ประเทศเบนิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

République du Bénin
เรปูบลีก ดู เบแนง
สาธารณรัฐเบนิน
ธงชาติเบนิน ตราแผ่นดินของเบนิน
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญFraternité, Justice, Travail
(ภาษาฝรั่งเศส: ภราดรภาพ ยุติธรรม การงาน)
เพลงชาติL'Aube Nouvelle
(รุ่งอรุณแห่งวันใหม่)
ที่ตั้งของเบนิน
เมืองหลวง ปอร์โต-โนโว
6°28′N 2°36′E / 6.467°N 2.6°E / 6.467; 2.6
เมืองใหญ่สุด โกโตนู1
ภาษาทางการ ภาษาฝรั่งเศส
รัฐบาล สาธารณรัฐประชาธิปไตย
  ประธานาธิบดี ยายี โบนี
ประกาศเอกราช
  จาก ฝรั่งเศส 1 สิงหาคม พ.ศ. 2503 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 112,620 กม.² (ลำดับที่ 101)
 -  พื้นน้ำ (%) 1.8
ประชากร
 -  ก.ค. 2548 ประมาณ 7,862,9442 (อันดับที่ 89)
 -  ความหนาแน่น 69.8/กม.² (อันดับที่ 1023)
GDP (PPP) พ.ศ. 2548 ประมาณ
 -  รวม 8.669 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 146)
 -  ต่อประชากร 1,100 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 206)
HDI (พ.ศ. 2546) 0.431 (ต่ำ) (อันดับที่ 162)
สกุลเงิน ฟรังก์ซีเอฟเอ (XOF)
เขตเวลา (UTC+ 1)
รหัสอินเทอร์เน็ต .bj
รหัสโทรศัพท์ +229
1.) โกโตนูเป็นที่ตั้งของรัฐบาล
2.) หมายเหตุ: ค่าประมาณสำหรับประเทศนี้ ได้คำนึงถึงผลของการตายจำนวนจากเอดส์ ซึ่งเป็นผลให้ความอายุยืนลดลง อัตราการตายเพิ่มขึ้น จำนวนประชากรและอัตราการเพิ่มน้อยลง และมีการกระจายของประชากรตามเพศและอายุต่างจากที่คาดการณ์
3.) อันดีบมาจากค่าประมาณพ.ศ. 2548

ประเทศเบนิน หรือ สาธารณรัฐเบนิน (อังกฤษ: Republic of Benin; ฝรั่งเศส: République du Bénin) คือประเทศในแอฟริกาตะวันตก ชื่อเดิม ดาโฮมี (Dahomey) หรือ ดาโฮเมเนีย (Dahomania) มีชาบฝั่งเล็ก ๆ กับอ่าวเบนินทางภาคใต้ และมีพรมแดนติดต่อประเทศโตโกทางตะวันตก ประเทศไนจีเรียทางตะวันออก และประเทศบูร์กินาฟาโซ กับประเทศไนเจอร์ทางเหนือ ไม่มีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเมืองเบนินซิตีในไนจีเรีย หรือจักรวรรดิเบนิน ซึ่งเป็นแหล่งของรูปปั้นทองแดงเบนิน (Benin Bronzes) อันมีชื่อเสียง

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

เดิมดินแดนนี้คือราชอาณาจักรอะโบมี ตกอยู่ในความดูแลของฝรั่งเศสตั้งแต่ราว พ.ศ. 2400 และถูกรวมเข้ากับแอฟริกาตะวันตกเมื่อ พ.ศ. 2457 ในชื่อดินแดนดาโฮมี

สาธารณรัฐดาโฮมีได้รับเอกราชเมื่อ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนเบนินเมื่อ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) หลังได้รับเอกราช เกิดรัฐประหารถึง 5 ครั้ง พ.ศ. 2517-2532 รัฐบาลเบนิน นำโดย พ.อ. อาเหม็ด เกเรดูประกาศเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2534 มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรกของเบนิน ปรากฏว่า ไนเซฟอเร ซอกโล ได้เป็นประธานาธิบดี

[แก้] การเมือง

เบนินมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญปี 2533 ซึ่งกำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ และผู้นำรัฐบาล โดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี จำกัดไม่เกิน 2 สมัย และมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Boni Yayi เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2549 และได้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2549 ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 22 คน ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจในการยุบสภา การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2554 รัฐสภาเป็นแบบสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิก 83 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระ 4 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นในเดือนมีนาคม 2550 พรรค Force cauris pour un Bénin émergent (FCBE) ซึ่งสนับสนุนนาย Boni Yayi ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา 35 ที่นั่ง และได้จัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคการเมืองเล็กอื่นๆ จำนวนมาก ทั้งนี้ การรวมกลุ่มทางการเมืองของพรรคการเมืองต่างๆ ในรัฐสภาเบนินส่งผลอย่างมากต่อภาพลักษณ์ความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพในการ ดำเนินนโยบายของรัฐบาล นาย Boni Yayi ประธานาธิบดีจึงได้เสนอให้มีการจัดทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะ ปฏิรูปฝ่ายบริหารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา และศาลสูง

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

เขตการปกครองในเบนิน
  1. อาลีโบรี (Alibori)
  2. อาตาโกรา (Atakora)
  3. อัตลองติค (Atlantique)
  4. บอร์กู (Borgou)
  5. โกลลีน (Collines)
  6. ดงกา (Donga)
  7. กูฟโฟ (Kouffo)
  8. ลิตโตรัล (Littoral)
  9. โมโน (Mono)
  10. อูเอเม (Ouémé)
  11. ปลาโต (Plateau)
  12. ซู (Zou)

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของเบนินจัดอยู่ในขั้นปฐมภูมิ รายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคบริการและภาคการเกษตร โดยมีฝ้ายเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก (16.7% ของการส่งออกทั้งหมด) การนำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (Re-export) คิดเป็น 41.2% ของการส่งออกทั้งหมด แม้ว่าจะเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตฝ้ายรายใหญ่ที่สุดของแอฟริกา เบนินยังคงถูกจัดให้เป็นประเทศที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เศรษฐกิจของเบนินยังคงพึ่งพาไนจีเรียเป็นอย่างมาก ในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกันตลอดชายแดนภาคตะวันออก ของเบนิน (773 กิโลเมตร) อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าจากเบนินไปยังไนจีเรียมักได้รับผลกระทบจากนโยบายกีดกัน สินค้าข้ามพรมแดนของไนจีเรีย อาทิ การออกระเบียบที่เคร่งครัด และการปิดพรมแดน นอกจากนี้ เบนินยังต้องพึ่งพาพลังงานจากไนจีเรีย ในปัจจุบันมีโครงการ West African Gas Pipeline (WAGP) ในความร่วมมือระหว่างไนจีเรียและเบนินเพื่อสร้างท่อลำเลียงน้ำมันจาก ไนจีเรียไปยังเบนิน กานา และโตโก ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2553 (แต่เดิมกำหนดไว้ให้แล้วเสร็จในปี 2550) และน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเบนิน และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้ดีขึ้นในอนาคต ในปี 2548 กลุ่ม G8 ได้ออกมาตรการปลดหนี้ให้กับเบนินและประเทศอื่นๆ ในแอฟริกา ซึ่งทำให้สถานการณ์ทางด้านหนี้สินต่างประเทศบรรเทาลงบ้าง แต่รัฐบาลเบนินก็ยังคงต้องแบกรับภาระจากการที่รัฐวิสาหกิจประสบปัญหาขาดทุน และการมีระบบราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลเบนินจึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการปรับโครงสร้างระบบราชการและรัฐ วิสาหกิจต่างๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกตั้งแต่ปี 2534 รัฐบาลเบนินชุดปัจจุบันสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเน้นด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลยังคงเดินหน้าโครงการปฏิรูปรัฐวิสากิจภาคโทรคมนาคม การประปา การไฟฟ้า และการเกษตร ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ปี 2544 แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จนักในปัจจุบัน รัฐบาลเบนินมุ่งดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่จะเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ โดยการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะส่งผลให้โครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค อาทิ ท่าเรือและสนามบิน อาจจะต้องเลื่อนออกไปก่อน ทั้งนี้ ปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้ายังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของเบ นิน (มีศักยภาพการผลิตเพียง 120 ล้าน kWh ในขณะที่มีความต้องการบริโภค 595 ล้าน kWh) นโยบายการเงินของเบนินถูกกำหนดโดยธนาคารกลางแห่งรัฐในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก (Bangue centrale des Etats de l’Afrique de l’ouest หรือ BCEAO) ซึ่งมุ่งควบคุมระดับเงินเฟ้อและรักษาการตรึงค่าเงิน CFA franc ไว้กับเงินสกุลยูโร (1 ยูโร เท่ากับ 655.957 CFAfr) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นมา ในด้านสิทธิมนุษยชน รัฐบาลให้เสรีภาพแก่ประชาชนค่อนข้างมาก สื่อมวลชนในเบนินนับว่าได้รับเสรีภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในแอฟริกาตะวันตก นอกจากนี้ สมาพันธ์แรงงานยังมีอิสระในการเคลื่อนไหวทางการเมือง และเป็นพลังสำคัญในสังคม นอกจากนี้ กลุ่มองค์กรที่มิใช่รัฐ (NGO) ในเบนินมีจำนวนถึงประมาณ 5,000 องค์กรในปัจจุบัน และสามารถปฏิบัติภารกิจโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐ


[แก้] ประชากร

8.7 ล้านคน (2551)

[แก้] วัฒนธรรม

[แก้] ศาสนา

ประชาชนนับถือศาสนาคริสต์ 30%ศาสนาอิสลาม 20% และนับถือผีไสยศาสตร์ 60%

[แก้] อ้างอิง



ASpacer.gifBlankMap-World6.svg ประเทศเบนิน เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศเบนิน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ

ภาษาอื่น