ประเทศอิหร่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน)
جمهوری اسلامی ايران
Jomhūrī-ye Eslāmī-ye Īrān
จอมฮูรี เย เอสลามี เย อีราน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
ธงชาติอิหร่าน ตราแผ่นดินของอิหร่าน
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญเปอร์เซีย: Esteqlāl, āzādī, jomhūrī-ye eslāmī
("เอกราช เสรีภาพ สาธารณรัฐอิสลาม")
เพลงชาติSorūd-e Mellī-e Īrān
ที่ตั้งของอิหร่าน
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เตหะราน

35°40′N 44°26′E

ภาษาทางการ ภาษาเปอร์เซีย
รัฐบาล สาธารณรัฐอิสลาม
  ผู้นำสูงสุด
ประธานาธิบดี
อายะตุลลอห์ อาลี คาเมเนอี
มาห์มูด อาห์แมดีเนจาด
การปฏิวัติ
  ประกาศ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 1,648,195 กม.² (ลำดับที่ 17)
 -  พื้นน้ำ (%) 0.7%
ประชากร
 -  2548 ประมาณ 68,467,413 (อันดับที่ 18)
 -  2539 สำรวจ 60,055,488 
 -  ความหนาแน่น 41/กม.² (อันดับที่ 128)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 560.348 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 19)
 -  ต่อประชากร 8,065 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 74)
HDI (2549) 0.736 (กลาง) (อันดับที่ 99)
สกุลเงิน เรียลอิหร่าน (ريال) (IRR)
เขตเวลา (UTC+3.30)
 -  ฤดูร้อน (DST)  (UTC+3.30)
รหัสอินเทอร์เน็ต .ir
รหัสโทรศัพท์ +98

ประเทศอิหร่าน (ภาษาเปอร์เซีย: Īrān, ایران) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งช่วงก่อนปี พ.ศ. 2478 ชาวตะวันตกเรียกว่า เปอร์เซีย

อิหร่านมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดต่อกับปากีสถาน (909 กิโลเมตร) และอัฟกานิสถาน (936 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเติร์กเมนิสถาน (1,000 กิโลเมตร) ทิศเหนือจรดทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับอาเซอร์ไบจาน (500 กิโลเมตร) และอาร์เมเนีย (35 กิโลเมตร) ตุรกี (500 กิโลเมตร) และอิรัก (1,458 กิโลเมตร) ส่วนทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซีย (ทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้) และ อ่าวโอมาน (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

ในปี พ.ศ. 2522 การปฏิวัตินำโดยอายะตุลลอห์ โคไมนี (Ayatollah Khomeini) ทำให้มีการก่อตั้งเป็น สาธารณรัฐอิสลามโดยโค่นล้มราชวงศ์ปาห์เลวีที่ปกครองภายใต้สาธารณรัฐอิสลามเทวาธิปไตย (theocratic Islamic republic) ทำให้ชื่อเต็มของประเทศนี้ในปัจจุบันคือ สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (Islamic Republic of Iran, جمهوری اسلامی ایران)

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] การเมือง

ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) กำหนดให้อิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลาม โดยมีโครงสร้างดังนี้

ประมุขสูงสุด (Rahbar) 
ประมุขสูงสุดของอิหร่านคนปัจจุบันคือ อาลี คาเมเนอี (เกิดเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) เป็นผู้นำสูงสุดทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร
ประธานาธิบดี (Ra'is-e Jomhoor) 
เป็นตำแหน่งที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี และจะได้รับเลือกตั้งได้ไม่เกิน 2 สมัย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ถึงแม้ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม แต่อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยประมุขสูงสุดได้
รองประธานาธิบดี 
มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี 6 คน และคณะรัฐมนตรี 20 คน ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (Majlis) 
ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี จำนวน 290 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมฝ่ายบริหาร

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศอิหร่านแบ่งออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - ostanha) แต่ละจังหวัดปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมาจากการแต่งตั้ง (استاندار: ostāndār)

  1. เตหะราน
  2. กุม
  3. มาร์กาซี
  4. กาซวีน
  5. กีลาน
  6. อาร์ดะบีล
  7. ซานจาน
  8. อาซาร์ไบจานชัรกี
  9. อาซาร์ไบจานฆอรบี
  10. กุรดิสตาน
  11. ฮามาดาน
  12. กิรมานชาห์
  13. อีลาม
  14. ลอริสถาน
  15. คูเซสถาน
  1. ชาฮาร์มาฮาลและบัคเตียรี
  2. โคห์กีลูเยห์และบูเยอร์อาห์มัด
  3. บูเชร์
  4. ฟาร์ส
  5. โฮร์โมซกอน
  6. ซิสถานและบาลูจิสถาน
  7. กิรมาน
  8. ยาซด์
  9. เอสฟาฮาน
  10. เซมนาน
  11. มาซันดะรอน
  12. โกเลสถาน
  13. โคราซานชีมาลี
  14. โคราซานราซาวี
  15. โคราซานจานูบี
แผนที่เขตการปกครองของประเทศอิหร่าน

[แก้] ภูมิศาสตร์

ลักษณะภูมิประเทศมากกว่าร้อยละ 95 เป็นที่สูงในลักษณะของเทือกเขาสูงและที่ราบสูง เทือกเขาสูงที่ปรากฏในอิหร่านมี 2 เทือกเขาคือ เทือกเขาเอลบูร์ซทางตอนเหนือวางตัวขนาน กับชายฝั่งทะเลแคสเปียน และเทือกเขาซากรอส วางตัวขนานกับอ่าวเปอร์เซีย ทั้ง 2 เทือกเขา วางตัวแยกออกมาจากอาณเมเนียนนอต ขณะที่ที่ราบสูงจะอยู่ตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบ ผืนใหญ่ครอบคลุมพื้นเกือบทั้งประเทศต่อเนื่องเข้าไปถึงอัฟกานิสถานและปากีสถาน ส่วน ภูมิประเทศชายฝั่งจะปรากฏอยู่ 2 บริเวณคือ ตอนเหนือเป็นชายฝั่งทะเลแคสเปียน ส่วนด้าน ตะวันตกเฉียงใต้ และด้านใต้เป็นชายฝั่งราบของทะเลบริเวณอ่าวเปอร์เซีย

[แก้] เศรษฐกิจ

[แก้] ประชากร

[แก้] เชื้อชาติ

  • เปอร์เซีย 51%
  • อาเซอรี 24%
  • กิลัค (กิลาคิ) -มาซานดาราน 8%
  • เคิร์ด 7%
  • อาหรับ 3%
  • บาลูช 2%
  • เติร์กเมน 2%
  • ลูร์ 2%
  • อื่น ๆ 1%

[แก้] ภาษา

[แก้] ศาสนา

[แก้] อัตราการอ่านออกเขียนได้

  • อัตราการอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป 80%
    • ผู้ชายที่อ่านออกเขียนได้ 86%
    • ผู้หญิงที่อ่านออกเขียนได้ 73%

[แก้] วัฒนธรรม

[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น