ประเทศบาห์เรน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

مملكة البحرين
Mamlakat al-Bahrayn
มัมละกัต อัลบะห์รอยน์
ราชอาณาจักรบาห์เรน
ธงชาติบาห์เรน ตราแผ่นดินของบาห์เรน
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติBahrainona (บาห์เรนของเรา)
ที่ตั้งของบาห์เรน
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
มานามา
ภาษาทางการ ภาษาอาหรับ
รัฐบาล สมบูรณาญาสิทธิราชย์
  พระมหากษัตริย์

นายกรัฐมนตรี
สมเด็จพระราชาธิบดีฮามัด บิน อิซา อัล คอลีฟะห์
เชคคอลีฟะห์ อิบน์ ซุลมัน อัลคอลีฟะห์
ได้รับเอกราช
   - วันที่ จากสหราชอาณาจักร
15 สิงหาคม พ.ศ. 2514 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 665 กม.² (ลำดับที่ 176)
 -  พื้นน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  กรกฎาคม 2548 ประมาณ 688,345 (อันดับที่ 157)
 -  ความหนาแน่น 987/กม.² (อันดับที่ ?)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 14.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 130)
 -  ต่อประชากร 20,500 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 50)
HDI (2546) 0.846 (สูง) (อันดับที่ 43)
สกุลเงิน ดีนาร์บาห์เรน (BHD)
เขตเวลา (UTC+3)
รหัสอินเทอร์เน็ต .bh
รหัสโทรศัพท์ +973

บาห์เรน (อังกฤษ: Bahrain) หรือชื่อทางการ ราชอาณาจักรบาห์เรน (อังกฤษ: Kingdom of Bahrain; อาหรับ: مملكة البحرين‎) เป็นประเทศเกาะที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอื่นในอ่าวเปอร์เซีย

เกาะบาห์เรนเชื่อมต่อกับซาอุดีอาระเบียซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกด้วยสะพานคิงฟาฮัด (เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529) ส่วนสะพานมิตรภาพกาตาร์-บาห์เรน ที่กำลังอยู่ในระหว่างวางแผนงานนั้น จะเชื่อมต่อบาห์เรนเข้ากับกาตาร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ และจะเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง]

เนื้อหา

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่ประเทศบาห์เรนแสดงเทศบาล (ปัจจุบันรวมอยู่ในเขตผู้ว่าราชการ)
แผนที่ประเทศบาห์เรนแสดงเขตผู้ว่าราชการ

ก่อนหน้า 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ประเทศบาห์เรนแบ่งเขตการปกครองเป็นเทศบาลที่ปกครองจากเมืองหลวง (กรุงมานามา) 12 แห่ง คือ

  1. อัลฮิดด์ (Al Hidd)
  2. อัลมะนามะห์ (Al Manamah)
  3. อัลมินตะเกาะห์อัลกะร์บียะห์ (Al Mintaqah al Gharbiyah)
  4. อัลมินตะเกาะห์อัลวุสตะ (Al Mintaqah al Wusta)
  5. อัลมินตะเกาะห์อัลชะมาลียะห์ (Al Mintaqah al Shamaliyah)
  6. อัลมุฮาร์รัก (Al Muharraq)
  7. อาร์ริฟาวาอัลมินตะเกาะห์อัลจะนูบียะห์ (Ar Rifa' wa al Mintaqah al Janubiyah)
  8. จิดด์ฮัฟส์ (Jidd Haffs)
  9. มะดีนัตฮามัด (Madinat Hamad ไม่แสดงบนแผนที่ แบ่งจากเทศบาลอาร์ริฟาฯ เมื่อ พ.ศ. 2534)
  10. มะดีนัตอิซา (Madinat 'Isa)
  11. จุซูร์ฮะวาร์ (Juzur Hawar)
  12. ซิตระห์ (Sitrah)

ในปัจจุบันประเทศบาห์เรนแบ่งเป็น 5 เขตผู้ว่าราชการ (governorates) ได้แก่[1]

  1. เขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง (Capital)
  2. เขตผู้ว่าราชการกลาง (Central)
  3. เขตผู้ว่าราชการมุฮาร์รัก (Muharraq)
  4. เขตผู้ว่าราชการเหนือ (Northern)
  5. เขตผู้ว่าราชการใต้ (Southern)

[แก้] ภูมิศาสตร์

บาห์เรนตั้งอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ประกอบด้วยเกาะต่างๆประมาณ 33 เกาะในอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งห่างจากฝั่งทะเลตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย 24 กิโลเมตรและห่างจากชายฝั่งทะเลตะวันตกของกาตาร์ 27 กิโลเมตร

[แก้] ที่ตั้ง

ที่ตั้งและพื้นที่ ประเทศบาห์เรนประกอบด้วยหมู่เกาะเล็ก ๆ (archipelago) ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ประมาณ 33 เกาะในอ่าวเปอร์เซีย จากฝั่งทะเลตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย 15 ไมล์ และจากชายฝั่งทะเลตะวันตกของกาตาร์ 17 ไมล์ บาห์เรนมีพื้นที่ประมาณ 620 ตร.กม.(264.4 ตารางไมล์) ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยทรายและหินอากาศ เดือนธันวาคมถึงปลายเดือนมีนาคม อุณหภูมิจะอยู่ประมาณ 19C – 29C แต่จะร้อนชื้นมากในฤดูร้อน โดยในเดือนสิงหาคมและกันยายนอุณหภูมิอาจขึ้นสูงถึง 40C

[แก้] ลักษณะภูมิอากาศ

ช่วงฤดูหนาว (ธันวาคม-มีนาคม) อากาศเย็นสบาย อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 19 - 29 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูร้อน (เดือนเมษายน-ตุลาคม) อากาศร้อนชื้น อุณหภูมิอาจสูงถึง 49 องศาเซลเซียส

[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศเกือบทั้งหมดเป็นที่ราบต่ำในทะเลทราย ค่อยๆ ชันขึ้น ทางตอนกลาง

[แก้] เศรษฐกิจ

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ปลา ไข่มุก

เศรษฐกิจ - ก่อนการค้นพบน้ำมัน เศรษฐกิจของบาห์เรนขึ้นอยู่กับไข่มุก การค้าและการประมง แต่หลังจากปี ค.ศ. 1932 ซึ่ง เป็นปีที่มีการค้นพบน้ำมันภายในประเทศ น้ำมันก็กลายเป็นที่มาของรายได้สำคัญซึ่งได้ถูกนำไปใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม จากการที่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำรองของบาห์เรนมีจำนวนน้อย และคาดกันว่าจะหมดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จึงได้มีการสำรวจหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแหล่งอื่นเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเปลี่ยนแนวเศรษฐกิจของประเทศไปเป็นธุรกิจการกลั่นน้ำมันและการทำ ให้บาห์เรนเป็นจุดศูนย์กลางทางด้านการค้าและธุรกิจของภูมิภาคอีกด้วย และตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา บาห์เรนได้ดำเนินนโยบายที่จะกระจายแหล่งรายได้ของประเทศออกไปจากน้ำมันโดยมี การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม - บาห์เรน ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของธุรกิจบริการ กล่าวคือ ด้านการเงินและการธนาคารของภูมิภาคอ่าวอาหรับ นโยบายของรัฐบาลบาห์เรนจึงมุ่งไปที่การรักษาสถานะของประเทศให้เป็นศูนย์กลาง การค้าเสรี และภาคบริการของภูมิภาค แข่งกับสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ด้วยการส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติ รักษาเสถียรภาพการเมืองภายในประเทศให้มั่นคง และรัฐบาลบาห์เรนได้เปิดระบบการธนาคารอิสลามระหว่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้บริการทางการเงินในต่างประเทศด้วยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544

[แก้] ศาสนา

ประชากรส่วนมากของประเทศนับถือ และยึดศาสนาอิสลามเป็นแบบแผน ในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งก่อสร้าง โบราณวัตถุ โบราณสถาน วัฒนธรรมต่างๆ เป็นสิ่งสะท้อนอิทธิพลของศาสนาอิสลาม ให้เห็นเด่นชัดในประเทศ บาห์เรน และประชากรส่วนมากพูด ภาษาอาหรับซึ่งใช้กันในแถบภูมิภาคนี้

[แก้] ประชากร

ประชากร 645,361 คน (ก.ค.2544) รวมทั้งต่างชาติ 228,424 คน ชาวบาห์เรน 63% เอเชีย 19% อาหรับอื่นๆ 10% อิหร่าน 8 %

[แก้] อ้างอิง

ASpacer.gifBlankMap-World6.svg ประเทศบาห์เรน เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศบาห์เรน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น