ บัญญัติขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

หม่อมหลวง

หม่อมหลวง (ม.ล.) คือ บุตรธิดาของหม่อมราชวงศ์ เป็นคำนำหน้านามขั้นสุดท้ายของเชื้อพระวงศ์ ในการเรียกโดยลำลอง ให้ใช้คำนำหน้าว่า "คุณ" ฐานันดรศักดิ์นี้ บัญญัติขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5

ณ อยุธยา

ณ อยุธยา คือ คำต่อท้ายนามราชสกุลของผู้สืบสกุลต่อมาจากหม่อมหลวง ซึ่งให้เป็นที่รู้กันว่าเป็นสามัญชนผู้สืบเชื้อสายในราชสกุลรองจากชั้นหม่อมหลวงลงมา อนึ่ง บุคคลผู้มีนามสกุลต่อท้ายว่า ณ อยุธยา นั้นมิได้เป็นเจ้านายในพระราชวงศ์ (พระราชวงศ์หมายถึงหม่อมเจ้าขึ้นไป) และมิใช่เชื้อพระวงศ์ (หมายถึงสามัญชนผู้มีคำนำหน้านามว่า หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง)

ในระยะแรก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า ณ กรุงเทพ[1] ต่อมาในปลายรัชกาล ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนมาใช้คำว่า ณ อยุธยา แทน ตามประกาศเรื่องแก้เครื่องหมายนามสกุลสำหรับราชสกุล ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2468[2]

หม่อม

หม่อม นั้น มีอยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้

พระภรรยาของเจ้าชาย

มีทั้งหมด 3 ฐานันดร ได้แก่

พระชายา

พระชายา คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระภรรยาของ เจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า ซึ่งเป็นเจ้าหญิงมาตั้งแต่กำเนิด เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ "พระชายา" ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ชายา

ชายา คือฐานันดรศักดิ์สำหรับภรรยาของหม่อมเจ้า ซึ่งมีกำเนิดเป็นเจ้าเหมือนกัน เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา "ชายา" ในหม่อมเจ้าธานีเศิกสงัด ชุมพล

หม่อม

หม่อม คือคำนำหน้านามสำหรับภรรยาที่เป็นหญิงสามัญชนของเจ้าชาย เช่น หม่อมแจ๊กเควลิน จิตรพงศ์ ณ อยุธยา ในหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยาในหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมอัญวิดา ยุคล ณ อยุธยา ในหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล

การสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าในพระราชวงศ์

มีเจ้านายพระองค์ ที่ประสูติเป็นสามัญชนนอกพระราชวงศ์จักรี แต่ได้รับพระราชทานสถาปนาให้เป็นเจ้าในพระราชวงศ์

เช่น ในรัชกาลที่ ๑ ได้แก่

  1. หม่อมเรือง (กระทำสัตย์เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เมื่อครั้งกรุงแตก) เป็นเจ้าบำเรอภูธร ต่อมาเลื่อนเป็น กรมขุนสุนทรภูเบศร์
  2. กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ (พระนามเดิม หม่อมมุก) ทรงเป็นพระสวามีในพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าหญิงกุ
  3. พระองค์เจ้าขุนเณร (พระเชษฐาหรือพระอนุชาร่วมพระบิดากับกรมพระราชวังหลัง กล่าวคือเป็น "ลูกเลี้ยง" ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่) ได้ทรงรบทัพจับศึกมาก จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระองค์เจ้าขุนเณร

รัชกาลที่ ๒ ทรงสถาปนา สมเด็จพระบรมราชชนนีเป็น กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ตามอย่างกรมพระเทพามาตย์ พระบรมราชชนนีแต่โบราณ[3]

รัชกาลที่ ๓ สถาปนาเจ้าคุณจอมมารดาเรียม สมเด็จพระราชชนนีเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย (สมเด็จพระศรีสุลาลัย)

รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา

  1. เจ้าจอมมารดา เจ้าดารารัศมี ณ เชียงใหม่ ขึ้นเป็นพระราชชายาเจ้าดารารัศมี

(นอกจากนี้ยังทรงสถาปนาพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ และสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข ซึ่งมีพระชาติแรกประสูติเป็นหม่อมราชวงศ์ ให้ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าหลายพระองค์)

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา

  1. เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม (พระอัยกี) เป็นสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
  2. พระอินทรานี (ประไพ สุจริตกุล) เป็นพระวรราชชายาเธออินทรศักดิ์ศจี และต่อมาทรงเลื่อนเป็น สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระบรมราชินี ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ออกพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา
  3. เจ้าจอมสุวัทนา (เครือแก้ว อภัยวงศ์) เป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

ในรัชกาลที่ ๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระอิสริยยศในขณะนั้นคือ สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ) เป็น พระราชชนนีศรีสังวาลย์ ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการทรงรับพระบรมราชโองการให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และในรัชกาลปัจจุบันสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ในสมัยรัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา

  1. ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ (หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี และภายหลังทรงสำเร็จราชการแผ่นดินเป็น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
  2. ม.ล.โสมสวลี กิติยากร ขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
  3. นางสาวศรีรัศมิ์ อัครพงศ์ปรีชา หรือหม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา หม่อมใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นสามัญชน ขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเพิ่มเครื่องหมายนามสกุลสำหรับราชตระกูล, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ง, ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๓๒๐
  2. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศแก้เครื่องหมายนามสกุลสำหรับราชสกุล, เล่ม ๔๑, ตอน ๐ ง, ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗, หน้า ๔๖๑๙
  3. ^ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีนี้ในรัชกาลที่ ๑ มิได้ปรากฏว่าทรงสถาปนาพระอิสริยยศแต่ประการใด เพียงแต่ว่าทรงให้เป็นเจ้า เพื่อให้สมกับที่เป็นพระมารดาเจ้าฟ้าเท่านั้น มาถึงรัชกาลที่ ๒ จึงได้ทรงสถาปนาย้อนหลังให้เป็น กรมสมเด็จพระ ตามโบราณราชประเพณี ในรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ออกพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
ภาษาอื่น