สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์.jpg
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (11 มกราคม พ.ศ. 2402 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 เป็นพระราชโอรสลำดับสุดท้ายในพระบรมราชชนนี เมื่อพระบรมราชชนนีสวรรคตสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระชันษาเพียง 2 ขวบ

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ชาวบ้านชาววังมักออกพระนามว่า "สมเด็จวังบูรพา" เพราะทรงมีวังชื่อว่า "วังบูรพาภิรมย์" ซึ่งก็คือตำแหน่งที่เป็นย่านวังบูรพาทุกวันนี้ ทรงเป็น "ตา" ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ตามพระประวัตินั้น ทรงเป็นจอมพลในรัชกาลที่ 7 ที่ทหารรักมาก เล่ากันมาว่าพวกทหารมักจะแบกพระองค์ท่านขึ้นบนบ่าแห่แหนในวาระที่มีการฉลองต่างๆ เช่น ฉลองคล้ายวันประสูติ เป็นต้น

ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดกิจการไปรษณีย์ไทย ทรงเสด็จทิวงคต เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 ทรงเป็นต้นราชสกุลภาณุพันธุ์

เนื้อหา

[แก้] พระประวัติ

[แก้] เมื่อทรงพระเยาว์

สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระองค์ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ ปีมะแม เอกศก จุลศักราช 1221 ตรงกับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2402ิ ณ พระตำหนักที่ประทับเดิมของสมเด็จพระศรีสุลาไลย ภายในพระบรมมหาราชวังเมื่อมีพระชนม์พรรษาได้ 3 วัน และ 1 เดือน สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภช 3 วัน และสมโภชเดือน ณ พระตำหนักที่ประสูติ ตามลำดับ

พระองค์มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีรวม 3 พระองค์ ได้แก่

เมื่อพระองค์มีพระชนมพรรษาได้ 2 ปี สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนีเสด็จสวรรคต และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต เมื่อพระองค์มีพระชนมพรรษาได้ 10 ปี พระองค์เป็นผู้โปรยข้าวตอกในกระบวนแห่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์เป็นผู้โยง

เมื่อพระชนมพรรษาได้ 12 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแห่รับพระสุพรรณบัฏเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีโสกันต์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อพระองค์มีพระชนมพรรษาได้ 13 ปี หลังจากนั้น พระองค์ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วเสด็จออกไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ประทับเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่พระองค์ออกผนวช เมื่อครบพรรษาจึงลาผนวช

[แก้] การศึกษา

พระองค์ทรงเริ่มต้นการศึกษาเล่าเรียนในสำนักของครูผู้หญิงแล้วทรงเริ่มศึกษาด้วยพระองค์เองเรื่อยมา หลังจากนั้นจึงทรงเล่าเรียนหนังสือขอมและบาล ีที่สำนักพระยาปริยัตติธรรมธาดา (เปี่ยม) เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณร พระองค์ทรงวิชาทางพุทธศาสตร์ในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

หลังจากนั้น พระองค์ทรงศึกษาวิชาการทหารในสำนักกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ตั้งแต่ พ.ศ. 2415 และทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษในสำนักของมิสเตอร์ เอฟ.ยี. แปตเตอร์ซัน ที่โรงเรียนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมประตูพิมานไชยศรีชั้นนอกภายในพระบรมมหาราชวัง และทรงเรียนวิชาภาษาไทยเพิ่มเติมจากสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) รวมทั้งศึกษาแบบอย่างราชการพระราชประเพณีในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์

[แก้] การรับราชการ

พระองค์ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ รับราชการทหารครั้งแรกในตำแหน่งนายทหารพิเศษแต่งเครื่องยศชั้นนายร้อยโท กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสสิงคโปร์ (ครั้งที่ 2) และพม่าส่วนของอังกฤษตลอดประเทศอินเดีย รวมทั้งหัวเมืองขึ้นของกรุงสยามตามชายทะเลฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู

[แก้] พระกรณียกิจ

[แก้] หนังสือค๊อตข่าวราชการ

สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงประทับอยู่ ณ ตำหนักหอนิเพทพิทยาคม ริมประตูศรีสุนทร ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทรงศึกษาภาษาอังกฤษร่วมกับเจ้านายที่เป็นพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์อื่นๆ เมื่อยังทรงพระเยาว์ ต่อมาแม้การสอนภาษาอังกฤษที่นั่นจะยกเลิกไป แต่เจ้านายก็ยังเสด็จไปชุมนุมกันที่ตำหนักหอนิเพทพิทยาคม

สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ได้ทรงชักชวนพระเจ้าน้องยาเธอบางพระองค์ ช่วยกันจดข่าวในพระราชสำนักแต่ละวันมาพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือพิมพ์ข่าวรายวัน เจ้านายที่ทรงร่วมจดข่าวในครั้งเริ่มแรกมี 6 พระองค์ คือ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ หนังสือข่าวเล่มแรกพิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2418 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "COURT" ซึ่งแปลว่า พระราชสำนัก ต่อมาใน พ.ศ. 2419 จึงใช้ชื่อภาษาไทยว่า ข่าวราชการ ในเวลาต่อมาจึงเรียกว่า หนังสือค๊อตข่าวราชการ

สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงดำริให้มีคนเดินส่งหนังสือแก่ผู้รับหนังสือทุกๆ คน ทุกๆ เช้า โดยคิดเงินค่าสมาชิก และเมื่อคนส่งหนังสือไปส่งหนังสือที่บ้านสมาชิกผู้ใดแล้ว ผู้นั้นจะฝากจดหมายส่งถึงสมาชิกผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยจะต้องซื้อแสตมป์ปิดจดหมายของตนที่จะฝากไปส่งและลงชื่อของตนเองทับแสตมป์แทนตราเพื่อให้เป็นแสตมป์ที่จะนำไปใช้อีกไม่ได้ แสตมป์นั้นทำเป็นพระรูปเหมือนอย่างที่พิมพ์ไว้ข้างหน้าหนังสือ COURT ขายดวงละอัฐและให้ซื้อได้จากโรงพิมพ์หนังสือข่าวราชการ ราคาค่าจ้างส่งจดหมายมีอัตราต่างกัน ถ้าอยู่ในคูพระนครชั้นใน ติดแสตมป์หนึ่งอัฐ ถ้านอกคูพระนครออกไป ผู้ส่งต้องติดแสตมป์ 2 อัฐ

[แก้] กิจการไปรษณีย์

การจัดส่ง หนังสือ COURT และ หนังสือข่าวราชการ ของคนส่งหนังสือที่ทำหน้าที่รับส่งจดหมายระหว่างสมาชิกด้วย นับเป็นจุดเริ่มของการมี บุรุษไปรษณีย์ และการใช้แสตมป์ติดบนจดหมายที่สมาชิกของหนังสือ COURT และหนังสือข่าวราชการส่งถึงกัน จึงเป็นจุดเริ่มของการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้มีการไปรษณีย์และโทรเลขขึ้นในประเทศไทย ทรงเห็นว่าสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช มีพระทัยใส่ในเรื่องการไปรษณีย์ จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ตั้งกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข ขึ้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ทรงได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข เป็นพระองค์แรกของประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ทั้ง 2 กรมนี้ได้รวมเป็นกรมเดียวกัน มีชื่อใหม่ว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข

[แก้] พระเกียรติยศ

[แก้] พระอิสริยยศ

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้] พระโอรส พระธิดา

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงมีหม่อมห้ามคนแรก คือ หม่อมเลี่ยม ต่อมาทรงมีหม่อมห้ามสะใภ้หลวง คือ หม่อมแม้น บุนนาค ทรงมีพระโอรส-ธิดา กับหม่อมแม้น 3 พระองค์ เมื่อหม่อมแม้นเสียชีวิตลงตั้งแต่ยังสาว ทรงโทมนัสและไม่ทรงมีหม่อมห้ามนานหลายปี ต่อมาทรงมีหม่อมห้ามอีกหลายคน โดยหม่อมคนสุดท้าย คือ หม่อมเล็ก ยงใจยุทธ ทรงมีพระโอรส-พระธิดากับหม่อมเล็ก 7 พระองค์ พระองค์สุดท้องสิ้นชีพิตักษัยในครรภ์ พร้อมกับหม่อมเล็กในวันประสูติ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2461 [1]

[แก้] หม่อมเลี่ยม

หม่อมเล็ก และพระโอรส-พระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์

[แก้] หม่อมแม้น บุนนาค [2]

[แก้] หม่อมสุ่น

[แก้] หม่อมลับ

[แก้] หม่อมเล็ก ยงใจยุทธ

หม่อมเล็ก ยงใจยุทธ (ธิดานายทองดำ ยงใจยุทธ ข้าหลวงในรัชกาลที่ 5) เป็นพี่สาวของร้อยเอกชั้น ยงใจยุทธ บิดาของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

[แก้] ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข
เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าขรัวเงิน
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
กรมพระศรีสุดารักษ์
พระชนนี:
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์
กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าจอมมารดาทรัพย์
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
พระชนนีน้อย
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
คุณม่วง

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ หม่อมราชวงศ์มาลินี จักรพันธุ์. ต้นกำเนิดที่เกิดเหตุ... เจ้าชายดาราทอง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546. 376 หน้า. ISBN 974-322-980-9
  2. ^ ชมรมสายสกุลบุนนาค

[แก้] หนังสือ

  • Jeffy Finestone, สมุดพระรูปพระราชโอรส พระราชธิดาและพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) (แปลโดยชาคริต ชุ่มวัฒนะ), โลมาโฮลดิ้ง, พ.ศ. 2543
  • จุดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม 1, พ.ศ. 2536

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมัยถัดไป
จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี
(เจิม แสง-ชูโต)
2leftarrow.png ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ
((วาระที่ 1)
1 เมษายน พ.ศ. 2435 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2439)
2rightarrow.png พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
2leftarrow.png ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ
((วาระที่ 2)
1 เมษายน พ.ศ. 2442 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2444)
2rightarrow.png จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
2leftarrow.png เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
(พ.ศ. 2444 - พ.ศ. 2453)
2rightarrow.png จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
นายพลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์
(อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)
2leftarrow.png ผู้บัญชาการทหารเรือไทย
(รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
29 มกราคม พ.ศ. 2444 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445

ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446
)

2rightarrow.png จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
2leftarrow.png ผู้บัญชาการทหารเรือไทย
(ผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ
19 มิถุนายน พ.ศ. 2463 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2465)
2rightarrow.png นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ภาษาอื่น