ตำนานแห่งนาร์เนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตำนานแห่งนาร์เนีย
ปกหนังสือ ตำนานแห่งนาร์เนีย ฉบับภาษาอังกฤษทั้ง 7 เล่ม
ปกหนังสือ ตำนานแห่งนาร์เนีย ฉบับภาษาอังกฤษทั้ง 7 เล่ม

ตำนานแห่งนาร์เนีย (อังกฤษ: The Chronicles of Narnia) เป็นชุดนิยายแฟนตาซีจำนวน 7 เล่ม เขียนโดย ซี.เอส. ลิวอิส ระหว่าง ค.ศ. 1949-1954 ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมเยาวชนคลาสสิคเรื่องหนึ่ง และเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของผู้เขียน ปัจจุบันถูกจำหน่ายไปมากกว่า 100 ล้านเล่มใน 41 ภาษา[ต้องการอ้างอิง] ได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์, ละครวิทยุ, ภาพยนตร์ และละครเวทีหลายครั้ง

ตำนานแห่งนาร์เนีย เป็นเรื่องของเด็กที่เข้าไปผจญภัยในดินแดนแห่งนาร์เนีย ซึ่งสัตว์สามารถพูดภาษามนุษย์ เต็มไปด้วยเวทมนตร์และสัตว์ประหลาดในเทพนิยาย ตัวเอกในหนังสือแต่ละเล่มจะแตกต่างกันไป แต่ทุกเล่มจะจับความตามช่วงเวลาในอาณาจักร์นาร์เนีย โดยมีสิงโตอัสลานเป็นตัวละครสำคัญ

ชุดนาร์เนียฉบับภาษาไทยได้รับการตีพิมพ์หลายครั้ง ครั้งล่าสุดจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ แปลโดยสุมนา บุณยะรัตเวช

เนื้อหา

[แก้] หนังสือในชุด

เรียงตามลำดับการจัดพิมพ์

  1. ตู้พิศวง พิมพ์ปี ค.ศ. 1950
  2. เจ้าชายแคสเปี้ยน พิมพ์ปี ค.ศ. 1951
  3. ผจญภัยโพ้นทะเล พิมพ์ปี ค.ศ. 1952
  4. เก้าอี้เงิน พิมพ์ปี ค.ศ. 1953
  5. อาชากับเด็กชาย พิมพ์ปี ค.ศ. 1954
  6. กำเนิดนาร์เนีย พิมพ์ปี ค.ศ. 1955
  7. อวสานการยุทธ์ พิมพ์ปี ค.ศ. 1956

[แก้] ลำดับการอ่าน

การจัดพิมพ์หนังสือในชุดนาร์เนียนั้นไม่เรียงตามลำดับเวลาในท้องเรื่อง ซึ่งลำดับการอ่านนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าควรอ่านแบบไหน กลวิธีเล่าเรื่องไม่ตามลำดับเวลาอาจยากเกินกว่าความเข้าใจของเยาวชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของหนังสือชุดนี้ แต่การอ่านตามลำดับเวลาในเรื่องอาจทำให้เสียอรรถรสเนื่องจากการรู้ที่มาที่ไปของเหตุการณ์บางส่วนก่อน

ลำดับการพิมพ์ vs. ลำดับเวลาในเรื่อง
ลำดับการพิมพ์ ลำดับเวลาในเรื่อง
1. ตู้พิศวง 1. กำเนิดนาร์เนีย
2. เจ้าชายแคสเปี้ยน 2. ตู้พิศวง
3. ผจญภัยโพ้นทะเล 3. อาชากับเด็กชาย
4. เก้าอี้เงิน 4. เจ้าชายแคสเปี้ยน
5. อาชากับเด็กชาย 5. ผจญภัยโพ้นทะเล
6. กำเนิดนาร์เนีย 6. เก้าอี้เงิน
7. อวสานการยุทธ์ 7. อวสานการยุทธ์

[แก้] แรงบันดาลใจ

ลิวอิสได้แรงบันดาลใจมาจากชีวิตวัยเด็กของเขา ประกอบกับความเชื่อในตำนานและคริสต์ศาสนา เขายังเป็นผู้นำกลุ่มอิงคลิงส์อีกด้วย ตัวละคร ฟอน เซนทอร์ หรือคนแคระ นำมาจากเทพนิยายกรีกและนอร์ส

[แก้] นาร์เนียในรูปแบบอื่นๆ

ตู้พิศวง ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในชื่อ อภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน ราชสีห์, แม่มด กับตู้พิศวง (The Chronicles of Narnia: The Lion, the Witch and the Wardrobe) โดยบริษัทวอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ส เข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2548 และประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้และคำวิจารณ์ ทั้งยังมีภาคสองอีกคืออภินิหารตำนานแห่งนาร์เนีย ตอน เจ้าชายแคสเปี้ยน (The Chronicles of Narnia: Prince Caspian)แต่รายได้ไม่ดีเท่าภาคแรก อย่างไรก็ตามดิสนีย์ก็ยังคงสร้างภาค3ต่อไปซึ่งมีชื่อตอนว่า ผจญภัยโพ้นทะเล

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


Books-aj.svg aj ashton 01.svg ตำนานแห่งนาร์เนีย เป็นบทความเกี่ยวกับ วรรณกรรม วรรณคดี นวนิยายหรือหนังสือ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ตำนานแห่งนาร์เนีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์